วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๑๓๗/๑๐

บำเพ็ญเพียรอยู่สวรรคตแล้ว. พระราชาได้ทรงสดับดังนี้ จึงตรัสห้ามว่า
เราไม่เชื่อ บุตรของเรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณ จะไม่ทำกาลกิริยา.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไรพระราชาจึงไม่ทรงเชื่อ ตอบว่า เพราะได้ทรง
เห็นปาฏิหาริย์ในวันที่ให้ไหว้พระกาลเทวิลดาบส และที่โคนต้นหว้า.
เมื่อพระโพธิสัตว์กลับได้สัญญาเสด็จลุกขึ้น เทวดาเหล่านั้นได้ไป
กราบทูลแก่พระราชาอีกว่า ข้าแต่มหาราช โอรสของพระองค์ไม่มีพระ-
โรคแล้ว. พระราชาตรัสว่า เรารู้ว่าบุตรของเราไม่ตาย. เมื่อพระมหาสัตว์
ทรงทำทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา กาลเวลาได้เป็นเหมือนขอดปมไว้ใน
อากาศ. พระมหาสัตว์นั้นทรงดำริว่า ชื่อว่าการทำทุกรกิริยานี้ ย่อมไม่
เป็นทางเพื่อที่จะตรัสรู้ จึงเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตอาทิผิด อักขระในคามและนิคม เพื่อ
จะนำอาหารหยาบมาแล้วเสวยพระกระยาหาร. ครั้งนั้น มหาปุริสลักษณะ
๓๒ ประการของพระมหาสัตว์ก็ได้กลับเป็นปกติ. แม้พระกายก็มีวรรณดุจ
ทองคำ. ภิกษุปัญจวัคคีย์พากันคิดว่า พระมหาบุรุษนี้แม้ทรงทำทุกรกิริยา
อยู่ถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ บัดนี้เที่ยวบิณฑบาตใน
คามนิคมเป็นต้น นำอาหารหยาบมา จักอาจตรัสรู้ได้อย่างไร พระมหา-
บุรุษนี้คลายความเพียร เวียนมาเป็นคนมักมากเสียแล้ว การที่พวกเราคิด
คาดคะเนเอาคุณวิเศษจากสำนักของพระมหาบุรุษนี้ เหมือนคนผู้ประสงค์
จะสนานศีรษะคิดคะเนเอาหยาดน้ำค้างฉะนั้น พวกเราจะประโยชน์อะไร
ด้วยพระมหาบุรุษนี้ จึงพากันละพระมหาบุรุษ ถือบาตรและจีวรของตนๆ
เดินทางไป ๑๘ โยชน์ เข้าไปยังป่าอิสิปตนะ.
ก็สมัยนั้นแล ทาริกาชื่อว่า สุชาดา ผู้เกิดในเรือนของเสนานิกุฎุมพี
ในตำบล อุรุเวลาเสนานิคม เจริญวัยแล้วได้กระทำอาทิผิด สระความปรารถนาที่ต้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________