วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๒๖/๕๘๙/๑๔

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอยู่ด้วยประการฉะนี้ได้อย่างใด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย แม้กัสสปก็หวังอย่างนั้นได้เหมือนกัน คือกัสสปเห็นหมู่สัตว์
ผู้กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ฯลฯ ย่อมรู้ชัด
ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
[๕๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองใน
ทิฏฐธรรม เข้าถึงอยู่ได้อย่างใด แม้กัสสปก็ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในทิฏฐธรรม เข้าถึงอย่างนั้นได้เหมือนกัน.
จบฌานาภิญญาสูตรที่ ๙

อรรถกถาฌานาภิญญาสูตรที่ ๙

พึงทราบวินิจฉัยในฌานาอาทิผิด อักขระภิญญาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ยาวเทว อากงฺขามิ ได้แก่ เท่าที่เราปรารถนา. ส่วน
ต่อแต่นี้ เรากล่าวรูปาวจรฌาน ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า วิวิจฺเจว
กาเมหิ ดังนี้. อรูปสมาบัติอาทิผิด สระ ๔ โดยนัยเป็นต้นว่า สพฺพโส รูปสญฺญานํ
สมติกฺกมา ดังนี้. นิโรธสมาบัติอย่างนี้ว่า สพฺพโส เนวสญฺญา-
นาสญฺญายตนํ สมติกฺกมฺม สญฺญาเวทยิตนิโรธํ ดังนี้. และกล่าว
อภิญญาเป็นโลกีย์ ๕ โดยนัยเป็นต้นว่า อเนกวิหิตํ อิทฺธิวิธํ ดังนี้.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________