วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๔๒๒/๑๙

ราชเสวก ผู้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็น
พิเศษ ไม่ควรวางใจในพระราชาทั้งหลาย พึงเป็นผู้
สำรวมดำรงตนไว้เพียงดังไฟ ราชเสวกนั้น พึงอยู่ใน
ราชสำนักได้ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์ด้วยบ้าน นิคม แว่นแคว้น หรือ
ชนบท ราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูลคุณ
หรือโทษ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธทฺวาโร ลเภ ทฺวารํ ความว่า
เราเป็นราชเสวก เราไม่ใช่คนเฝ้าประตู แต่ได้ประตูเป็นพิเศษ ไม่ทรง
อนุญาตอย่าพึงเข้าไป แม้ได้ประตูอีกต่อเมื่อได้รับอนุญาตจึงเข้าไป. บทว่า
สโต ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท. บทว่า ภาตรํ สํ วา ได้แก่ พระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์. บทว่า สมฺปคฺคณฺหาติ ความว่า ในกาลใดพระราชาตรัส
กับเสวกทั้งหลายว่า เราจะให้บ้านโน้น หรือนิคมโน้นแก่ผู้โน้น. บทว่า น
ภเณ เฉกปาปกํ ความว่า เป็นเสวกไม่พึงกล่าวสรรเสริญคุณหรือโทษใน
กาลนั้น.
พระราชาทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่กรมช้าง
กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ตามความชอบใน
ราชการของเขา ราชเสวกไม่ควรทัดทานเขา ราชเสวก
นั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกอาทิผิด อักขระผู้เป็นนักปราชญ์
พึงโอนไปเหมือนคันธนู และพึงไหวไปตามเหมือน
ไม้ไผ่ ไม่ควรทูลทัดทาน ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราช-
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือนคันธนู
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________