วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๔๓/๑๐๑/๒๓

ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเพียงไร, บรรดาธรรมเหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า
เป็นยอด.”
บาทพระคาถาว่า ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ความว่า บรรดาสัตว์ ๒ เท้า
อันต่างโดยเทวดาและมนุษย์เป็นต้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตผู้มีจักษุ
ประการเท่านั้น ประเสริฐ. จ ศัพท์ มีอันประมวลมาเป็นอรรถ ย่อม
ประมวลเอาอรูปธรรมทั้งหลายด้วย; เพราะฉะนั้น แม้บรรดาอรูปธรรม
ทั้งหลาย พระตถาคตก็เป็นผู้ประเสริฐ คือสูงสุด.
บาทพระคาถาว่า ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา ความว่า ทางใดที่เรา
(ตถาคต) กล่าวว่า “ ประเสริฐ” ทางนั่นเท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่ง
ทัสสนะคือมรรคและผล; ทางอื่นย่อมไม่มี.
บทว่า เอตํ หิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนิน
ทางนั้น นั่นแหละ.
ก็บทว่า มารเสนปฺปโมหนํ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า
“ เป็นที่หลงแห่งมาร คือเป็นที่ลวงแห่งมาร.”
บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ท่านทั้งหลายจักทำที่สุด คือเขตแดน
แห่งความทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้.
บทว่า สลฺลสตฺถนํ เป็นต้น ความว่า เราเว้นจากกิจทั้งหลาย มี
การได้ฟัง (จากผู้อื่น) เป็นต้น ทราบทางนั่น อันเป็นที่สลัดออกคือย่ำยี
ได้แก่ถอนออกซึ่งลูกศรทั้งหลาย มีลูกศรคือราคะเป็นต้น โดยประจักษ์
แก่ตนแล้วทีเดียว จึงบอกทางนี้, บัดนี้ท่านทั้งหลายพึงทำ ได้แก่ควรทำ
ความเพียรคือสัมมัปปธาน อันถึงซึ่งการนับว่าอาตัปปะ เพราะเป็นเครื่อง
๑. มังสจักขุ จักษุคือดวงตา ๑ ทิพพจักขุ จักษุทิพย์ ๑ ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา ๑
พุทธจักขุอาทิผิด สระ จักษุอาทิผิด สระแห่งพระพุทธเจ้า ๑ สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ ๑.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________