วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๓๓/๒๒๙/๙

เหล่านั้นด้วยอนุปัสสนาอันเป็นตัวพิจารณา ในธรรมที่กล่าวไว้ ๕ ประการ
ด้วยโกฏฐาส คือส่วนอย่างนี้ คือนิวรณ์ ๕ อุปาทานขันธ์ อายตนะ
ภายในและอายตนะภายนอกอย่างละ ๖ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔.
ก็ในการพิจารณาเห็นธรรมนี้ ท่านกล่าวการพิจารณานามล้วน ๆ
ในเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน. กล่าว
ถึงการพิจารณาทั้งรูปและนามในสัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน. พึงทราบว่า
สติปัฏฐานแม้ทั้ง ๔ นี้ ท่านกล่าวทั้งโลกิยะและโลกุตระคละกันไป.
บทว่า อนุปฺปนฺนานํ ได้แก่ ที่ยังไม่เกิด. บทว่า ปาปกานํ
ได้แก่ ต่ำทราม. บทว่า อกุสลานํ ธมฺมานํอาทิผิด อักขระ ได้แก่ ธรรมมีโลภะ
เป็นต้นอันเกิดจากความไม่ฉลาด. บทว่า อนุปฺปาทาย คือเพื่อต้องการ
ไม่เกิด. บทว่า ฉนฺทํ ชเนติ ความว่า ย่อมให้เกิดกุศลฉันทะในความ
เป็นผู้ใคร่จะทำ. บทว่า วายมติ ได้แก่ กระทำความเพียรเป็นเครื่อง
ประกอบ คือความบากบั่น. บทว่า วิริยํ อารภติ ได้แก่ กระทำ
ความเพียรทางกายและทางใจ. บทว่า จิตฺตํอาทิผิด สระ ปคฺคณฺหาติ ได้แก่ ยกจิต
ขึ้นด้วยความเพียรอันเกิดร่วมกันนั้นนั่นแหละ. บทว่า. ปทหติ ได้แก่
กระทำความเพียรอันเป็นปธานะ.
บทว่า อุปฺปนฺนานํ ได้แก่ เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว. บทว่า
กุสลานํ ธมฺมานํ ได้แก่ ธรรมมีอโลภะเป็นต้นอันเกิดจากความฉลาด.
บทว่า ฐิติยา แปลว่า เพื่อความตั้งอยู่. บทว่า อสมฺโมสาย
แปลว่า เพื่อความไม่เลือนหาย. บทว่า ภิยโยภาวาย แปลว่า เพื่อ
ความมีบ่อย ๆ. บทว่า วิปุลาย แปลว่า เพื่อความไพบูลย์. บทว่า
ภาวนาย แปลว่า เพื่อความเจริญ. บทว่า ปาริปูริยา แปลว่า เพื่อ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________