วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๒/๔๐๕/๑๒

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺชลิสฺสูปนามยิ ความว่า นายพราน
นั้นน้อมอัญชลีแก่สุมุขหงส์นั้น คือกระทำการชมเชยสุมุขหงส์นั้นด้วยคาถาอัน
เป็นลำดับต่อไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานุสึ ได้แก่ ภาษาอันเป็น
ของมนุษย์. บทว่า อริยํ ได้แก่ ดี ไม่มีโทษ. บทว่า จชนฺโต คือ กล่าวอยู่.
มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ดูก่อนสหาย ท่านแม้เป็นนก ก็ได้กล่าววาจาภาษา
มนุษย์กับเราในวันนี้ กล่าววาจาอันไม่มีโทษ เปล่งวาจาภาษามนุษย์ เราเห็น
แล้วโดยประจักษ์ เพราะว่าสิ่งอัศจรรย์นี้เราไม่เคยได้ยินมา ไม่เคยได้เห็นมา
ในกาลก่อนแต่นี้เลย. บทว่า กินฺนุ ตายํ ความว่า ท่านเข้าไปใกล้นกใด
นกนั้นย่อมเป็นอะไรกับท่าน.
สุมุขหงส์ถูกนายพรานผู้มีจิตชื่นชมไต่ถามด้วยถ้อยคำอย่างนี้แล้วจึงดำริ
ว่า นายพรานนี้ เป็นผู้มีใจอ่อนเกิดแล้ว บัดนี้เราจักแสดงคุณของเราเพื่อให้
นายพรานนี้มีใจอ่อนยิ่งขึ้นไปอีกอาทิผิด ทีเดียว จึงกล่าวว่า
ดูก่อนนายพรานผู้เป็นศัตรูของนก พญาหงส์
เป็นราชาของข้าพเจ้า ทรงตั้งข้าพเจ้าให้เป็นเสนาบดี
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะละทิ้งพระองค์ซึ่งเป็นอธิบดีของ
หงส์ ในคราวมีอันตรายได้ พญาหงส์นี้เป็นนายของ
หมู่หงส์เป็นอันมากและของข้าพเจ้า อย่าให้พระองค์
พึงถึงความพินาศเสียเลย ดูก่อนนายพรานผู้สหาย
เพราะเหตุที่พญาหงส์นี้เป็นนายของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
จึงอาทิผิด สระยินดีรื่นรมย์อยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุสฺสเห ได้แก่ ไม่สามารถจะทิ้งไปได้.
บทว่า มหาคณายํ ได้แก่ แม้ของหมู่หงส์ใหญ่. บทว่า มา เกโก ความว่า
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________