วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2566

ดูการเทียบเคียง ๕๕/๒๐๙/๒๒

อาการละอาย ถูกอุจจาระ ปัสสาวะบีบคั้นจนอาจมเล็ดก็ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
ไม่ได้ ฉะนั้น บุคคลบางคนกลัวภัยในอบายจึงไม่กระทำบาปกรรม ในข้อนั้น
มีความอุปมาดังต่อไปนี้:-
เหมือนอย่างว่า ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งเย็น แต่เปื้อนคูถ
ก้อนหนึ่งร้อน ไฟติดโพลง. ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อนนั้น บัณฑิตเกลียดไม่จับ
ก้อนเย็น เพราะก้อนเย็นเปื้อนคูถ ไม่จับก้อนร้อน เพราะกลัวไฟไหม้ฉันใด.
ในข้อที่ว่าด้วยหิริและโอตตัปปะนั้นก็ฉันนั้น พึงทราบการหยั่งลงสู่ลัชชีธรรมอัน
เป็นภายในแล้วไม่ทำบาปกรรม เหมือนบัณฑิตเกลียดก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถ
จึงไม่จับ และพึงทราบการไม่ทำบาปเพราะกลัวภัยในอบาย เหมือนการที่บัณฑิต
ไม่จับก้อนเหล็กร้อน เพราะกลัวไหม้ฉะนั้น.
แม้บททั้งสองนี้ที่ว่า หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะกลัว
โทษและเห็นภัย ดังนี้ ย่อมปรากฏเฉพาะในการงดเว้นจากบาปเท่านั้น. จริง
อยู่. คนบางคนยังหิริอันมีลักษณะยำเกรงให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งอาทิผิด อักขระ
พระศาสดา ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยทรัพย์มรดก ๑ และ
พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งเพื่อนพรหมจารี ๑ แล้วไม่ทำบาป.
คนบางคนยังโอตตัปปะอันมีลักษณะกลัวโทษและมักเห็นภัย ให้ตั้งขึ้น
ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ภัยในการติเตียนตน ๑ ภัยในการที่คนอื่น
ติเตียน ๑ ภัยคืออาชญา ๑ และภัยในทุคติ ๑ แล้วไม่ทำบาป ในข้อ
ที่ว่าด้วยหิริโอตตัปปะนั้น พึงกล่าวการพิจารณาความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้น
และภัยในการติเตียนตนเป็นต้น ให้พิสดาร ความพิสดารอาทิผิด อักขระของการพิจารณา
ความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้นเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาอังคุตตรอาทิผิด สระ-
นิกาย.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________