มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยการก้าวไป ด้วยการถอยกลับ
ด้วยการเหลียวซ้าย ด้วยการแลขวา ด้วยการเหยียด เข้าอาทิผิด อักขระ ด้วยการเหยียดออก
ที่น่าเลื่อมใส รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบความเพียร ประกอบ
ด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัดแล้ว ไม่คลุก-
คลี (ด้วยหมู่) กระทำโดยเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไปด้วยความเคารพ
ยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่าสมบูรณ์ด้วยอาจาระ.
ก็โคจรมี ๓ อย่างคือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร.
ในโคจร ๓ อย่างนั้น กัลยาณมิตร ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ คือ
กถาวัตถุ ๑๐ มีลักษณะดังกล่าวแล้วอาศัยภิกษุใด ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง
ทำข้อที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บรรเทาความสงสัยเสียได้ กระทำความเห็นให้ตรง
ยังจิตให้เลื่อมใส และเมื่อติดตามศึกษา ภิกษุใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา
เจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อุปนิสัยโคจร.
ภิกษุใด เข้าไปในละแวกบ้าน เดินไปสู่ถนนทอดตาลงต่ำ มองดูชั่วแอก
สำรวมแล้วเดินไป ไม่มองดูช้าง ไม่มองดูม้า ไม่มองดูรถ ไม่มองดูคนเดินเท้า
ไม่มองดูสตรี ไม่มองดูบุรุษ ไม่เพ่งดูทิศน้อย ทิศใหญ่ ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า
อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่
ซึ่งภิกษุเข้าไปผูกพันจิตของตนไว้. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ก็ อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร ? คือ สติ-
ปัฏฐาน ๔ ดังนี้. ดังนั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว และโคจรสมบัตินี้.
บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็น
ภัยในโทษทั้งหลาย ต่างด้วยอกุศลจิตตุปบาทในเสขิยวัตร ที่ต้องแล้วโดยไม่
ได้ตั้งใจ เป็นต้น มีประมาณน้อย คือ มีประมาณเท่าอณู. อธิบายว่า ภิกษุ
ใด เห็นโทษมีประมาณเท่าปรมาณู ทำให้ใหญ่ เหมือนขุนเขาสิเนรุราชที่สูง
ด้วยการเหลียวซ้าย ด้วยการแลขวา ด้วยการ
ที่น่าเลื่อมใส รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบความเพียร ประกอบ
ด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัดแล้ว ไม่คลุก-
คลี (ด้วยหมู่) กระทำโดยเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไปด้วยความเคารพ
ยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่าสมบูรณ์ด้วยอาจาระ.
ก็โคจรมี ๓ อย่างคือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร.
ในโคจร ๓ อย่างนั้น กัลยาณมิตร ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ คือ
กถาวัตถุ ๑๐ มีลักษณะดังกล่าวแล้วอาศัยภิกษุใด ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง
ทำข้อที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บรรเทาความสงสัยเสียได้ กระทำความเห็นให้ตรง
ยังจิตให้เลื่อมใส และเมื่อติดตามศึกษา ภิกษุใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา
เจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อุปนิสัยโคจร.
ภิกษุใด เข้าไปในละแวกบ้าน เดินไปสู่ถนนทอดตาลงต่ำ มองดูชั่วแอก
สำรวมแล้วเดินไป ไม่มองดูช้าง ไม่มองดูม้า ไม่มองดูรถ ไม่มองดูคนเดินเท้า
ไม่มองดูสตรี ไม่มองดูบุรุษ ไม่เพ่งดูทิศน้อย ทิศใหญ่ ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า
อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่
ซึ่งภิกษุเข้าไปผูกพันจิตของตนไว้. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ก็ อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร ? คือ สติ-
ปัฏฐาน ๔ ดังนี้. ดังนั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร
เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว และโคจรสมบัตินี้.
บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็น
ภัยในโทษทั้งหลาย ต่างด้วยอกุศลจิตตุปบาทในเสขิยวัตร ที่ต้องแล้วโดยไม่
ได้ตั้งใจ เป็นต้น มีประมาณน้อย คือ มีประมาณเท่าอณู. อธิบายว่า ภิกษุ
ใด เห็นโทษมีประมาณเท่าปรมาณู ทำให้ใหญ่ เหมือนขุนเขาสิเนรุราชที่สูง
พระปิฎกธรรม
อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
_____ ____________________