วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๓/๒๐๕/๑๔

ในบทว่า เทวา มนุสฺเส ปสฺสนฺติ นี้ ไม่มีคำที่จะกล่าวในข้อที่
เทวดาทั้งหลายเห็นมนุษย์. ด้วยว่า โดยการเห็นอย่างปกติ แม้เทวดาทั้งหลาย
ย่อมเห็นมนุษย์ทั้งหลายเหมือนอย่างที่มนุษย์ทั้งหลายยืนอยู่ในที่นี่เห็นอยู่. บทว่า
เทวตา ได้แก่ เทพทั้งหลาย. บทว่า อุโภปิ ได้แก่ เทวดาและมนุษย์ทั้งสอง
พวก. บทว่า ปญฺชลิกา ได้แก่ ประคองอัญชลี อธิบายว่า เอามือทั้งสองตั้ง
ไว้เหนือศีรษะ. บทว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ ได้แก่ ไปข้างหลังของพระตถาคต.
พึงทราบลักษณะว่า เมื่ออนุโยค [นิคคหิต] มีอยู่ ทุติยาวิภัตติ ย่อมลงใน
อรรถฉัฏฐีวิภัตติ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อนุยนฺติ ตถาคตํ. บทว่า วชฺช-
ยนฺตา แปลว่า บรรเลงอยู่.
บทว่า มนฺทารวํ ได้แก่ ดอกมณฑารพ. บทว่า ทิโสทิสํ แปลว่า
โดยทุกทิศ. บทว่า โอกิรนฺติ แปลว่า โปรย. บทว่า อากาสนภคตา
แปลว่า ไปในท้องฟ้าคืออากาศ อีกนัยหนึ่งไปสู่อากาศ คือไปสวรรค์นั่นเอง.
จริงอยู่สวรรค์ท่านเรียกว่าท้องฟ้า. บทว่า มรู แปลว่า เทวดาทั้งหลาย. บทว่า
สรลํ ได้แก่ ดอกสน. บทว่า นีปํ ได้แก่ ดอกกระทุ่มอาทิผิด อักขระ. บทว่า นาคปุนฺนาค-
เกตกํ ได้แก่ ดอกกระถินอาทิผิด ดอกบุนนาค ดอกเกต. บทว่า ภูมิตลคตา
ได้แก่ ไปที่แผ่นดิน.
บทว่า เกเส มุญฺจิตฺวาหํ ความว่า เปลื้อง คือ สยายผมจากกลุ่ม
และชฎาเกลียวที่มุ่นไว้. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในโอกาสที่ให้แก่เรา. บทว่า
จมฺมกํ ได้แก่ท่อนหนัง. บทว่า กลเล ได้แก่ ในโคลนตม. บทว่า อวกุชฺ -
โช แปลว่า คว่ำหน้า. นิปชฺชหํ ตัดบทเป็น นิปชฺชึ อหํ. ศัพท์ว่า มา
ในบทว่า มา นํ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์ว่า นํ เป็นนิบาตลง
ในอรรถปทบูรณะทำบทให้เต็มความว่า ขอพระพุทธเจ้า อย่าทรงเหยียบที่ตม
เลย. บทว่า หิตาย เม ภวิสฺสติ ความว่า การไม่ทรงเหยียบที่ตมนั้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________