วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๕๘/๒๙๑/๑๐

ข้อนี้ว่า เพราะเหตุไร ? แก้วมณีนี้อันพวกข้าพเจ้าทำให้เศร้าหมองอยู่
ยังกลับสุกใส. บทว่า กิํ กิจฺจํ อิธ มญฺญสิ ความว่า ในเรื่องนี้
ท่านสำคัญกิจนี้ว่าอย่างไร.
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ เมื่อจะบอกแก่สุกรเหล่านั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๓ ว่า :-
ดูก่อนหมูทั้งหลาย แก้วไพฑูรย์นี้เป็น
ของบริสุทธิ์งามผ่องใส ใคร ๆ ไม่อาจกำจัด
แสงแก้วไพฑูรย์นั้นให้เศร้าหมองได้ ท่าน
ทั้งหลายจงพากันหลบหนีไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกาโจ แปลว่า ไม่อาทิผิด กระด้าง. บทว่า
สุโภ แปลว่า งาม. บทว่า สิริํ แปลว่า รัศมี. บทว่า อปกฺกมถ
ความว่า ใคร ๆ ไม่อาจทำแสงของแก้วมณีนี้ให้พินาศไปได้ ก็พวก
ท่านแหละ จงละถ้ำแก้วมณีนี้ไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด.
สุกรเหล่านั้นพึงฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้วได้กระทำ
เหมือนอย่างนั้น. พระโพธิสัตว์ทำฌานให้เกิดขึ้นแล้ว ในเวลาสิ้น
อายุขัยอาทิผิด อักขระ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล
จบ อรรถกถามณิสุกรชาดกที่ ๕
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________