วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๖๑๙/๑๐

บาลีว่า เอตํ นมสฺสิยํ ดังนี้ก็มี. บาลีนั้นมีใจความว่า พึงนมัสการธง
ของฤๅษีนั้น.
เบื้องหน้าแต่นั้นไป เมื่อจะแสดงคุณของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
สตฺถุกปฺปํ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า เราทรงจำไว้ด้วยหทัยคือด้วยจิต
ได้แก่เราพิจารณาด้วยการฟังและการทรงจำเป็นต้น ซึ่งพระวินัยอันถูก
ต้อง คือพระวินัยอันดีงาม ได้แก่การฝึกไตรทวารด้วยอาการอันงาม
เหมือนกับพระศาสดา คือเหมือนกับพระพุทธเจ้า. อธิบายว่า เรานมัส-
การ คือไหว้พระวินัย ได้แก่พระวินัยปิฎก จักกระทำความเอื้อเฟื้อ
ในพระวินัยอยู่ คือสำเร็จการอยู่ทุกกาล ได้แก่ในกาลทั้งปวง.
บทว่า วินโย อาสโย มยฺหํ ความว่า พระวินัยปิฎกเป็นโอกาส
คือเป็นเรือนของเรา ด้วยอำนาจการฟัง การทรงจำ การมนสิการ การ
เล่าเรียน การสอบถาม และการประกาศ. บทว่า วินโย ฐานจงฺกมํ
ความว่า พระวินัยเป็นฐานที่ยืน และเป็นฐานที่จงกรม ด้วยการทำกิจ
มีการฟังเป็นต้นของเรา. บทว่า กปฺเปมิ วินเย วาสํ ความว่า เราสำเร็จ
คือกระทำการอยู่ คือการนอนในพระวินัยปิฎก คือในแบบแผนแห่ง
พระวินัย ด้วยอำนาจการฟัง การทรงจำ และการประกาศ. บทว่า
วินโย มม โคจโร ความว่า พระวินัยปิฎกเป็นโคจร คือเป็นอาหาร
ได้แก่เป็นโภชนะของเราด้วยอำนาจการทรงจำ และการมนสิการเป็นนิจ.
บทว่า วินเย ปารมิปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงความยอดเยี่ยม คือที่สุดใน
วินัยปิฎกทั้งสิ้น. บทว่า สมเถ จาปิ โกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือ
เป็นผู้เฉลียวฉลาดในการระงับ คือในการสงบระงับ และการออกจาก
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________