วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๒๐/๑๐/๒

อาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ ทำการงานตามกำหนด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ผู้ทำตนอาทิผิด อักขระให้เดือดร้อน ประกอบ
ความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประ-
กอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

กถาว่าด้วยพระพุทธคุณ

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่
ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทำตนให้เดือด-
ร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่
ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน เป็นไฉน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติในอาทิผิด สระโลกนี้ เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้ง
โลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระตถาคตพระ-
องค์นั้น ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้อาทิผิด อักขระแจ้งชัด ด้วย
ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม
ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริ-
บูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง
ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว
ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบอาทิผิด อักขระเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๗๑/๑๒๒/๙

กัน ๒ รูป ผู้อยู่ประจำ เดินไปด้วยคิดว่าจักกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดา
คนนี้ คิดว่าภิกษุ ๒ รูปนี้ รักกันแน่นหนาเหลือเกิน เมื่อมีผู้ทำลาย จะ
แตกกันหรือไม่หนอ. มองหาโอกาสเพื่อภิกษุทั้งสองอยู่ เดินไปไม่ห่างภิกษุ
ทั้งสองนั้นนัก. ครั้งนั้น พระเถระรูปหนึ่ง ให้พระเถระอีกรูปหนึ่งถือบาตร
และจีวรไว้ เดินไปสู่ที่ ๆ มีน้ำสะดวก เพื่อขับถ่ายสรีระ ล้างมือล้างเท้า
แล้วออกจากที่ใกล้พุ่มไม้. ภุมมเทวดาแปลงเพศเป็นหญิงรูปงามเดินตาม
หลังพระเถระนั้น ไป ทำประหนึ่งสยายผมแล้วเกล้าใหม่ ทำประหนึ่งว่า
ปัดฝุ่นออกจากข้างหลัง และทำประหนึ่งว่านุ่งห่มผ้าสาฎกใหม่ เดินตาม
หลังพระเถระออกจากพุ่มไม้แล้ว. พระเถระผู้เป็นสหายยืนอยู่ ณ ส่วนข้างอาทิผิด อักขระ
หนึ่ง เห็นเหตุนั้นแล้วเกิดโทมนัส คิดว่า บัดนี้ความรักที่ติดต่อกันมาเป็น
เวลานาน กับภิกษุนี้ฉิบหายแล้ว ถ้าเราพึงรู้ว่าเธอเป็นผู้มีกิเลสอย่างนี้
เราจักไม่ทำความคุ้นเคยกับภิกษุนี้ ตลอดกาลนานประมาณเท่านี้ เมื่อ
พระเถระมาถึงเท่านั้นก็กล่าวว่า นิมนต์รับเอาบาตรจีวรของอาทิผิด อักขระท่านไปเถิด
ผู้อาวุโส เราไม่ปรารถนาจะร่วมทางกับผู้ที่ลามกเช่นท่าน. หทัยของภิกษุ
ผู้ลัชชีนั้น ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ได้เป็นประหนึ่งถูกหอกที่คมกริบเสียบแล้ว.
ลำดับนั้น ลัชชีภิกษุนั้น จึงพูดกับ พระเถระผู้เป็นสหายว่า อาวุโส ท่าน
พูดอะไรเช่นนั้น เรายังไม่รู้อาบัติแม้เพียงทุกกฏตลอดเวลาที่ประมาณ
เท่านี้ ก็วันนี้ท่านกล่าวเราเป็นคนลามก ท่านเห็นอะไรหรือ ? พระเถระ
ผู้เป็นสหายจึงพูดว่า เรื่องอื่นที่เห็นแล้ว จะมีประโยชน์อะไร ท่านออกมาใน
ที่เดียวกัน กับมาตุคามผู้ประดับแล้ว ตกแต่งแล้วอย่างนี้หรือ. พระเถระผู้
ลัชชีกล่าวว่า อาวุโส เรื่องนี้ไม่มีแก่เราเลย เราไม่เห็นมาตุคามเห็นปานนี้
เลย. แม้เมื่อพระเถระผู้ลัชชีจะกล่าวอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง พระเถระนอกนี้ก็
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๑๘/๑๔/๒๑

หิงห้อยทั้งหลายย่อมแสดงออกซึ่ง
แสงในราตรีข้างแรม ก็นั้นเป็นนิสัยของ
หิงห้อยเหล่านั้น ในเวลาใด พระอาทิตย์
ที่ถึงพร้อมด้วยรัศมีขึ้นอยู่ ในเวลานั้น
แสงของหมู่หิงห้อยทั้งหลายก็หายไปฉันใด
แม้เดียรถีย์ทั้งหลายในโลกนี้ ส่วนมาก
เป็นเช่นกับหิงห้อยฉันนั้น ย่อมแสดงคุณ
ตนในโลกที่เปรียบเหมือนข้างแรม แต่ใน
เวลาใด พระพุทธเจ้ามีรัศมีหาที่เปรียบ
มิได้ อุบัติขึ้นในโลก ในเวลานั้น เดียรถีย์
ทั้งหลายก็หมดรัศมี ดุจหิงห้อยทั้งหลาย
ในพระอาทิตย์ ฉะนั้น.
เดียรถีย์เหล่านั้น เป็นผู้ปราศจากรัศมีอย่างนี้ สรีระเกลื่อนกล่นด้วยหิด และ
ต่อมเล็ก ๆ เป็นต้น ถึงความเสื่อมอย่างยิ่ง ไปหาพระพุทธเจ้า พระธรรม
พระสงฆ์ และที่ประชุมของมหาชนแล้ว ยืนคร่ำครวญในระหว่างถนนบ้าง
ในตรอกบ้าง ในทางสี่แพร่งบ้าง ในสภาบ้าง ร้องประการต่าง ๆ อย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้เจริญ สมณโคดมเท่านั้นหรือเป็นสมณะ พวกเราไม่เป็นสมณะ สาวก
ของพระสมณโคดมเท่านั้นเป็นสมณะ สาวกแม้ของพวกเราก็ไม่เป็นสมณะ ทาน
ที่ให้สมณโคดมและสาวกของสมณโคดมนั้น มีผลมาก ทานที่ให้แก่พวกเรา
ไม่มีผลมาก สมณโคดมก็เป็นสมณะด้วย พวกเราก็เป็นสมณะด้วย สาวกของ
สมณอาทิผิด อักขระโคดมก็เป็นสมณะด้วย สาวกของพวกเราก็เป็นสมณะด้วย ทานที่ให้แก่
สมณอาทิผิด อักขระโคดมและแก่สาวกของสมณโคดมนั้นก็มีผลมากด้วย ทานที่ให้แก่พวกเรา
และแก่สาวกของพวกเรา ก็มีผลมากด้วย มิใช่หรือ ท่านทั้งหลายจงให้จงทำ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๔๓/๑๐๑/๒๓

ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเพียงไร, บรรดาธรรมเหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า
เป็นยอด.”
บาทพระคาถาว่า ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ความว่า บรรดาสัตว์ ๒ เท้า
อันต่างโดยเทวดาและมนุษย์เป็นต้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตผู้มีจักษุ
ประการเท่านั้น ประเสริฐ. จ ศัพท์ มีอันประมวลมาเป็นอรรถ ย่อม
ประมวลเอาอรูปธรรมทั้งหลายด้วย; เพราะฉะนั้น แม้บรรดาอรูปธรรม
ทั้งหลาย พระตถาคตก็เป็นผู้ประเสริฐ คือสูงสุด.
บาทพระคาถาว่า ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา ความว่า ทางใดที่เรา
(ตถาคต) กล่าวว่า “ ประเสริฐ” ทางนั่นเท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่ง
ทัสสนะคือมรรคและผล; ทางอื่นย่อมไม่มี.
บทว่า เอตํ หิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนิน
ทางนั้น นั่นแหละ.
ก็บทว่า มารเสนปฺปโมหนํ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า
“ เป็นที่หลงแห่งมาร คือเป็นที่ลวงแห่งมาร.”
บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ท่านทั้งหลายจักทำที่สุด คือเขตแดน
แห่งความทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้.
บทว่า สลฺลสตฺถนํ เป็นต้น ความว่า เราเว้นจากกิจทั้งหลาย มี
การได้ฟัง (จากผู้อื่น) เป็นต้น ทราบทางนั่น อันเป็นที่สลัดออกคือย่ำยี
ได้แก่ถอนออกซึ่งลูกศรทั้งหลาย มีลูกศรคือราคะเป็นต้น โดยประจักษ์
แก่ตนแล้วทีเดียว จึงบอกทางนี้, บัดนี้ท่านทั้งหลายพึงทำ ได้แก่ควรทำ
ความเพียรคือสัมมัปปธาน อันถึงซึ่งการนับว่าอาตัปปะ เพราะเป็นเครื่อง
๑. มังสจักขุ จักษุคือดวงตา ๑ ทิพพจักขุ จักษุทิพย์ ๑ ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา ๑
พุทธจักขุอาทิผิด สระ จักษุอาทิผิด สระแห่งพระพุทธเจ้า ๑ สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ ๑.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ดูการเทียบเคียง ๑๗/๔๑๘/๕

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ฯ ล ฯ เป็นที่ชอบใจ
ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้ เธอพึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย ฯล ฯ เธอพึงเพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง ดังนี้แล้ว บัดนี้ เพราะ
เหตุที่ภิกษุปรารถนาปัจจัยมีลาภเป็นต้น พึงทำกิจนี้อย่างเดียว ไม่พึงทำกิจ
อะไร ๆ อื่นจากนี้ฉะนั้น จึงได้ตรัสคำอาทิผิด อักขระมีอาทิไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีลาภ ดังนี้เป็นต้น.
ก็ในที่นี้ อย่าพึงเข้าใจว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการบำเพ็ญศีล
เป็นต้น ซึ่งมีลาภเป็นนิมิตไว้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัส
ปฏิเสธการแสวงหาลาภ ไม่ตรัสพระวาจาที่พาดพิงถึง (ลาภ) ทรงโอวาท
แก่เหล่าพระสาวกอย่างนี้. พระองค์จักตรัสการบำเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น ซึ่ง
มีลาภเป็นนิมิตได้อย่างไร.
แต่ว่าคำนั้นพระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจอัธยาศัยของบุคคล. อธิบาย
ว่า ภิกษุเหล่าใดพึงมีอัธยาศัยอย่างนี้ว่า ถ้าหากว่าเราไม่ต้องลำบากด้วย
ปัจจัย ๔ ไซร้ เราอาจเพื่อจะบำเพ็ญศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์ได้ ดังนี้. พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ ด้วยสามารถอัธยาศัยของชนทั้งหลายเหล่า
นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปัจจัย ๔ นี้นั้น เป็นอานิสงส์ที่แท้จริงของศีล.
จริงอย่างนั้น มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายนำสิ่งของที่ตนอาทิผิด อักขระเก็บไว้ในฉาง
เป็นต้นออกมา ทั้งบุตรเป็นต้นก็ไม่ให้ ทั้งตนเองก็มิได้ใช้สอย แต่มอบ
ถวายแก่ท่านผู้มีศีล คำดังกล่าวมานี้ ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงอานิสงส์ที่แท้
จริงของศีล.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๑๔๙/๕

แต่นั้น เมื่อพระมหาบุรุษทรงพิจารณาถึงทานที่ให้ในอัตภาพเป็น
พระเวสสันดรอยู่ว่า สิทธัตถะ มหาทาน อุดมทาน ท่านได้ให้แล้ว ดังนี้
ช้างคิริเมขล์สูง ๑๕๐ โยชน์ คุกเข่าลงบนแผ่นดิน บริษัทมารพากันหนีไป
ยังทิศานุทิศ มาร ๒ ตนชื่อว่าหนีไปทางเดียวกัน ย่อมไม่มี พากันทิ้ง
อาภรณ์ที่ศีรษะ และผ้าที่นุ่งห่ม แล้วหนีไปทางทิศที่ตรงหน้า ๆ นั่นเองอาทิผิด อักขระ.
แต่นั้น หมู่เทพได้เห็นพลมารหนีไป พวกเทวดา จึงประกาศแก่พวก
เทวดา พวกนาคจึงประกาศแก่พวกนาค พวกครุฑจึงประกาศแก่พวก
ครุฑ พวกพรหมจึงประกาศแก่พวกพรหมว่า ความปราชัยเกิดแก่มาร
แล้ว ชัยชนะเกิดแก่สิทธัตถกุมารแล้ว พวกเราจักทำการบูชาชัยชนะ
ดังนี้ ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมายังโพธิบัลลังก์อันเป็นสำนัก
ของพระมหาบุรุษ.
ก็เมื่อพลมารเหล่านั้นหนีไปอย่างนี้แล้ว
ในกาลนั้น หมู่เทพมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ
พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมี
ชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.
ในกาลนั้น หมู่นาคมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ
พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมีชัย
ชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.
ในกาลนั้น หมู่ครุฑมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะของ
พระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า พระพุทธเจ้าผู้มีสิรินี้ทรงมี
ชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยแล้ว.
ในกาลนั้น หมู่พรหมมีใจเบิกบาน ประกาศความชนะ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๑๙/๑๑๖/๔

ท่านได้รู้ แจ้ง เข้าถึงที่เองแล้วแลบอกให้รู้ได้แต่ธรรมนี้ เพียงเท่า
นี้ดอกหรือ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรากล่าวอย่างนี้แล้ว อุททกดาบส ราม
บุตร จึงได้บอกถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ อัคคิเวสสนะ ครั้นเรารู้ดัง
นั้น จึงอาทิผิด สระเกิดปริวิตกอีกว่า “ศรัทธา จะได้มีแต่ของท่านรามะผู้เดียวก็หา
ไม่ ถึงศรัทธาของเราก็มี วิริยะ...สติ...สมาธิ... ปัญญาจะได้มีแต่ของท่าน
รามะผู้เดียว ก็หาไม่ ถึงวิริยะ...ถึงสติ...ถึงสมาธิ...ถึงปัญญาของเราก็มี
อยู่ ถ้ากระไรเราต้องตั้งความเพียร เพื่อการจะทำให้แจ้ง เรื่องธรรมที่
ท่านรามะปฏิญญาว่า เรารู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่เองแล้วแลอยู่” ดังนี้นั้น
เสียให้ได้ อัคคิเวสสนะ เรานั้นก็ได้รู้จริงแจ้ง เข้าถึงที่ธรรมนั้นเองแล้ว
แล อยู่ฉับไวแท้ ไม่นานเลย. ครั้นแล้ว เราได้เข้าไปหาอุททกดาบส ราม
บุตร ได้กล่าวคำนี้กะอุททกดาบส รามบุตรว่า “ท่านรามะ ท่านได้รู้จริงแจ้ง
กะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไปได้ เพียงเท่านี้ดอกหรือ”.
อุ. เพียงเท่านี้นั้นแล เราได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้ว
แลประกาศให้รู้ทั่วไป แม้เราก็ได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรมนี้เองแล้วแล
อยู่ ได้เพียงนี้เท่านั้นเหมือนกัน.
พ. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว มิเสียแรงเราได้เห็นท่านผู้เป็น
เพื่อนประพฤติพรหมจรรย์เช่นท่าน รามะได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงที่ธรรม
ใดเองแล้วแลประกาศให้รู้ทั่วไป, ท่านก็มารู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมใด
เองแล้วแลอยู่ รามะก็ได้รู้จริง แจ้งกะจิต เข้าถึงธรรมนั้นเองแล้วแลประกาศ
ให้รู้ทั่วไป อย่างนี้. รามะได้รู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น อย่างนี้, ท่านได้รู้
ธรรมใด รามะก็ได้รู้ธรรมนั้น รามะได้เป็นเช่นใด ท่านก็ได้เป็นเช่นนั้น
ท่านเป็นเช่นใด รามะก็ได้เป็นเช่นนั้นดังนี้. มาเถิดท่าน เราทั้งสองอยู่ปก
ครองคณะนี้กันเถิด อัคคิเวสสนะ อุททกดาบส รามบุตร เมื่อเป็นพรหมจารี
ของเรา ได้ตั้งเราในฐานะเป็นอาจารย์ ยังให้บูชาเรา ด้วยการบูชาที่ยิ่ง
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๖๔๑/๑๐

ในแสนกัป พระศาสดาพระนามว่าโคดมโดยพระโคตร
ซึ่งสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ผู้นี้
เคลื่อนจากไตรทศแล้ว จักถึงความเป็นมนุษย์ จักเป็นเผ่าพันธุ์
พราหมณ์ มีนามชื่อว่า เรวตะ.
อันกุศลมูลตักเตือนแล้ว จักออกจากเรือนบวชในศาสนา
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโคดม.
ภายหลังเขาบวชแล้ว จักประกอบความเพียร เจริญ
วิปัสสนา กำหนดรู้อาสวะทั้งปวงแล้ว จักไม่มีอาสวะนิพพาน.
เรามีความเพียรอันนำไปซึ่งธุระ อันเป็นเครื่องนำมาซึ่ง
ธรรมเป็นแดนอาทิผิด อักขระเกษมจากโยคะ เราทรงร่างกายอันมีในที่สุดไว้
ในพระศาสนาแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ
อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรา
ทำเสร็จแล้วฉะนี้แล.
ทราบว่า ท่านพระขทิรวนิยเรวตเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย
ประการฉะนี้แล.
จบขทิรวนิยเรวตเถราปทาน
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ดูการเทียบเคียง ๖๙/๘๕/๑๒

มหาวรรค อานาปานกถา
ว่าด้วยเรื่องอานาปานสติสมาธิ
[๓๖๒] เมื่อพระโยคาวจรเจริญสมาธิอันปฏิสังยุตด้วยอานาปานสติมี
วัตถุ ๑๖ ญาณ ๒๐๐ อันเนื่องมาแต่สมาธิย่อมเกิดขึ้น คือ ญาณในธรรมอัน
เป็นอันตราย ๘ ญาณในธรรมอันเป็นอุปการะ ๘ ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณ
ในโวทาน ๑๓ ญาณในความเป็นผู้ทำสติ ๓๒ ญาณด้วยสามารถสมาธิ ๒๔
ญาณด้วยสามารถวิปัสสนา ๗๒ นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘ นิพ-
พิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ ญาณในวิมุตติสุข ๒๑.
[๓๖๓] ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณในธรรมอันเป็น
อุปการะ ๘ เป็นไฉน ?
กามฉันทะเป็นอันตรายแก่สมาธิ เนกขัมมะเป็นอุปการะแก่สมาธิ
พยาบาทเป็นอันตรายแก่สมาธิความไม่พยาบาทเป็นอุปการะแก่สมาธิ ถีน-อาทิผิด
มิทธะเป็นอันตรายแก่สมาธิ. อาโลกสัญญาเป็นอุปการะแก่สมาธิ อุทธัจจะเป็น
อันตรายแก่สมาธิ ความไม่ฟุ้งซ่านเป็นอุปการะแก่สมาธิ. วิจิกิจฉาเป็นอันตราย
แก่สมาธิ ความกำหนดธรรมเป็นอุปการะแก่สมาธิ อวิชชาเป็นอันตรายแก่
สมาธิ ญาณเป็นอุปการะแก่สมาธิ อรติเป็นอันตรายแก่สมาธิ ความปราโมทย์
เป็นอุปการะแก่สมาธิ อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงเป็นอันตรายแก่สมาธิ กุศลธรรม
ทั้งปวงเป็นอุปการะแก่สมาธิ ญาณในธรรมอันเป็นอันตราย ๘ และญาณใน
ธรรมเป็นอุปการะ ๘ เหล่านั้น จิตอันฟุ้งซ่านและจิตสงบระงับ ย่อมดำรงอยู่
ในความเป็นธรรมอย่างเดียวและย่อมหมดจดจากนิวรณ์ ด้วยอาการ ๑๖ เหล่านี้.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๘๔/๓๖๐/๒

จักขุนทริยมูละ โสมนัสสินทริยมูลี:-
[๖๕๔] จักขุนทรีย์อาทิผิด สระไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด, โสมนัสสินทรีย์
ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
ก็หรือว่า โสมนัสสินทรีย์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด จักขุนทรีย์
ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
จบ จักขุนทริยมูละ โสมนัสสินทริยมูลี

จักขุนทริยมูละ อุเปกขินทริยมูลี:-
[๖๕๕] จักขุนทรีย์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมิใด, อุเปกขินทรีย์
ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ในอรูปภูมิ จักขุนทรีย์ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้น แต่อุเปกขินทรีย์
กำลังเกิดในภูมิอาทิผิด อักขระนั้น, ในอสัญญสัตตภูมิ จักขุนทรีย์ไม่ใช่กำลังเกิด และ
อุเปกขินทรีย์ก็ไม่ใช่กำลังเกิดในภูมินั้น.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๕๗/๒๔๓/๑๗

ในบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺติ เทวา ความว่า เทพเจ้า
ทั้งหลาย ผู้ดูแลผู้มีศีล และห้ามคนชั่วไม่มีอยู่ในโลกนี้เป็นแน่.
บทว่า ปวสนฺติ นูน ความว่า หรือเมื่อกิจเห็นปานนี้เกิดขึ้น เทพเจ้า
ทั้งหลาย ก็พากันไปค้างแรมเสีย คือ ไปอยู่ที่อื่นหมดเป็นแน่.
บทว่า อิธ โลกปาลา ความว่า แม้สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มี
ศีล ผู้อนุเคราะห์ที่เขาสมมติว่าเป็นผู้รักษาโลก เห็นจะไม่มีอยู่
ในโลกนี้เป็นแน่. บทว่า สหสา กโรนฺตานํ อสญฺญตานํ ได้แก่
คนทุศีล ผู้กระทำกรรมสาหัส คือกรรมหยาบช้า ไม่สอบสวน
ให้ถ่องแท้. บทว่า ปฏิเสธตาโร คือผู้ห้ามว่า ท่านทั้งหลายอย่า
ทำกรรมเห็นปานนี้ จะทำดังนี้ไม่ได้ ดังนี้คงไม่มีเลย.
เมื่อนางผู้สมบูรณ์ด้วยศีลคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ อาสนะ
ที่ประทับนั่งของท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะ
ทรงรำพึงว่า ใครหนอหวังจะให้เราเคลื่อนจากตำแหน่งสักกะ
ครั้นทรงทราบเหตุนี้ว่า พระราชาพาราณสีทรงทำกรรม
หยาบยิ่งนัก ทำให้นางสุชาดาผู้สมบูรณ์ด้วยศีลลำบาก เราควร
จะไปในบัดนี้ จึงเสด็จลงจากเทวโลก บันดาลให้พระราชาลามก
ซึ่งประทับนั่งบนหลังคชสารเสด็จอาทิผิด อักขระลงจากคชสาร ให้บรรทม
หงายเหนือเขียงสัญญาณ แล้วทรงอุ้มพระโพธิสัตว์ให้ทรงเครื่อง
อลังการพร้อมสรรพ ทรงเพศเป็นพระราชาประทับนั่งเหนือ
คอคชสาร. เพชฌฆาตผู้ยืนเงื้อขวานคอยจะตัดศีรษะ ก็ตัดเอา
พระเศียรของพระราชา. ในเวลาตัดนั่นเองจึงรู้ว่าเป็นพระเศียร
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๓๒/๒๔๐/๙

ท่านได้โดยการมาอย่างนี้. ความจริงข้อนั้น เป็นความช่ำชอง
ของพระเถระ. ท่านอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ เมื่อแสดงธรรม ย่อมแสดง
ไม่ละเว้นกถาวัตถุ ๑๐ เลย เพราะฉะนั้น พระเถระได้โดยเป็นผู้
ช่ำชองอย่างนี้. เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย สาวกอื่น ใครเล่า
ผู้เสมอเหมือนพระมหากัสสปะ ด้วยธุดงคคุณ ๑๓ ไม่มี เพราะฉะนั้น
พระเถระได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.
ควรประกาศคุณของพระเถระทั้งหลายนั้น ๆ ตามที่ได้โดย
ทำนองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าด้วยอำนาจคุณนั่นแล พระเจ้าจักรพรรดิ์
ทรงเสวยสิริราชสมบัติ ในห้องจักรวาล ด้วยอานุภาพอาทิผิด สระแห่งจักรรัตนะ
หาได้ทรงขวนขวายน้อยว่า สิ่งที่ควรบรรลุเราก็บรรลุแล้ว บัดนี้
จะต้องการอะไร ด้วยมหาชนที่เราแลอยู่แล้ว จึงเสวยแต่เฉพาะ
สิริราชสมบัติเท่านั้นไม่ แต่ทรงประทับนั่งในโรงศาลาตามกาลอัน
สมควร ทรงข่มบุคคลที่ควรข่ม ทรงยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง
ทรงตั้งไว้ในฐานันดรทั้งหลาย เฉพาะฐานันดรที่ควรแต่งตั้งเท่านั้น
ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เป็นพระธรรมราชา
ผู้บรรลุความเป็นพระราชาเพราะธรรมโดยลำดับ ด้วยอานุภาพแห่ง
พระสัพพัญญุตญาณ ที่พระองค์ทรงบรรลุ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน
ไม่ทรงขวนขวายน้อยว่า บัดนี้จะต้องการอะไร ด้วยชาวโลก ที่เรา
จะต้องตรวจดู เราจักเสวยสุขในผลสมาบัติ อันยอดเยี่ยม ยังประทับ
นั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาบรรจงจัดไว้ ท่ามกลางบริษัท ๔. ทรง
เปล่งพระสุรเสียงดังเสียงพรหม อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้วทรง
แสดงธรรม ทรงข่มบุคคล ผู้มีธรรมฝ่ายดำ ผู้ควรข่มด้วยการขู่
ด้วยภัยในอบาย เหมือนทรงโยนไปในเหวแห่งขุนเขาสิเนรุ ทรง.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๑๑/๑๙๔/๒๑

บทว่า อวิสํวาทโก โลกสฺส ความว่า ไม่พูดลวงโลก เพราะ
ความเป็นผู้พูดคำจริงนั้น.
ในคำว่า ปิสุณํ วาจํ ปหาย เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
วาจาที่เป็นเหตุทำตนอาทิผิด อักขระเป็นที่รักในใจของผู้ที่ตนอาทิผิด อักขระพูดด้วย และเป็น
เหตุส่อเสียดผู้อื่น ชื่อว่า ปิสุณาวาจา.
อนึ่ง วาจาที่เป็นเหตุให้กระทำตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคาย ทั้ง
หยาบคายแม้เอง ไม่เสนาะหู ไม่สุขใจ ชื่อว่า ผรุสวาจา.
วาทะที่เป็นเหตุให้บุคคลพูดเพ้อเจ้อ ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัป-
ปลาป.
แม้เจตนาอันเป็นต้นเหตุแห่งคำพูดเหล่านั้น ก็พลอยได้ชื่อว่าปิสุณา-
วาจา เป็นต้นไปด้วย. ก็ในที่นี้ ประสงค์เอาเจตนานั้นแหละ.
ในบรรดาวาจาทั้ง ๓ อย่างนั้น เจตนาของบุคคลผู้มีจิตเศร้าหมอง
อันให้เกิดกายประโยค และวจีประโยค เพื่อให้คนอื่นแตกกันก็ดี เพื่อ
ต้องการทำตนอาทิผิด อักขระให้เป็นที่รักก็ดี ชื่อว่า ปิสุณาวาจา. ปิสุณาวาจานั้นชื่อว่า
มีคุณน้อย เพราะผู้การทำความแตกแยกมีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ
ผู้นั้นมีคุณมาก.

ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ ๔ คือ
๑. ภินฺทิตพฺโพ ปโร ผู้อื่นที่พึงให้แตกกัน
๒. เภทปุเรกฺขารตา มุ่งให้เขาแตกกันว่า คนเหล่านี้จักเป็นผู้ต่าง
กัน และแยกกันด้วยอุบายอย่างนี้ หรือ ปิยกมฺยตา ประสงค์ให้ตนเป็น
ที่รักว่า เราจักเป็นที่รัก จักเป็นที่ไว้วางอาทิผิด อาณัติกะใจ ด้วยอุบายอย่างนี้
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ดูการเทียบเคียง ๘/๓๘/๑๗

๓. ไม่พึงให้สามเณรอุปัฏฐาก
๔. ไม่พึงรับสมมติเป็นผู้สั่งสอนภิกษุณี
๕. แม้ได้รับสมมติไว้แล้ว ก็ไม่พึงสั่งสอนภิกษุณี
๖. ถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมเพราะอาบัติใด ไม่พึงต้องอาบัตินั้น
๗. ไม่พึงต้องอาบัติอื่นอันเช่นกัน
๘. ไม่พึงต้องอาบัติอันเลวทรามกว่านั้น
๙. ไม่พึงติกรรม
๑๐. ไม่พึงติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม
๑๑. ไม่พึงห้ามอุโบสถแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๒. ไม่พึงห้ามปวารณาแก่ปกตัตตะภิกษุ
๑๓ . ไม่พึงทำการไต่สวน
๑๔ . ไม่พึงเริ่มอนุวาทาธิกรณ์
๑๕ . ไม่พึงยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส
๑๖ . ไม่พึงโจทภิกษุอื่น
๑๗. ไม่พึงให้ภิกษุอื่นให้การ
๑๘. ไม่พึงช่วยภิกษุต่อภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน
วัตร ๑๘ ข้อ ในนิยสกรรมอาทิผิด อักขระ จบ
วัตรที่ควรระงับและไม่ควรระงับ
[๗๖] ครั้งนั้น สงฆ์ได้ลงนิยสกรรมแก่พระเสยยสกะแล้ว คือให้
กลับถือนิสัยอีก เธอถูกสงฆ์ลงนิยสกรรมแล้ว ซ่องเสพคบหานั่งใกล้กัลยาณ-
มิตรขอให้แนะนำ ไต่ถาม ได้เป็นพหูสูต ช่ำชอง ในคัมภีร์ ทรงธรรม
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๓๓/๒๒๙/๙

เหล่านั้นด้วยอนุปัสสนาอันเป็นตัวพิจารณา ในธรรมที่กล่าวไว้ ๕ ประการ
ด้วยโกฏฐาส คือส่วนอย่างนี้ คือนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ อายตนะ
ภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔.
ก็ในการพิจารณาเห็นธรรมนี้ ท่านกล่าวการพิจารณานามล้วน ๆ
ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน. กล่าว
ถึงการพิจารณาทั้งรูปและนามในสัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน. พึงทราบว่า
สติปัฏฐานแม้ทั้ง ๔ นี้ ท่านกล่าวทั้งโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ ที่ยังไม่เกิด. บทว่า ปาปกานํ
ได้แก่ ต่ำทราม. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํอาทิผิด อักขระ ได้แก่ ธรรมมีโลภะ
เป็นต้นอันเกิดจากความไม่ฉลาด. บทว่า อนุปฺปาทาย คือเพื่อต้องการ
ไม่เกิด. บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ย่อมให้เกิดกุศลฉันทะในความ
เป็นผู้ใคร่จะทำ. บทว่า วายมติ ได้แก่ กระทำความเพียรเป็นเครื่อง
ประกอบ คือความบากบั่น. บทว่า วิริยํ อารภติ ได้แก่ กระทำ
ความเพียรทางกายและทางใจ. บทว่า จิตฺตํอาทิผิด สระ ปคฺคณฺหาติ ได้แก่ ยกจิต
ขึ้นด้วยความเพียรอันเกิดร่วมกันนั้นนั่นแหละ. บทว่า. ปทหติ ได้แก่
กระทำความเพียรอันเป็นปธานะ.
บทว่า อุปฺปนฺนานํ ได้แก่ เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว. บทว่า
กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมมีอโลภะเป็นต้นอันเกิดจากความฉลาด.
บทว่า ฐิติยา แปลว่า เพื่อความตั้งอยู่. บทว่า อสมฺโมสาย
แปลว่า เพื่อความไม่เลือนหาย. บทว่า ภิยโยภาวาย แปลว่า เพื่อ
ความมีบ่อย ๆ. บทว่า วิปุลาย แปลว่า เพื่อความไพบูลย์. บทว่า
ภาวนาย แปลว่า เพื่อความเจริญ. บทว่า ปาริปูริยา แปลว่า เพื่อ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๓๔/๔๙๐/๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผ้ากาสี แม้ใหม่ก็สีงาม สัมผัสนิ่ม และราคาแพง
แม้กลางใหม่กลางเก่าก็สีงาม สัมผัสนิ่มและราคาแพง แม้เก่าแล้วก็สีงาม
สัมผัสนิ่มและราคาแพง ผ้ากาสี ถึงคร่ำคร่าแล้ว เขายังใช้เป็นผ้าห่อรตนะอาทิผิด อักขระ (คือ
เงินทองเพชรพลอยอาทิผิด ย่อมมีค่า) บ้าง เก็บไว้ในคันธกรณฑ์ (หีบอบของหอม)
บ้าง ฉันใด.
ฉะนั้นนั่นแหละ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนวกะก็ดี ภิกษุมัชฌิมะก็ดี
ภิกษุเถระก็ดี ถ้าเป็นผู้มีศีลมีธรรมอันดี เรากล่าวความมีศีลมีธรรมดีนี้
ในความมีสีงามของภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่าเหมือนผ้ากาสีมีสีงามฉะนั้น
อนึ่ง ชนเหล่าใดคบหาสมาคมทำตามเยี่ยงอย่างภิกษุนั้น ข้อนั้น
ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของชนเหล่านั้นตลอดกาลนาน เรากล่าวการคบ-
หาสมาคมทำตามอย่างที่เป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขนี้ ในความมีสัมผัสนิ่มของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า ดุจผ้ากาสีมีสัมผัสนิ่มฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุนั้นรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย...ของ
ชนเหล่าใด ข้อนั้นย่อมเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ชนเหล่านั้น เรากล่าว
การรับปัจจัยอันเป็นการมีผลานิสงส์มากแก่ทายกนี้ ในความมีราคาแพงของ
ภิกษุ กล่าวบุคคลนี้ว่า เสมือนผ้ากาสีมีราคาแพงฉะนั้น
อนึ่ง ภิกษุเถระผู้มีคุณธรรมอย่างนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์
ภิกษุทั้งหลายก็พากันว่า ท่านทั้งหลาย จงสงบเสียงเถิด ภิกษุผู้ใหญ่จะกล่าว
ธรรมกล่าววินัยนี้ ดังนี้
เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้ว่า เราทั้งหลาย
จักเป็นอย่างผ้ากาสี ไม่เป็นอย่างผ้าเปลือกไม้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
พึงสำเหนียกอย่างนี้แล.
จบนวสูตรที่ ๘
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๓๔๗/๒๒

ห้ามพระโอรสนั้น. พระโอรสนั้นแม้จะถูกห้ามก็ยังทรงรบเร้าอยู่นั่นแหละว่า
จักบวช. แต่นั้น พระชนกชนนีได้ตรัสคำทั้งปวงแล้วทรงอนุญาต เหมือน
บุตรเศรษฐีที่กล่าวไว้ในเบื้องต้น. และทรงให้พระโอรสปฏิญาณว่า บวช
แล้วต้องอยู่ในพระอุทยานเท่านั้น. พระโอรสได้ทรงการทำอย่างนั้นแล้ว.
พระมารดาของพระองค์ทรงห้อมล้อมด้วยหญิงฟ้อนสองหมื่นนาง เสด็จไป
พระอุทยานแต่เช้าตรู่ ให้พระโอรสดื่มยาคู และในระหว่างก็ทรงให้เคี้ยว
ของควรเคี้ยวเป็นต้น ทรงสนทนาอยู่กับพระโอรสนั้นจนกระทั่งเที่ยง จึง
เสด็จเข้าพระนคร. ฝ่ายพระบิดาก็เสด็จมาในเวลาเที่ยง ให้พระโอรสนั้น
เสวย แม้พระองค์ก็เสวยด้วย ทรงสนทนากับพระโอรสนั้นตลอดวัน ใน
เวลาเย็น ทรงวางคนผู้ปรนนิบัติไว้ แล้วเสด็จเข้าพระนคร. พระโอรส
นั้นไม่เงียบสงัดอยู่ตลอดทั้งวันและคืนด้วยประการอย่างนี้.
ก็สมัยนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระนามว่าอาทิจจพันธุ์ อยู่ใน
เงื้อมเขานันทมูลกะ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงรำพึงอยู่ได้เห็น
พระกุมารนั้นว่า กุมารนี้อาจบวชได้ แต่ไม่อาจตัดชัฏได้. เบื้องหน้าแต่นั้น
ทรงรำพึงต่อไปว่า พระกุมารจักเบื่อหน่ายโดยธรรมดาของตนได้หรือ
ไม่หนอ. ลำดับนั้น ทราบว่า พระกุมารเมื่อทรงเบื่อหน่ายเองโดยธรรมดา
จักเป็นเวลานานมาก จึงดำริว่า เราจักให้อารมณ์แก่พระกุมารนั้นดังนี้
แล้วมาจากพื้นมโนศิลาโดยนัยก่อน แล้วได้ยืนอยู่ในอุทยาน. บริษัท
ของพระราชาเห็นเข้าจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
เสด็จมา. พระราชาทรงมีพระทัยปราโมทย์ว่า บัดนี้โอรสของเราจะไม่
รำคาญ จักอยู่กับพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงทรงอุปัฏฐากพระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้าโดยเคารพ แล้วขอให้อยู่ในอุทยานอาทิผิด อักขระนั้น รับสั่งให้กระทำทุกสิ่ง
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๓๒/๓๐๒/๑๔

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ได้ตรัสกะพระมหากัสสปเถระว่า ดูก่อนกัสสป ถ้าเธอจะพึงทำการ
นบนอบนี้ไว้ในมหาปฐพีไซร้ แม้มหาปฐพีนั้นก็ไม่อาจรองรับเอาไว้ได้
การนบนอบที่เธอกระทำ ย่อมไม่อาจทำแม้ขนของเราให้สั่น เพราะ
ตถาคตมีคุณใหญ่หลวงอย่างนี้ นั่งลงเถอะกัสสป เราจะให้ทรัพย์
อันเป็นมรดกแก่เธอ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ประทาน
อุปสมบทแก่พระมหากัสสปเถระด้วยโอวาท ๓ ประการ ครั้น
ประทานแล้วก็เสด็จออกจากโคนต้นพหุปุตตกนิโครธเสด็จเดินทาง
มีพระเถระเป็นปัจฉาสมณะ. พระสรีระของพระศาสดาตระการ
ตาด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สรีระของพระมหา-
กัสสปประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๗ ประการ. พระมหากัสสป
นั้นเดินตามเสด็จพระศาสดา เหมือนเรือพ่วงไปตามเรือใหญ่สีทอง
ฉะนั้น พระศาสดาเสด็จเดินทางไปหน่อยหนึ่งแล้วแวะลง (ข้างทาง)
แสดงอาการจะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระเถระรู้อาทิผิด สระว่า พระ-
ศาสดามีพระประสงค์จะประทับนั่ง จึงกระทำสังฆาฏิอันเป็นผ้า
เก่าที่ตนห่มให้เป็น ๔ ชั้น ปูลาดถวาย.

พระศาสดาประทับนั่งบนผ้าสังฆาฏินั้นแล้ว เอาพระหัตถ์
ลูบคลำเนื้อผ้าตรัสว่า กัสสป สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าผืนนี้ของเธอ
นุ่มดี. พระเถระรู้อาทิผิด สระว่า พระศาสดาตรัสถึงสังฆาฏิของเรานุ่ม คงจัก
ประสงค์จะห่ม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงห่มสังฆาฏิเถิด. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป เธอจะ
ห่มอะไร ? พระเถระกราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของพระองค์
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๕๕/๒๐๙/๒๒

อาการละอาย ถูกอุจจาระ ปัสสาวะบีบคั้นจนอาจมเล็ดก็ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ไม่ได้ ฉะนั้น บุคคลบางคนกลัวภัยในอบายจึงไม่กระทำบาปกรรม ในข้อนั้น
มีความอุปมาดังต่อไปนี้:-
เหมือนอย่างว่า ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งเย็น แต่เปื้อนคูถ
ก้อนหนึ่งร้อน ไฟติดโพลง. ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อนนั้น บัณฑิตเกลียดไม่จับ
ก้อนเย็น เพราะก้อนเย็นเปื้อนคูถ ไม่จับก้อนร้อน เพราะกลัวไฟไหม้ฉันใด.
ในข้อที่ว่าด้วยหิริและโอตตัปปะนั้นก็ฉันนั้น พึงทราบการหยั่งลงสู่ลัชชีธรรมอัน
เป็นภายในแล้วไม่ทำบาปกรรม เหมือนบัณฑิตเกลียดก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถ
จึงไม่จับ และพึงทราบการไม่ทำบาปเพราะกลัวภัยในอบาย เหมือนการที่บัณฑิต
ไม่จับก้อนเหล็กร้อน เพราะกลัวไหม้ฉะนั้น.
แม้บททั้งสองนี้ที่ว่า หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะกลัว
โทษและเห็นภัย ดังนี้ ย่อมปรากฏเฉพาะในการงดเว้นจากบาปเท่านั้น. จริง
อยู่. คนบางคนยังหิริอันมีลักษณะยำเกรงให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งอาทิผิด อักขระ
พระศาสดา ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยทรัพย์มรดก ๑ และ
พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งเพื่อนพรหมจารี ๑ แล้วไม่ทำบาป.
คนบางคนยังโอตตัปปะอันมีลักษณะกลัวโทษและมักเห็นภัย ให้ตั้งขึ้น
ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ภัยในการติเตียนตน ๑ ภัยในการที่คนอื่น
ติเตียน ๑ ภัยคืออาชญา ๑ และภัยในทุคติ ๑ แล้วไม่ทำบาป ในข้อ
ที่ว่าด้วยหิริโอตตัปปะนั้น พึงกล่าวการพิจารณาความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้น
และภัยในการติเตียนตนเป็นต้น ให้พิสดาร ความพิสดารอาทิผิด อักขระของการพิจารณา
ความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้นเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาอังคุตตรอาทิผิด สระ-
นิกาย.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๗๕/๒๕๘/๙

 
ไม่ทำการประกอบไว้ด้วยอำนาจแห่งธรรมเหล่านี้ พึงประกอบไว้ด้วยการให้
โอชะ การให้ปานะ และการให้ชีวิตเป็นทาน. จริงอยู่ กุศลจิตนี้ กระทำ
ธรรมารมณ์อันน่ายินดีในโอชะเป็นต้น ให้เป็นอารมณ์ เกิดขึ้นด้วยการกำหนด
๓ อย่าง โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ. ในธรรมารมณ์นั้น เมื่อใด
บุคคลย่อมถวายเนยใสเนยข้นอาทิผิด สระเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายโอชะเป็นทาน ย่อม
ถวายน้ำปานะ ๘ อย่าง โดยคิดว่า เราถวายน้ำปานะให้เป็นทาน ดังนี้ ย่อมถวาย
สลากภัต ปักขิยภัต สังฆภัตเป็นต้น โดยคิดว่า เราถวายชีวิตเป็นทาน ดังนี้
ย่อมถวายเภสัชแก่ภิกษุผู้ไม่ผาสุกทั้งหลาย ให้หมอมารักษา ให้เผาตาข่าย ให้
รื้อลอบอาทิผิด อักขระ ให้ทำลายกรงนก ให้พ้นจากเรือนจำ ให้ตีกลองห้ามฆ่าสัตว์ กระทำ
เห็นปานนี้แม้อื่น ๆ เพื่อป้องกันชีวิต ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นทานมัย อนึ่ง
ในกาลใด บุคคลคิดว่า การให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้ชีวิต
เป็นทาน เป็นวงศ์ตระกูลวงศ์ของเรา เป็นแบบแผนของตระกูล เป็นประเพณี
ของตระกูล ดังนี้ จึงยังทานมีโอชะเป็นต้น ให้เป็นไปด้วยวัตรเป็นประธาน
ในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นสีลมัย. ในกาลใด เริ่มตั้งความสิ้นไปเสื่อมไปใน
ธรรมารมณ์ ในกาลนั้น กุศลจิตย่อมเป็นภาวนามัย. อนึ่ง กุศลจิตที่เป็น
ทานมัยแม้กำลังเป็นไป คือ ในกาลใด บุคคลย่อมถวายโอชะเป็นทาน น้ำปานะ
เป็นทาน ชีวิตเป็นทานด้วยมือของตน ในกาลนั้น ย่อมเป็นกายกรรม ในกาลใด
ใช้ให้บุตรและภรรยาเป็นต้นให้ถวายทาน ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นวจีกรรม
ในกาลใด ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้เคลื่อนไหว ย่อมคิดด้วยใจว่า เราจัก
ถวายวัตถุที่มีอยู่ด้วยอำนาจแห่งการให้โอชะเป็นทาน ให้น้ำปานะเป็นทาน ให้
ชีวิตเป็นทาน ดังนี้ ในกาลนั้น กุศลจิตก็เป็นมโนกรรม.
 
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์