วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๔๖/๑

สังวร ๔ หมวดนี้ มีการทำปาฏิโมกข์ให้สำเร็จ. บทว่า มตฺตญฺญุตาอาทิผิด อักขระ
ภตฺตสฺมึ ได้แก่ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ด้วยอำนาจการแสวงหา
การรับ การบริโภค และการสละ. บทว่า ปนฺตญฺจ สยนาสนํ ได้แก่
ที่นอนและที่นั่งอันสงัด มีราวป่าและโคนไม้เป็นต้น อันอนุกูลแก่ภาวนา.
บทว่า จิตฺเต จ อาโยโค ความว่า เมื่อทำอรหัตผลจิต กล่าวคือ ชื่อว่า
อธิจิต เพราะเป็นจิตยิ่ง คือเพราะสูงสุดกว่าจิตทั้งปวงให้สำเร็จ ความ
พากเพียรย่อมมีด้วยอำนาจสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เพื่อทำอรหัต-
ผลจิตนั้นให้สำเร็จ. บทว่า เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ความว่า การไม่ว่าร้าย
ผู้อื่น ๑ การไม่ทำร้ายผู้อื่น ๑ การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ การรู้จัก
ประมาณในการแสวงหาและการรับเป็นต้น ๑ การอยู่ในที่อันสงัด ๑
การประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิตตามที่กล่าวแล้ว ๑ นี้เป็นคำสอน คือเป็น
โอวาท อธิบายว่า เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิกขา ๓ พึง
ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปิณโฑลภารทวาชอาทิผิด อักขระสูตรที่ ๖

๗. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยความโศกไม่มีแก่มุนีผู้มีสติ

[๑๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน
พระสารีบุตรผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๒/๔๐๕/๑๒

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺชลิสฺสูปนามยิ ความว่า นายพราน
นั้นน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์นั้น คือกระทำการชมเชยสุมุขหงส์นั้นด้วยคาถาอัน
เป็นลำดับต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานุสึ ได้แก่ ภาษาอันเป็น
ของมนุษย์. บทว่า อริยํ ได้แก่ ดี ไม่มีโทษ. บทว่า จชนฺโต คือ กล่าวอยู่.
มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนสหาย ท่านแม้เป็นนก ก็ได้กล่าววาจาภาษา
มนุษย์กับเราในวันนี้ กล่าววาจาอันไม่มีโทษ เปล่งวาจาภาษามนุษย์ เราเห็น
แล้วโดยประจักษ์ เพราะว่าสิ่งอัศจรรย์นี้เราไม่เคยได้ยินมา ไม่เคยได้เห็นมา
ในกาลก่อนแต่นี้เลย. บทว่า กินฺนุ ตายํ ความว่า ท่านเข้าไปใกล้นกใด
นกนั้นย่อมเป็นอะไรกับท่าน.
สุมุขหงส์ถูกนายพรานผู้มีจิตชื่นชมไต่ถามด้วยถ้อยคำอย่างนี้แล้วจึงดำริ
ว่า นายพรานนี้ เป็นผู้มีใจอ่อนเกิดแล้ว บัดนี้เราจักแสดงคุณของเราเพื่อให้
นายพรานนี้มีใจอ่อนยิ่งขึ้นไปอีกอาทิผิด ทีเดียว จึงกล่าวว่า
ดูก่อนนายพรานผู้เป็นศัตรูของนก พญาหงส์
เป็นราชาของข้าพเจ้า ทรงตั้งข้าพเจ้าให้เป็นเสนาบดี
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ซึ่งเป็นอธิบดีของ
หงส์ ในคราวมีอันตรายได้ พญาหงส์นี้เป็นนายของ
หมู่หงส์เป็นอันมากและของข้าพเจ้า อย่าให้พระองค์
พึงถึงความพินาศเสียเลย ดูก่อนนายพรานผู้สหาย
เพราะเหตุที่พญาหงส์นี้เป็นนายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
จึงอาทิผิด สระยินดีรื่นรมย์อยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุสฺสเห ได้แก่ ไม่สามารถจะทิ้งไปได้.
บทว่า มหาคณายํ ได้แก่ แม้ของหมู่หงส์ใหญ่. บทว่า มา เกโก ความว่า
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๔/๔๓๔/๔

เทวราชมาแล้วจึงขอขมา อย่างนี้ก็ไม่งาม. พระราชาเมืองพรหมวัทธนะ
พระนามว่า มโนชะ นี้เป็นพระอัครราชาทั่วชมพูทวีป เราจักนำพระราชา
ทั้งหมด ตั้งต้นแต่พระเจ้ามโนชะนั้นมาแล้วขอขมา เมื่อเป็นอย่างนี้คุณของพี่
ชายของเราจักครอบงำอาทิผิด อักขระไปทั่วชมพูทวีป และจักปรากฏดุจดวงจันทร์และดวง-
อาทิตย์.
ทันใดนั้นเองนันทบัณฑิตได้ไปด้วยฤทธิ์ ลงที่ประตูพระราชนิเวศน์
ของพระราชานั้นในพรหมวัทธนนคร ให้คนไปทูลแด่พระราชาว่า มีดาบส
องค์หนึ่งประสงค์จะเฝ้าพระองค์ ครั้นพระราชทานโอกาสอาทิผิด อักขระให้เข้าเฝ้าได้ จึง
เข้าไปเฝ้าทูลว่า อาตมภาพจะยึดราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ด้วยกำลังของตนนำ
มาถวายพระองค์. พระราชาตรัสถามว่า พระคุณท่านจะยึดราชสมบัติทั่ว
ชมพูทวีปมาให้ได้อย่างไร. ทูลว่า มหาราชอาตมาภาพจะไม่ฆ่าใคร ๆ จะยึด
ด้วยฤทธิ์ของตนเท่านั้นแล้วนำมาถวาย แล้วพาพระราชาพร้อมด้วยเสนา
หมู่ใหญ่ไปถึงแคว้นโกศล พักค่ายไว้ไม่ไกลพระนคร ส่งทูตไปทูลแด่พระ-
เจ้าโกศลว่า จะรบหรือจะยอมอยู่ในอำนาจ. เมื่อการรบกับพระเจ้าโกศลซึ่ง
ทรงพิโรธเตรียมการรบเสด็จออกมาเริ่มขึ้นแล้ว ด้วยฤทธานุภาพของตน
นันทบัณฑิตได้นำโดยที่นักรบทั้งสองฝ่ายมิได้ทำร้ายกัน. แล้วตระเตรียมด้วย
การนำคำโต้ตอบกันโดยที่พระเจ้าโกศล ทรงยอมอยู่ในอำนาจของพระราชา
นั้น. โดยอุบายนี้ นันทบัณฑิตยังพระราชาทั่วชมพูทวีปให้ตกอยู่ในอำนาจ
ของพระราชานั้นหมดสิ้น.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๑๑/๕๕๖/๑๔

องค์แล้วก็สวรรคต ด้วยประการฉะนี้.
ต่อมาพระราชาได้ทรงนำพระราชธิดาองค์อื่นที่ยังสาวสวยมาอภิเษก
ไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี. พระนางประสูติพระราชโอรสทรงพระ
นามว่า ชันตุ. ทีนั้น ในวันที่ ๕ พระนางจึงประดับประดาพระโอรสนั้น
แล้ว ทูลแสดงแด่พระราชา. พระราชาทรงดีพระทัย ได้พระราชทาน
พรแก่พระนาง. พระนางทรงปรึกษากับพระญาติทั้งหลายแล้ว จึงทูล
ขอราชสมบัติให้แก่พระราชโอรส. พระราชาทรงตวาดว่า แน่ะหญิงถ่อย
เจ้าจงฉิบหายเสีย เจ้าปรารถนาอันตรายให้แก่บุตรของเรา. พระนาง
พอลับตาคน ก็ทูลให้พระราชาทรงยินดีบ่อย ๆ เข้าแล้ว ทูลคำเป็นต้นว่า
ข้าแต่พระมหาราช ขึ้นชื่อว่าการตรัสคำเท็จหาสมควรไม่ แล้วก็ทูลขอ
อยู่นั่นแหละ.
ลำดับนั้น พระราชาจึงทรงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสทั้งหลายมา
ตรัสว่า แน่ะพ่อทั้งหลาย เราเห็นชันตุกุมารน้องคนเล็กของพวกเจ้า จึง
ให้พรแก่แม่ของเขาไปฉับพลันทันที นางก็อยากอาทิผิด อักขระจะให้ลูกของเขาได้ราช-
สมบัติเว้นพวกเจ้า พวกเจ้าอยากได้ช้างมงคล ม้ามงคล และรถมงคล
มีประมาณเท่าใด จงถือเอาช้างม้าและรถมีประมาณเท่านั้นไปเสีย แล้วพึง
กลับมาครองราชสมบัติ เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว จึงส่งออกไปพร้อมกับ
อำมาตย์ ๘ คน.
ราชโอรสเหล่านั้นร้องคร่ำครวญมีประการต่าง ๆ กราบทูลว่า ข้าแต่
เสด็จพ่อ ขออาทิผิด อักขระพระองค์ได้ทรงโปรดยกโทษแก่พวกข้าพระองค์ด้วยเถิด
แล้วก็ให้พระราชาและนางสนมกำนัลในของอาทิผิด อาณัติกะพระราชายกโทษให้ แล้ว
กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์จะไปพร้อมกับพระเจ้าพี่ด้วย แล้วจึงทูลลา
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๑/๑/๖

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย อปทาน
เล่มที่ ๘ ภาคที่ ๒
ตอนที่ ๒
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เถราปทาน
สีหาสนิยวรรคที่ ๒
สีหาสนทายกเถราปทานที่ ๑ (๑๑)
ว่าด้วยผลแห่งการถวายราชอาสน์ทองคำ
[๑๓] เมื่อพระโลกนาถพระนามว่า สิทธัตถะ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์
นิพพานแล้ว เมื่อพระศาสนา (แผ่) กว้างขวาง พระศาสนา
มีท่านผู้รู้ (พระขีณาสพ) มาก.
เรามีจิตผ่องใส ใจผ่องแผ้ว ได้ทำราชอาสน์ทองคำ
ครั้นทำราชอาสน์ทองคำแล้ว ได้ทำตั่งสำหรับรองเท้า.
ได้สร้างเรือนสำหรับเก็บราชอาสน์ทองคำนั้น ในฤดูฝน
ด้วยจิตอันเลื่อมใสนั้น เราได้บังเกิดในภพดุสิต วิมานยาว
๒๔ โยชน์ กว้าง ๑๔ โยชน์ อันบุญกรรมสร้างอย่างงดงามมี
อยู่ในภพดุสิตนั้นเพื่อเรา.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๑/๒/๓

๒. ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า มีฟองน้ำเป็นเครื่อง
เปรียบ รู้ชัดกายนี้ว่า มีพยับแดดเป็นธรรม ตัด
พวงดอกไม้ของมารเสียแล้ว พึงถึงอาทิผิด สถานที่มัจจุราช
ไม่เห็น.
๓. มัจจุย่อมพานระผู้มีใจข้องไปในอารมณ์
ต่าง ๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำ
ใหญ่พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไปฉะนั้น.
๔. มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด กระทำนระผู้มีใจข้อง
ในอารมณ์ต่าง ๆ เลือกเก็บดอกไม้อาทิผิด อาณัติกะอยู่เทียว ผู้ไม่อิ่ม
ในกามทั้งหลายนั่นแล สู่อำนาจ.
๕. มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่
ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้ว
บินไปฉะนั้น.
๖. บุคคลผู้ไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่า
อื่นไว้ในใจ ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ
ของคนเหล่าอื่น พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว และยัง
มิได้ทำของตนเท่านั้น.
๗. ดอกไม้งามมีสี ไม่มีกลิ่นแม้ฉันใด วาจา
สุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ดอกไม้
งามมีสี พร้อมด้วยกลิ่นแม้ฉันใด วาจาสุภาษิตก็
ฉันนั้น ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๕/๖๑๒/๒

มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยการก้าวไป ด้วยการถอยกลับ
ด้วยการเหลียวซ้าย ด้วยการแลขวา ด้วยการเหยียดเข้าอาทิผิด อักขระ ด้วยการเหยียดออก
ที่น่าเลื่อมใส รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบความเพียร ประกอบ
ด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัดแล้ว ไม่คลุก-
คลี (ด้วยหมู่) กระทำโดยเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไปด้วยความเคารพ
ยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่าสมบูรณ์ด้วยอาจาระ.
ก็โคจรมี ๓ อย่างคือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร.
ในโคจร ๓ อย่างนั้น กัลยาณมิตร ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ คือ
กถาวัตถุ ๑๐ มีลักษณะดังกล่าวแล้วอาศัยภิกษุใด ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง
ทำข้อที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บรรเทาความสงสัยเสียได้ กระทำความเห็นให้ตรง
ยังจิตให้เลื่อมใส และเมื่อติดตามศึกษา ภิกษุใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา
เจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อุปนิสัยโคจร.
ภิกษุใด เข้าไปในละแวกบ้าน เดินไปสู่ถนนทอดตาลงต่ำ มองดูชั่วแอก
สำรวมแล้วเดินไป ไม่มองดูช้าง ไม่มองดูม้า ไม่มองดูรถ ไม่มองดูคนเดินเท้า
ไม่มองดูสตรี ไม่มองดูบุรุษ ไม่เพ่งดูทิศน้อย ทิศใหญ่ ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า
อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่
ซึ่งภิกษุเข้าไปผูกพันจิตของตนไว้. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ก็ อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร ? คือ สติ-
ปัฏฐาน ๔ ดังนี้. ดังนั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว และโคจรสมบัตินี้.
บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็น
ภัยในโทษทั้งหลาย ต่างด้วยอกุศลจิตตุปบาทในเสขิยวัตร ที่ต้องแล้วโดยไม่
ได้ตั้งใจ เป็นต้น มีประมาณน้อย คือ มีประมาณเท่าอณู. อธิบายว่า ภิกษุ
ใด เห็นโทษมีประมาณเท่าปรมาณู ทำให้ใหญ่ เหมือนขุนเขาสิเนรุราชที่สูง
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๔/๒๐๗/๒

องค์ก็ให้กึกก้องได้ พระเกียรติศัพท์ของพระ-
องค์ก็ระบือไปถึงไตรทิพย์ เมื่ออาทิผิด อาณัติกะพระองค์ทรงให้
สิ่งที่ให้ได้ยาก กระทำสิ่งที่ทำได้ยาก คนที่
เป็นอสัตบุรุษก็ทำตามได้ยาก ธรรมของสัต-
บุรุษนำไปได้ยาก เพราะฉะนั้นคติของสัตบุรุษ
และอสัตบุรุษ จากโลกนี้ไปจึงต่างกัน อสัต-
บุรุษย่อมไปนรก สัตบุรุษย่อมไปสวรรค์.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจูหา คือข้าศึก. บทว่า ทิพฺพา คือ
ผู้ห้ามยศอันเป็นทิพย์. บทว่า มานุสา ผู้ห้ามยศเป็นของมนุษย์. ก็ข้าศึก
เหล่านั้นเป็นใคร คือความตระหนี่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ความ
ตระหนี่ทั้งหมดนั้น อันพระมหาสัตว์ผู้ทรงให้บุตรภริยา ทรงชนะได้แล้ว.
บทว่า ทุทฺททํ ให้ได้ยาก คือเมื่อบุคคลเช่นท่านให้สิ่งที่ให้ได้ยากมีบุตร
ภริยาเป็นต้น กระทำสิ่งที่ทำได้ยากนั้น พระสาวกพระปัจเจกพุทธเจ้า และ
พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่น กระทำตามไม่ได้จะกล่าวไปไยอาทิผิด สระถึงอสัตตบุรุษ
ผู้มีความตระหนี่. เพราะฉะนั้นธรรมของสัตบุรุษ นำไปได้ยาก คือธรรมอัน
เป็นข้อปฏิบัติของคนดีอาทิผิด คือพระมหาโพธิสัตว์ อันบุคคลอื่นตามไปได้ยาก.
ท้าวสักกะทรงสรรเสริญ ด้วยการอนุโมทนาพระมหาบุรุษอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะทรงมอบพระนางมัทรีเทวีคืน จึงตรัสว่า :-
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๒/๔

เป็นแน่ เพราะเมื่อนาคโกรธแล้ว คนทั้งหลาย เช่น
พระองค์จะมีชีวิตอยู่นานไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประ-
เสริฐ พระองค์เป็นมนุษย์ไม่มีฤทธิ์ มาดูหมิ่นพระยา
นาคธตรฐอาทิผิด อักขระผู้มีฤทธิ์ ผู้เป็นบุตรของท้าววรุณนาคราช
เกิดภายใต้แม่น้ำยมุนา.
[๖๙๐] เราไม่ได้ดูหมิ่นท้าวธตรฐอาทิผิด ผู้เรืองยศ ก็
ท้าวธตรฐเป็นใหญ่กว่านาคแม้อาทิผิด อาณัติกะทั้งหมด ถึงจะเป็นพระ-
ยานาคผู้มีอานุภาพมาก ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา
เราเป็นกษัตริย์ของชนชาววิเทหรัฐ และนางสมุททชา
ธิดาของเราก็เป็นอภิชาต.
[๖๙๑] พวกนาคเหล่ากัมพลอัสสดรจงเตรียมตัว
จงไปบอกให้นาคทั้งปวงรู้ จงพากันไปเมืองพาราณสี
แต่อย่าได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย.
[๖๙๒] นาคทั้งหลาย จงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่
บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บน
ยอดไม้ และบนเสาระเนียด แม้เราก็จะนิรมิตตัว ให้
ใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองใหญ่ด้วยขนดหาง ยังความ
กลัวให้เกิดแก่ชนชาวกาสี.
[๖๙๓] นาคทั้งหลายได้ฟังคำของท้าวธตรฐแล้ว
แปลงเพศเป็นหลายอย่าง พากันเข้าไปยังพระนครพา-
ราณสี แต่มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย แผ่พังพานห้อย
อยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๔๒๒/๑๙

ราชเสวก ผู้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็น
พิเศษ ไม่ควรวางใจในพระราชาทั้งหลาย พึงเป็นผู้
สำรวมดำรงตนไว้เพียงดังไฟ ราชเสวกนั้น พึงอยู่ใน
ราชสำนักได้ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์ด้วยบ้าน นิคม แว่นแคว้น หรือ
ชนบท ราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูลคุณ
หรือโทษ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธทฺวาโร ลเภ ทฺวารํ ความว่า
เราเป็นราชเสวก เราไม่ใช่คนเฝ้าประตู แต่ได้ประตูเป็นพิเศษ ไม่ทรง
อนุญาตอย่าพึงเข้าไป แม้ได้ประตูอีกต่อเมื่อได้รับอนุญาตจึงเข้าไป. บทว่า
สโต ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท. บทว่า ภาตรํ สํ วา ได้แก่ พระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์. บทว่า สมฺปคฺคณฺหาติ ความว่า ในกาลใดพระราชาตรัส
กับเสวกทั้งหลายว่า เราจะให้บ้านโน้น หรือนิคมโน้นแก่ผู้โน้น. บทว่า น
ภเณ เฉกปาปกํ ความว่า เป็นเสวกไม่พึงกล่าวสรรเสริญคุณหรือโทษใน
กาลนั้น.
พระราชาทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่กรมช้าง
กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ตามความชอบใน
ราชการของเขา ราชเสวกไม่ควรทัดทานเขา ราชเสวก
นั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกอาทิผิด อักขระผู้เป็นนักปราชญ์
พึงโอนไปเหมือนคันธนู และพึงไหวไปตามเหมือน
ไม้ไผ่ ไม่ควรทูลทัดทาน ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราช-
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือนคันธนู
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๖/๓/๖

ภิกษุใดกำจัดวิตกได้แล้ว ปราบปราม
ดีแล้ว ในภายใน ไม่มีส่วนเหลือ ภิกษุนั้น
ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้เหมือน
งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่
ล่วงกิเลสเป็นเครื่องให้เนิ่นช้านี้อาทิผิด ได้หมดแล้ว
ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้
เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ไม่แล่นเลยไป
ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่ง
ฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบ
เก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ปราศจาก
ความโลภ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก
ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก
เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว
ฉะนั้น.
ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น
ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากราคะ
ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๓/๕๐๑/๑๙

พระสัมพุทธเจ้า บรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุด
สิ้นเชิงแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ กรุง
สุมงคล.
เมื่อพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้นำโลก ทรงแสดง
ธรรมอันประเสริฐ สัตว์แปดสิบโกฏิตรัสรู้ ในการ
แสดงธรรมครั้งที่ ๑.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณ
มิได้ เสด็จเข้าจำพรรษา ณ เทวโลก อภิสมัยครั้งที่ ๒
ได้มีแก่สัตว์สามล้านเจ็ดแสน.
ครั้งพระสุชาตพุทธเจ้า ผู้เสมอด้วย พระพุทธเจ้า
ผู้ไม่มีผู้เสมอ เข้าไปโปรดพระชนก อภิสมัยครั้งที่ ๓.
ได้มีแก่สัตว์หกล้าน.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺเถว มณฺฑกปฺปมฺหิ ความว่า
ในมัณฑกัปใด พระผู้มีพระภาคเจ้า สุเมธะ ทรงอุบัติแล้ว ในกัปนั้นนั่น
แหละ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าสุชาตะก็อุบัติแล้ว. บทว่า สีหหนุ ได้แก่ ชื่อว่า
สีหหนุ เพราะพระหนุของพระองค์เหมือนคางราชสีห์ ก็ราชสีห์ คางล่างเท่านั้น
เต็ม คางบนไม่เต็ม. ส่วนพระมหาบุรุษนั้น เต็มทั้งสองพระหนุเหมือนคาง
ล่างของราชสีห์ จึงเป็นเสมือนดวงจันทร์ ๑๒ ค่ำอาทิผิด ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า
สีหหนุ. บทว่า อุสภกฺขนฺโธ ได้แก่มีพระศอเสมอ อิ่ม กลม เหมือนโค
อุสภะ อธิบายว่า มีลำพระศอเสมือนกลองทองกลมกลึง. บทว่า สตรํสีว
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๘/๓๘๓/๑๒

เป็นมนุษย์ในชาติก่อน เจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้ เจ้าถูก
เราถามแล้ว ขอจงบอกทีเถิด นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.
เทพธิดานั้นตอบว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทได้น้อมนำ
ดอกบวบขม ซึ่งมีรสขมไม่มีใครปรารถนา จำนวน
๔ ดอก บูชาพระสถูป ข้าพระบาทมีใจผ่องใส มุ่ง
เฉพาะพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา ไม่ทัน
พิจารณาหนทางที่มาแห่งแม่โค มิได้นึกไปที่แม่โคนั้น
ทันใดนั้นแม่โคได้ขวิดข้าพระบาท ผู้มีความปรารถนา
แห่งใจยังไม่ถึงพระสถูป ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสมบุญ
นั้นยิ่งขึ้นไซร้ ทิพยสมบัติพึงมียิ่งกว่านี้เป็นแน่ ข้า
แต่ท้าวมฆวานอาทิผิด อักขระเทพกุญชรจอมเทพ เพราะบุญกรรม
นั้น ข้าพระบาทละกายมนุษย์แล้ว จึงมาอยู่ร่วมกับ
พระองค์.
ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์
ชั้นไตรทศ ทรงสดับคำนี้แล้ว เมื่อจะยังเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ให้เลื่อมใส จึงได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารถีอาทิผิด อักขระ
ว่า ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่า
อัศจรรย์นี้ ไทยธรรมที่เทพธิดานี้กระทำแล้ว ถึงจะ
น้อย บุญก็มีผลมาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคต
สัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณา
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๕๐/๔๘๖/๑๖

๗. ธรรมสังวรเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระธรรมสังวรเถระ
[๒๔๔] ได้ยินว่า พระธรรมสังวรเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราได้พิจารณาแล้ว จึงออกบวชเป็นบรรพชิต
เราได้บรรลุวิชชา ๓ แล้ว บำเพ็ญกิจในพระศาสนา
เสร็จแล้ว.
อรรถกถาธรรมสวเถรคาถา
คาถาของท่านพระธรรมสวเถระ เริ่มต้นว่า ปพฺพชึ ตุลยิตฺวาน.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเถระนี้เป็นพราหมณ์ นามว่า สุวัจฉะ ในกาลของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ เรียนจบไตรเพท เห็น
โทษในการอยู่ครองเรือน จึงบวชเป็นดาบส ให้สร้างอาศรมในซอกเขา ชายป่า
อยู่ร่วมกับดาบสเป็นอันมาก.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงปลูกพืชคือกุศล
แก่เขา จึง (เสด็จไป) ประทับยืนอยู่บนอากาศ ใกล้อาศรม แล้วทรงแสดง
อิทธิปาฏิหาริย์. สุวัจฉดาบสเห็นอิทธิปาฏิหาริย์อาทิผิด อักขระนั้น เป็นผู้มีใจเลื่อมใส ใคร่จะ
บูชา จึงเก็บเอาดอกสารภี (มาถวาย). พระศาสดาทรงพระดำริว่า พอแล้ว
สำหรับพืชคือกุศลมีประมาณเท่านี้ แห่งดาบสผู้นี้ ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.
อรรถกถาเรียกว่า พระธรรมสวเถระ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๗/๓/๕

มโนรถปูรณี
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต
ปฐมปัณณาสก์
ธนวรรคที่ ๑
อรรถกถาอัปปิยสูตรอาทิผิด สระที่ ๑
สัตตกนิบาต อัปปิยอาทิผิด สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อนวญฺญตฺติกาโม แปลว่า ผู้ประสงค์เพื่อเป็นผู้มีชื่อเสียง.
จบอรรถกถาอัปปิยสูตรที่ ๑
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๕๖/๗/๑๗

ประกอบกรรม คือความเป็นผู้มีลาภน้อย ละความเป็นผู้ได้อริย-
ธรรมของตน ด้วยตนเอง เนื่องด้วยครั้งก่อนเธอกระทำอันตราย
ลาภของของผู้อื่น จึงเป็นผู้มีลาภน้อย เป็นผู้บรรลุอริยธรรมได้
ด้วยผลที่บำเพ็ญวิปัสสนา คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
ในอดีตกาล ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า
กัสสปะ. ภิกษุรูปหนึ่ง อาศัยกุฎุมพีผู้หนึ่งอยู่ในอาวาสประจำ
หมู่บ้าน เป็นผู้เรียบร้อย มีศีล หมั่นบำเพ็ญวิปัสสนา. ครั้งนั้น
มีพระขีณาสพองค์หนึ่งอยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มาถึงบ้านที่อยู่ของ
กุฎุมพีผู้อุปัฏฐากภิกษุนั้นโดยลำดับ. กุฎุมพีเลื่อมใสในอิริยาบถ
ของพระเถระ จึงรับบาตร นิมนต์เข้าสู่เรือน ให้ฉันภัตตาหาร
โดยเคารพ สดับพระธรรมกถาเล็กน้อย แล้วไหว้พระเถระ กล่าว
ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นิมนต์พระคุณเจ้าไปสู่วิหารใกล้
บ้านของกระผมก่อนเถิด ต่อเวลาเย็น พวกกระผมจึงจะไปเยี่ยม
พระเถระจึงไปสู่วิหาร นมัสการพระเถระเจ้าอาวาส ทักถาม
กันแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร. ท่านเจ้าอาวาสก็ทำปฏิสันถารกับท่าน
แล้วถามว่า ผู้มีอายุอาทิผิด คุณได้รับภัตตาหารแล้วหรือ ?
ท่านตอบว่า ได้แล้วครับ.
คุณได้ที่ไหนเล่า ?
ได้ที่เรือนกุฎุมพีใกล้ ๆ วิหารนี้แหละ. ครั้นบอกอย่างนี้
แล้วก็ถามถึงเสนาสนะของตน จัดแจงปัดกวาด เก็บบาตรจีวรไว้
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๑๙๔/๗

คือ ทีฆนิกายอาทิผิด อักขระ มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททก-
นิกาย ย่อมถึงการสงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย, ในบรรดานวังคสัตถุศาสน์
คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูต-
ธรรม เวทัลละ ท่านสงเคราะห์ลงในคาถา. ในบรรดาธรรมขันธ์
๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ซึ่งท่านพระอานนท์กล่าวไว้อย่างนี้ว่า
ธรรมเหล่าใดที่คล่องปากขึ้นใจของข้าพเจ้า ธรรมเหล่านั้น
มี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ คือที่ข้าพเจ้าเรียนอาทิผิด อักขระจากพระพุทธเจ้า
๘๒,๐๐๐ เรียนจากภิกษุ ๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ดังนี้.
เป็นอันสงเคราะห์ลงใน ๒-๓ พระธรรมขันธ์.
บัดนี้ ท่านเมื่อจะแสดงอปทานนั้น จึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็น
พระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน มีจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนี้.
ในคำเหล่านั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บารมี ๑๐ ถ้วนนั่นเอง จัดเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน ด้วยอำนาจบารมี
๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ โดยเป็นอย่างต่ำ อย่างกลาง
และอย่างสูง. ผู้บริบูรณ์ดี คือผู้สมบูรณ์ ประกอบ พร้อมพรั่ง บรรลุ
ประกอบพร้อมด้วยบารมี ๑๐ ถ้วนนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ผู้สมบูรณ์
ด้วยบารมี ๓๐ ถ้วน. ชื่อว่า ราชา เพราะยังหมู่สัตว์ผู้อยู่ในสกลโลกทั้ง ๓
และกายของตนให้ยินดี คือให้อาทิผิด สระยึดติดด้วยพรหมวิหารสมาบัติ ๔ คือ
เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือด้วยความเป็นผู้มีจิตเป็นอันเดียว
ด้วยธรรมเครื่องอยู่แห่งผลสมาบัติ, พระราชาโดยธรรม ชื่อว่า
พระธรรมราชา, พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอย่างนี้. อธิบายว่า พระพุทธ-
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๓/๒๐๕/๑๔

ในบทว่า เทวา มนุสฺเส ปสฺสนฺติ นี้ ไม่มีคำที่จะกล่าวในข้อที่
เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์. ด้วยว่า โดยการเห็นอย่างปกติ แม้เทวดาทั้งหลาย
ย่อมเห็นมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างที่มนุษย์ทั้งหลายยืนอยู่ในที่นี่เห็นอยู่. บทว่า
เทวตา ได้แก่ เทพทั้งหลาย. บทว่า อุโภปิ ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง
พวก. บทว่า ปญฺชลิกา ได้แก่ ประคองอัญชลี อธิบายว่า เอามือทั้งสองตั้ง
ไว้เหนือศีรษะ. บทว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ ได้แก่ ไปข้างหลังของพระตถาคต.
พึงทราบลักษณะว่า เมื่ออนุโยค [นิคคหิต] มีอยู่ ทุติยาวิภัตติ ย่อมลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ. บทว่า วชฺช-
ยนฺตา แปลว่า บรรเลงอยู่.
บทว่า มนฺทารวํ ได้แก่ ดอกมณฑารพ. บทว่า ทิโสทิสํ แปลว่า
โดยทุกทิศ. บทว่า โอกิรนฺติ แปลว่า โปรย. บทว่า อากาสนภคตา
แปลว่า ไปในท้องฟ้าคืออากาศ อีกนัยหนึ่งไปสู่อากาศ คือไปสวรรค์นั่นเอง.
จริงอยู่สวรรค์ท่านเรียกว่าท้องฟ้า. บทว่า มรู แปลว่า เทวดาทั้งหลาย. บทว่า
สรลํ ได้แก่ ดอกสน. บทว่า นีปํ ได้แก่ ดอกกระทุ่มอาทิผิด อักขระ. บทว่า นาคปุนฺนาค-
เกตกํ ได้แก่ ดอกกระถินอาทิผิด ดอกบุนนาค ดอกเกต. บทว่า ภูมิตลคตา
ได้แก่ ไปที่แผ่นดิน.
บทว่า เกเส มุญฺจิตฺวาหํ ความว่า เปลื้อง คือ สยายผมจากกลุ่ม
และชฎาเกลียวที่มุ่นไว้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโอกาสที่ให้แก่เรา. บทว่า
จมฺมกํ ได้แก่ท่อนหนัง. บทว่า กลเล ได้แก่ ในโคลนตม. บทว่า อวกุชฺ -
โช แปลว่า คว่ำหน้า. นิปชฺชหํ ตัดบทเป็น นิปชฺชึ อหํ. ศัพท์ว่า มา
ในบทว่า มา นํ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์ว่า นํ เป็นนิบาตลง
ในอรรถปทบูรณะทำบทให้เต็มความว่า ขอพระพุทธเจ้า อย่าทรงเหยียบที่ตม
เลย. บทว่า หิตาย เม ภวิสฺสติ ความว่า การไม่ทรงเหยียบที่ตมนั้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๑๓๗/๑๐

บำเพ็ญเพียรอยู่สวรรคตแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสห้ามว่า
เราไม่เชื่อ บุตรของเรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณ จะไม่ทำกาลกิริยา.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระราชาจึงไม่ทรงเชื่อ ตอบว่า เพราะได้ทรง
เห็นปาฏิหาริย์ในวันที่ให้ไหว้พระกาลเทวิลดาบส และที่โคนต้นหว้า.
เมื่อพระโพธิสัตว์กลับได้สัญญาเสด็จลุกขึ้น เทวดาเหล่านั้นได้ไป
กราบทูลแก่พระราชาอีกว่า ข้าแต่มหาราช โอรสของพระองค์ไม่มีพระ-
โรคแล้ว. พระราชาตรัสว่า เรารู้ว่าบุตรของเราไม่ตาย. เมื่อพระมหาสัตว์
ทรงทำทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา กาลเวลาได้เป็นเหมือนขอดปมไว้ใน
อากาศ. พระมหาสัตว์นั้นทรงดำริว่า ชื่อว่าการทำทุกรกิริยานี้ ย่อมไม่
เป็นทางเพื่อที่จะตรัสรู้ จึงเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตอาทิผิด อักขระในคามและนิคม เพื่อ
จะนำอาหารหยาบมาแล้วเสวยพระกระยาหาร. ครั้งนั้น มหาปุริสลักษณะ
๓๒ ประการของพระมหาสัตว์ก็ได้กลับเป็นปกติ. แม้พระกายก็มีวรรณดุจ
ทองคำ. ภิกษุปัญจวัคคีย์พากันคิดว่า พระมหาบุรุษนี้แม้ทรงทำทุกรกิริยา
อยู่ถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ บัดนี้เที่ยวบิณฑบาตใน
คามนิคมเป็นต้น นำอาหารหยาบมา จักอาจตรัสรู้ได้อย่างไร พระมหา-
บุรุษนี้คลายความเพียร เวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว การที่พวกเราคิด
คาดคะเนเอาคุณวิเศษจากสำนักของพระมหาบุรุษนี้ เหมือนคนผู้ประสงค์
จะสนานศีรษะคิดคะเนเอาหยาดน้ำค้างฉะนั้น พวกเราจะประโยชน์อะไร
ด้วยพระมหาบุรุษนี้ จึงพากันละพระมหาบุรุษ ถือบาตรและจีวรของตนๆ
เดินทางไป ๑๘ โยชน์ เข้าไปยังป่าอิสิปตนะ.
ก็สมัยนั้นแล ทาริกาชื่อว่า สุชาดา ผู้เกิดในเรือนของเสนานิกุฎุมพี
ในตำบล อุรุเวลาเสนานิคม เจริญวัยแล้วได้กระทำอาทิผิด สระความปรารถนาที่ต้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๐/๒๔๗/๘

อย่างละเอียดขาดแล้ว พระอนาคามีเสื่อมจากอนาคามิผลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ
พยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระสกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๒๒๙] ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-
สกทาคามีอาทิผิด เสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโสดาบันละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระโสดา-
บันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระสกทาคามีละสักกายทิฏฐิขาดแล้ว พระ-
สกทาคามีเสื่อมจากสกทาคามิผลได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระโสดาบันละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละ
โมหะที่เป็นเหตุไปอบายขาดแล้ว พระโสดาบันเสื่อมจากโสดาปัตติผลได้
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. พระสกทาคามีละวิจิกิจฉาขาดแล้ว ฯ ล ฯ ละกาม
ราคะอย่างหยาบขาดแล้ว... ละพยาบาทอย่างหยาบขาดแล้ว พระ-
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๒/๑๒๖๕/๑๑

พึงทราบนัยมุขในปวัตติวาระนั้นดังต่อไปนี้ คำว่า เว้นวิตก
วิจาร ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจทุติยฌาน และตติยฌาน บทว่า เตสํ
ได้แก่ ความพร้อมเพรียงแห่งทุติยฌานและตติยฌานของบุคคลเหล่านั้น
บทว่า กามาวจรานํ ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดแล้วในกามาวจรภูมิ แต่ว่า
ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ย่อมไม่มีแก่เทวดาในรูปาวจรภูมิ รูปนั่นแหละ
ย่อมไม่มีแม้แก่เทวดาในอรูปาวจรภูมิ.
คำว่า เว้น ลมอัสสาสะ ปัสสาสะ ดังนี้ ท่านกล่าวหมาย
เอาการเกิดขึ้นแห่งวิตกวิจารของสัตว์ผู้เกิดแล้วในรูปภพและอรูปภพ.
คำว่า ในปฐมฌาน ในกามาวจร ดังนี้ ได้แก่ในปฐมฌาน
ที่เกิดขึ้นแล้วในกามาวจรภูมิ ก็ปฐมฌาน ในกามาวจรภูมินี้ ท่านถือ
เอาด้วยอำนาจอาทิผิด อักขระมรรคอันเลิศ (อรหัตมรรค) หาถือเอาด้วยอำนาจอัปปนา
ไม่ เพราะว่าหมวดสองแห่งสังขารนี้ย่อมเกิดขึ้นในจิตที่เป็นไปกับด้วย
วิตกวิจาร แม้ที่ยังไม่ถึงอัปปนา.
คำนี้ว่า ในภังคขณะแห่งจิต ท่านกล่าวไว้แล้ว เพราะความ
ที่แห่งกายสังขารมีจิตเป็นสมุฏฐานแน่นอน เพราะจิตเมื่อเกิดอยู่นั่น-
แหละย่อมยังรูปหรืออรูปให้เกิดขึ้น เมื่อดับอยู่ย่อมไม่ยังรูปหรืออรูปให้
เกิดขึ้น.
คำว่า ครั้นเมื่อจิตดวงที่สองแห่งสุทธาวาสพรหมเป็นไปอยู่
ได้แก่ ภวังคจิต อันเป็นจิตดวงที่สองนับแต่ปฏิสนธิจิต คำนั้นท่าน
กล่าวแล้วเพื่อแสดงว่า ภวังคจิตนั้น แม้เมื่อปฏิสนธิจิตเป็นไปอยู่
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์