วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๒/๕๖๙/๗

จักขายตนมูละ ฆานายตนมูลี :-
[๕๗๒] จักขายตนะไม่ใช่จักดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, ฆานา-
ยตนะก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
ใช่.
ก็หรือว่า ฆานายตนะไม่ใช่จักดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, จักขา-
ยตนะไม่ใช่จักดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในรูปาวจรภูมิ ฆานายตนะอาทิผิด สระไม่ใช่จัก
ดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่จักขายตนะจักดับแก่บุคคลเหล่านั้น
ในภูมินั้น, เมื่อบุคคลเหล่านั้นกำลังปรินิพพานในปัญจโวการภูมิก็ดี
บุคคลที่เกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมิอาทิผิด ก็ดี บุคคลที่เกิดอยู่ในอรูปภูมิก็ดี ฆานา-
ยตนะไม่ใช่จักดับ และจักขายตนะก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมิ
นั้น.
จบ จักขายตนมูละ ฆานายตนมูลี

จักขายตนมูละ รูปายตนมูลี :-
[๕๗๓] จักขายตนะไม่ใช่จักดับแก่บุคคลใดในภูมิใด, รูปา-
ยตนะก็ไม่ใช่จักดับแก่บุคคลนั้นในภูมินั้น ใช่ไหม ?
เมื่อบุคคลเหล่านั้นเกิดอยู่ในอสัญญสัตตภูมิ จักขายตนะไม่ใช่
จักดับแก่บุคคลเหล่านั้นในภูมินั้น แต่รูปายตนะจักดับแก่บุคคลเหล่านั้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๘/๔๓๐/๙

คำว่า อุปกิเลเส ได้แก่ อุปกิเลส. จริงอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเข้า
ถึงจิตแล้ว จักยังจิตนั้นให้เศร้าหมอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
อุปกิเลเส ดังนี้.
คำว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ (แปลว่า ทำปัญญาให้ทราม) ได้แก่
เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเกิดขึ้นแห่งปัญญา
อันเป็นโลกิยะและปัญญาอันเป็นโลกุตตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ทั้งเข้าไปตัดซึ่งสมาบัติ
๘ อภิญญา ๕ อันเกิดขึ้นแล้วให้ตกไป ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
ว่า อุปกิเลสเหล่านี้ ทำปัญญาให้ทราม ดังนี้. แม้คำว่า อนุปฺปนฺนา
เจว ปญฺญา น อุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนาอาทิผิด จ ปญฺญา นิรุชฺฌติ นี้ (แปลว่า
ปัญญาอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และปัญญาอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาเนื้อความที่กล่าวแล้วนี้เหมือนกัน. คำทั้ง
ปวงที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีอรรถดังเช่นที่ข้าพเจ้าประกาศ
แล้วในหนหลัง ในที่นั้น ๆ แล.
คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าวในนิทเทสทั้งหลาย แม้มีคำ วิวิจฺเจว กาเมหิ
(แปลว่า สงัดจากกามทั้งหลาย) เป็นต้น คำนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวแล้วในรูปาวจร
นิทเทสในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง และในที่นั้น ๆ ในนิทเทสนี้. จริงอยู่
แม้ในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังว่า ฌานประกอบด้วยองค์ ๓ ฌานประกอบด้วยองค์ ๒
ฉันใด ในนิทเทสนี้ มิได้ตรัสฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบความต่างกันอย่างนี้ว่า
ฌานนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงแล้ว โดยนัยมีคำว่า สัมปสาทะ
(แปลว่า ความผ่องใส) ปีติ สุข และเอกัคคตาแห่งจิต ชื่อว่า ฌาน เพราะถือ
เอาองค์ ๓ กับสัมปสาทะ เป็นต้น โดยปริยายแห่งพระบาลีว่า อชฺฌตฺตํ
สมฺปสาทํ (แปลว่า ความผ่องใสเป็นไปในภายใน) เป็นต้น.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๕/๕๔๑/๑๔

บทว่า มุญฺชปพฺพชภูโต ได้แก่ เกิดเป็นดุจหญ้ามุงกระต่าย และ
หญ้าปล้อง คือ โลกเกิดเป็นเช่นนั้น. การที่จะถือเอาเชือกที่เขาทุบหญ้าเหล่านั้น ๆ
ทำแล้วตกไปในที่ไหนๆในเวลาที่มันเก่าแล้ว ก็ยากที่จะเก็บกำหนดปลายหรือ
โคนของหญ้าเหล่านั้นได้ว่า นี้ปลาย นี้โคน ดังนี้ ผู้ที่ตั้งอยู่ในความพยายาม
เฉพาะตัวจึงสามารถทำเชือกแม้นั้นให้ตรงได้ เว้นพระโพธิสัตว์เสีย สัตว์อื่นก็
ไม่สามารถจะทำลายตาข่าย คือตัณหา โดยธรรมดาของตนแล้ว ทำทางแล่นออก
จากทุกข์ของตนให้ตรงได้ ฉันใด โลกนี้ก็ฉันนั้น ถูกตาข่ายคือตัณหาหุ้มรัดไว้
ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต วัฏสงสารไปได้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อปาโย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน
เปตติวิสัยและอสุรกาย. แม้ทั้งหมดเหล่านั้นท่านเรียกว่า อบาย เพราะไม่มี
ความเจริญ กล่าวคือ ความงอกงาม. อนึ่ง ชื่อว่าทุคติเพราะความเป็นทาง
ไปแห่งทุกข์. ชื่อวินิบาต เพราะตกไปจากกายที่เป็นสุข. ส่วนนอกนี้ มีอธิบายว่า
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็น
ไปอยู่ไม่ขาดอาทิผิด อักขระสาย ท่านเรียกว่า สงสาร.
โลกไม่ล่วงไม่พ้นทั้งหมดนั้น โดยที่แท้โลกถือเอาจุติและปฏิสนธิ
บ่อย ๆ อย่างนี้ คือ ต่อจากจุติถือเอาปฏิสนธิ ต่อจากปฏิสนธิถือเอาจุติ ย่อมหมุน
เวียนไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ดุจเรือถูก
ลมซัดไปในมหาสมุทร ดุจโคที่เทียมยนต์.
บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายใน.
บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้เป็นฉัฏฐีอาทิผิด สระวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า
พาหริสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายนอก. บทว่า อสฺมีติ-
ภิกฺขเว สติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การรวมถือเอาด้วยอำนาจตัณหา
มานะทิฏฐิ อาศัยขันธบัญจกภายในนี้ใด ย่อมมีความนึกว่าเราเป็นย่อมมี คือ
ความนึกในขันธบัญจกนั้น. ก็ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๓๐/๑๔

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ยักษ์นั้นจึงกล่าวว่า ร้อน ร้อน
แล้วได้จมลงในมหานรกนั้นนั่นเอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวฏฺาสิ แปลว่า ได้ตกไปแล้ว. ถามว่า
ก็ยักษ์นั้นตกนรก ด้วยทั้งอัตภาพยักษ์นั่นแหละหรือ ? ตอบว่า ไม่ตก.
ก็ในที่นี้ เพราะพลังแห่งบาปกรรมซึ่งอำนวยผลในปัจจุบัน ยักษ์จึงเสวย
ทุกข์มหันต์ในอัตภาพเป็นยักษ์. อนึ่ง เพราะอุปปัชชเวทนียกรรมอันเป็น
อนันตริยกรรม ยักษ์จึงเกิดในนรกถัดจากจุติ แต่ร่างกายของพระเถระ
ที่ถูกพลังแห่งสมาบัติสนับสนุน จึงไม่มีวิการอะไรเลย. ความจริง ยักษ์
ประหารท่าน ในเวลาที่ท่านยังไม่ออกจากสมาบัติ. ท่านพระมหาโมคคัล-
ลานะเห็นยักษ์นั้น ประหารอยู่อย่างนั้น ด้วยทิพยจักษุ จึงเข้าไปหา
พระธรรมเสนาบดี. และพร้อมกับเวลาที่เข้าไปหานั่นแหละ พระธรรม-
เสนาบดีก็ออกจากสมาบัติ. ในลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะ จึงถาม
ถึงความดูแคลนนั้นกะท่านพระธรรมเสนาบดี. ฝ่ายพระธรรมเสนาบดี
ก็ได้พยากรณ์แก่ท่าน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอาทิผิด อักขระว่า ท่านพระมหา-
โมคคัลลานะได้เห็นแล้วแล ฯ ล ฯ ก็แต่ว่าศีรษะของผมมีทุกข์นิด
หน่อย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โถกํ ทุกฺขํ ความว่า ศีรษะของผม
เป็นทุกข์ คือได้รับความทุกข์นิดหน่อย คือมีประมาณน้อยนิดคล้าย
หยดเทียน จริงอยู่ ศีรษะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ท่านเรียกว่า มีทุกข์
บาลีว่า สีเส โถกํ ทุกฺขํ เป็นทุกข์นิดหน่อยที่ศีรษะ ดังนี้ก็มี. ถามว่า
ก็เมื่อสรีระถูกพลังแห่งสมาบัติสนับสนุน ศีรษะของพระเถระเป็นทุกข์
น้อยหนึ่งอย่างไร ? ตอบว่า เพราะท่านออกจากสมาบัติไม่นานเลย. จริงอยู่
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๐/๖๔๒/๑๖

นั่นแหละ อันธรรม คือ จตุตถฌานอุปถัมภ์แล้ว ชื่อว่าเป็น ทิพพจักขุ
ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามปรวาทีว่า มังสจักขุ อัน-
ธรรมอุปถัมภ์แล้วเป็นทิพพจักขุหรือ คำตอบรับรองเป็นของ
ปรวาที. ก็ถูกถามอีกว่า มังสจักขุก็คือทิพพจักขุ ทิพพจักขุก็คือ
มังสจักขุหรือ ปรวาทีปฏิเสธว่า มังสจักขุนั้นก็เป็นเพียงมังสจักษุ
นั้นเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น. แม้ในคำถามทั้งหลายว่า มังสจักขุ
เป็นเช่นใด เป็นต้น ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความที่จักษุทั้ง ๒
นั้น ไม่มีสภาพอย่างเดียวกัน. แม้ในปัญหามีคำว่า วิสัย เป็นต้น
ความว่า รูปายตนะนั่นแหละเป็นวิสัยแห่งจักษุแม้ทั้ง ๒. อธิบายว่า
ก็มังสจักขุย่อมเห็นรูปอันมาสู่คลองแห่งจักษุเท่านั้น ส่วนทิพพจักขุนี้
ย่อมเห็นรูปอันไม่มาสู่คลองแห่งจักษุได้ แม้รูปนั้นจะมีภูเขากั้นไว้
เป็นต้น. อนึ่ง รูปแม้ละเอียดยิ่งนัก ก็เป็นโคจรคืออารมณ์ของทิพพจักขุ
ได้ แต่รูปเช่นนี้เป็นอารมณ์ของมังสจักขุไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น
อานุภาพ คือ อำนาจ และโคจร คือ อารมณ์ แห่งจักษุทั้ง ๒
นี้ จึงไม่เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้. ถูกถามว่า เป็นอุปาทินนะ
คือเป็นกัมมชรูป แล้วเป็นอนุปาทินนะอาทิผิด สระ คือมิใช่กัมมชรูป
หรือ ปรวาทีนั้น ย่อมปรารถนาว่า มังสจักขุเป็นอุปาทินนะ ส่วน
ทิพพจักขุเป็นอนุปาทินนะ ทั้งมังสจักขุนั้นและก็ไม่เป็นทิพพจักขุอาทิผิด เพราะ-
ฉะนั้นจึงตอบปฏิเสธ. ถูกถามครั้งที่ ๒ ปรารถนา ทิพพจักขุย่อมเกิด
ขึ้นเพราะอาศัยมังสจักขุเป็นปัจจัย เพราะอาศัยพระบาลีว่า ความ
เกิดขึ้นแห่งมังสจักขุเป็นทางแห่งทิพพจักขุ ดังนี้ ทั้งมังสจักขุนั้นก็
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๓/๕๐๓/๖

[๔๓๕] ๑๘๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็น
อกุศล... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นกุศล... ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีโทษ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้ไม่มีโทษ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็น
กำไร... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็นกำไร... ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายอาทิผิด อักขระ ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็นวิบาก... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็นวิบาก... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้
ไม่มีความเบียดเบียน ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑
ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑...
ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑...
หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ไม่มี
ความเบียดเบียน.
[๔๓๖] ๑๙๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
๒ อย่างนี้ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อำนาจประโยชน์
๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่ง
สงฆ์ ๑.... เพื่อความข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีล
เป็นที่รัก ๑.... เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน อาทิผิด เพื่อกำจัด
อาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันเวรอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันโทษอันจักบังเกิด
ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันภัย
อันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ...
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๗/๔๖๑/๑

พระผู้มีพระภาคอาทิผิด อักขระเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะอรรถว่า ทรงละ
ตัณหาอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นองค์เดียวมิได้มีเพื่อนอย่างนี้ เป็นผู้ไม่
ประมาท บำเพ็ญเพียร มีพระหฤทัยแน่วแน่ เริ่มตั้งพระมหาปธานที่
ควงไม้โพธิพฤกษ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงกำจัดมารกับทั้งเสนาซึ่งเป็น
เผ่าพันธุ์ผู้ประมาท ทรงละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี
ซึ่งตัณหา อันมีข่ายแล่นไปเกาะเกี่ยวในอารมณ์ต่าง ๆ
บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาว
นาน ย่อมไม่ล่วงสงสาร อันมีความเป็นอย่างนี้และมี
ความเป็นอย่างอื่น ภิกษุผู้มีสติรู้โทษนี้ และตัณหาเป็น
แดนเกิดแห่งทุกข์แล้ว พึงเป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น
เว้นรอบ.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะ
อรรถว่า ทรงละตัณหาอย่างนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากราคะ
โดยส่วนเดียวอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจากราคะโดย
ส่วนเดียว เพราะทรงละราคะเสียแล้ว ชื่อว่าพระองค์เดียว เพราะปราศจาก
โทสะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโทสะเสียแล้ว ชื่อว่าพระองค์เดียว
เพราะปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว เพราะทรงละโมหะเสียแล้ว ชื่อว่า
พระองค์เดียว เพราะไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว เพราะทรงละกิเลส
ทั้งหลายเสียแล้ว.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๔๕/๑๘

ปนฺตญฺจ สยานาสนํ ได้แก่ ที่นอนและที่นั่งอันสงัด คือเว้นการติดต่อกัน
บทว่า อธิจิตฺเต จ อาโยโค ได้แก่ การประกอบภาวนา เพื่อบรรลุ
สมาบัติ ๘. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า อนุปวาโท ได้แก่ ไม่กล่าวคำว่าร้ายแม้
ต่อใคร ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์ศีล ที่เป็นไปทางวาจาแม้
ทั้งหมด. บทว่า อนุปฆาโต ได้แก่ ไม่กระทำการกระทบกระทั่งต่อใคร ๆ
คือการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์ศีลอัน
เป็นไปทางกายทั้งหมด ก็เพื่อจะทรงแสดงศีลทั้ง ๒ ที่หยั่งลงในภายใน
ศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหมด จึงตรัสว่า ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร ดังนี้
จ ศัพท์ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร ความว่า การไม่
ไปว่าร้าย และการไม่เข้าไปทำร้าย อันเป็นเหตุสำรวมในพระปาฏิโมกข์.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาฏิโมกฺเข เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถอธิ-
กรณะ. สังวรเป็นที่อาศัยในปาฏิโมกข์. ถามว่า ก็สังวรนั้นคืออะไร ?
ตอบว่า คือ การไม่เข้าไปว่าร้าย การไม่ทำร้าย. จริงอยู่ ในเวลาอุป-
สมบท เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน ปาฏิโมกขศีล เป็นอันชื่อว่าอันภิกษุ
สมาทานแล้ว. เมื่อภิกษุตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์นั้น ต่อจากนั้น สังวรย่อมมี
ด้วยอำนาจการไม่ว่าร้าย และการไม่กระทำร้าย สังวรนั้น ท่านเรียกว่า
การไม่ว่าร้ายและการไม่ทำร้าย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาฏิโมกฺเข เป็น
สัตตมีอาทิผิด อักขระวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าพึงให้สำเร็จ เหมือนคำว่าการไม่สงบแห่งใจ
มีอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุใกล้. อธิบายว่า การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย
อันปาฏิโมกข์พึงให้สำเร็จ คือการว่าร้ายและการทำร้ายสงเคราะห์เข้าใน
ปาฏิโมกขสังวรเหมือนกัน. ก็ด้วยคำว่า สํวโร จ นี้ ศัพท์แห่งสังวร ๔
เหล่านี้ คือ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วิริยสังวร ๑
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๐/๓๔๑/๔

แสดงความที่พระอริยบุคคลทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่ายด้วยการกำหนดมิใช่ฐานะและ
เพื่อแสดงความที่พระภัททาลิเถระเป็นผู้ว่ายาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบทนี้.
เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภเทศนาว่า อปิ นุ ตวํ
ตสฺมึ สมเย อุภโตภาคอาทิผิด อักขระวิมุตฺโต ในสมัยนั้นเธอเป็นพระอริยบุคคลชื่อว่า
อุภโตภาควิมุต บ้างหรือหนอ. เพื่อข่มพระภัททาลิ. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไป
นี้ว่า ดูก่อนภัททาลิ พระอริยบุคคล ๗ จำพวกเหล่านี้เป็นทักขิไณยบุคคลใน
โลกเป็นเจ้าของในศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เมื่อมีเหตุอันควรที่
พระอริยบุคคลจะพึงคัดค้าน การคัดค้านของพระอริยบุคคลเหล่านั้นจึงควร. แต่
เธอเป็นคนภายนอกจากศาสนาของเรา เมื่อเราบัญญัติสิกขาบท เธอไม่ควร
คัดค้าน. บทว่า วิตฺโต ตุจฺโฉ เธอเป็นคนว่างคนเปล่า คือ พระภัททาลิเป็น
คนว่างคนเปล่าเพราะไม่มีอริยคุณในภายใน ไม่มีอะไรๆ ในคำพูดเป็นอิสระ.
บทว่า สตฺถาปิ อุปวทติ แม้พระศาสดาก็ทรงติเตียนได้ ความว่า
ภิกษุผู้อยู่วัดโน้นเป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระรูปโน้น ภิกษุชื่อนี้เป็นอันเตวาสิก
ของพระเถระรูปโน้น เข้าไปสู่ป่าเพื่อยังโลกุตตรธรรมให้เกิด แล้วทรงติเตียน
อย่างนี้ว่าเพราะเหตุไรภิกษุไม่ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในศาสนาของเรา ด้วยการ
อยู่ป่าของภิกษุนั้น . แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. โดยที่แท้เทวดาไม่ติ-
เตียนอย่างเดียว ยังแสดงอารมณ์น่ากลัวแล้วทำให้หนีไปอีกด้วย. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ แม้ตนก็ติเตียนตน ความว่า เมื่อภิกษุนึกถึงศีล ฐานะอันเศร้าหมอง
ย่อมปรากฏ. จิตย่อมแล่นไป กรรมฐานย่อมไม่ติด. ภิกษุนั้นมีความรำคาญ
ว่าประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ป่าของภิกษุเช่นเรา ลุกหลีกไป. บทว่า อตฺตาปิ
อตฺตานํ อุปวทิโต แม้ตนเองก็ติเตียนตนได้ คือตนเองติเตียนแม้ด้วยตน.
ปาฐะเป็นอย่างนี้แหละ พึงทราบธรรมฝ่ายขาวโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๐/๖๔๘/๑๔

ยถากัมมูปคตญาณกถา
[๘๒๐] สกวาที ยถากัมมูปคตญาณ คือ ญาณเป็นเครื่องรู้
ความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรม เป็นทิพยจักษุ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์เป็นไปตามกรรมด้วย
เห็นรูปได้ด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๘๒๑] ส. ทำไว้ในใจซึ่งความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตาม
กรรมด้วย เห็นรูปด้วยทิพยจักษุด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นการประชุมแห่งผัสสะ ๒ อย่าง แห่งจิต
๒ ดวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่างอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[๘๒๒] ส. ยถากัมมูปคตญาณอาทิผิด อักขระ เป็นทิพยจักษุ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า สัตว์เหล่านี้หนอ ท่าน
ทั้งหลาย ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยกาย
ทุจริต ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบด้วยวจีทุจริต
ดังนี้ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ประกอบอาทิผิด ด้วยมโนทุจริต ดังนี้
ด้วย ทำไว้ในใจซึ่งบทว่า เป็นผู้ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ดังนี้ด้วย
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๓/๕๐๕/๑

สำราญแห่งสงฆ์ ๑... เพื่อความข่มอาทิผิด บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญ
แห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑... เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันเวรอันจักบังเกิด
ในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑... เพื่อป้องกัน
โทษอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑...
เพื่อป้องกันภัยอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิด
ในอนาคต ๑... เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑
เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่
คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของภิกษุที่มีความปรารถนาลามก ๑...
เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่
เลื่อมใสแล้ว ๑... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์
พระวินัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง
นี้แล พระตถาคตจึงทรงบัญญัติติณวัตถารกวินัยไว้แก่สาวก.
[๔๓๘] ๑๙๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่ง
ราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่าง ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑
วิปัสสนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควร
อบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะ...
เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ.... เพื่อละราคะเด็ดขาด... เพื่อความสิ้นไป
แห่งราคะ.... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ... เพื่อความสำรอกราคะ ...
เพื่อความดับสนิทแห่งราคะ.... เพื่อสละราคะ.... เพื่อปล่อยราคะเสีย จึง
ควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล.
[๔๓๙] ๑๙๓. เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง... เพื่อกำหนดรู้... เพื่อ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๖/๔๖๗/๑๔

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
[๓๙๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์ทั้งหลาย ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน โดยธาตุเทียว คือ พวกทำ
ปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำปาณาติบาต พวก
ทำอทินนาทาน ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำอทินนาทาน
พวกทำกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกทำกาเม-
สุมิจฉาจาร พวกมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
มุสาวาท พวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท.
[๓๙๔] พวกเว้นขาดจากปาณาติบาต ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมา-
คมอาทิผิด อักขระกันกับพวกเว้นขาดจากปาณาติบาต พวกเว้นขาดจากอทินนาทาน
ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจากอทินนาทาน พวกเว้น
ขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวกเว้นขาดจาก
กาเมสุมิจฉาจาร พวกเว้นขาดจากมุสาวาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกัน
กับพวกเว้นขาดจากมุสาวาท พวกเว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ย่อมคบค้ากัน ย่อมสมาคมกันกับพวก
เว้นขาดจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท.
จบปัญจสิกขาปทสูตรที่ ๓
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๓๙/๔

เปือกตม เพราะถูกช้างเหล่านั้นลงไปดื่มก่อนจึงทำให้ขุ่น. บทว่า โอคาหา
แปลว่า จากท่า. บาลีว่า โอคาหํ ดังนี้ก็มี. บทว่า อสฺส ประกอบกับ
หตฺถินาคสฺส. บทว่า อุปนิฆํสนฺติโย แปลว่า เสียดสีอยู่. พญาช้าง
นั้น แม้จะถูกพวกช้างเสียดสี ก็ไม่โกรธ เพราะความที่ตนอาทิผิด อักขระมีใจกว้างขวาง
ด้วยเหตุนั้น นางช้างเหล่านั้น จึงพากันเสียดสีพญาช้างนั่นแหละ. บท
ว่า ยูถา แปลว่า จากโขลงช้าง.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า พญาช้างนั้น
เบื่อหน่ายที่จะอยู่ในโขลง จึงเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ในที่นั้น เป็นสัตว์มีใจเย็น เหมือนเอาน้ำพันหม้อมาดับความ
ร้อน มีจิตเลื่อมใส ได้อยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ตั้งแต่นั้นมา
พญาช้างนั้น ก็ตั้งอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ เอากิ่งไม้กวาดรอบ ๆ ต้น
ภัททสาละและบรรณศาลา ให้ปราศจากของเขียว ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์
นำน้ำสำหรับสรงมาถวาย ถวายไม้สำหรับชำระพระทนต์ แต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า นำผลไม้มีรสอร่อยมาจากป่าแล้วน้อมถวายแด่พระศาสดา. พระ-
ศาสดาทรงเสวยผลไม้เหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ได้ยินว่า
ในรักขิตวันนั้น พญาช้างนั้น กระทำพื้นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ให้ปราศจากของเขียว และจัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยงวง ดังนี้เป็นต้น.
พญาช้างนั้นเอางวงขนฟืนมา สีกันและกันเข้าให้เกิดเป็นไฟ ทำ
ให้ไม้ลุกโพลง ทำก้อนหินในที่นั้นให้ร้อน เอาไม้กลิ้งก้อนหินนั้นมา
โยนลงไปในแอ่งน้ำ รู้ว่าน้ำร้อนแล้ว จึงเข้าไปในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พญาช้างปรารถนา
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๙/๓๙๖/๑๙

ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ท่านกล่าวถึงญาณ ๓ ตั้งอยู่ใน
ญาณเดียวอันแตกต่างกัน โดยประเภทของหน้าที่ สัมพันธ์กับภยตูปัฏฐานญาณใน
วิปัสสนาญาณ ๙ กล่าวคือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ
เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ) ที่ท่านกล่าวไว้แล้วคือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
(ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ) ๑ ภังคานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึง
เห็นความดับ) ๑ ภยตุปัฏฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว) ๑
อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นโทษ) ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ
(ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่าย) ๑ มุญจิตุกัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะ
พ้นไปเสีย) ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง) ๑
สังขารุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย) ๑ อนุโลมญาณ (ปรีชา
เป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ) ไม่กล่าวถึงญาณที่เหลือ.
พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงความที่สุญญตานุปัสสนาญาณร่วมกันนั้น
ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน โดยสัมพันธ์แห่งอนัตตานุปัสสนาอันเป็นลำดับ ตั้งอยู่ใน
ที่สุดแห่งในอนุปัสสนา ๓ อีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยา จ อนตฺตานุปสฺสนา
ยา จ สุญฺญตานุปสฺสนา ธรรมเหล่านี้คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุ-
ปัสสนา. เพราะญาณ ๒ เหล่านี้ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่ต่างกัน
โดยประเภทของหน้าที่. อนิจจานุปัสสนา และอนิมิตตานุปัสสนาโดยอรรถ
เป็นญาณอันเดียวกัน ทุกขานุปัสสนาและอัปปณิหิตานุปัสสนา โดยอรรถเป็น
ญาณอย่างเดียวกัน ต่างกันโดยประเภทของหน้าที่เท่านั้น เหมือนญาณอาทิผิด อักขระเหล่านี้.
เมื่อท่านกล่าวความที่อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนาตั้งอยู่เป็นอันเดียว
กัน เป็นอันท่านกล่าวถึงความที่ญาณแม้ทั้งสองเหล่านั้น ตั้งอยู่เป็นอันเดียวกัน
เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกัน.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๗/๕๑๐/๑๕

เป็นประธานของสมณะผู้ถือลัทธิอื่น ที่อาศัยอักขระคือความหมายรู้กัน (ว่าหญิง
ว่าชาย) และสัญญาอันวิปริต ทรงก้าวล่วงความมืด. ต่อจากนั้นสภิยปริพาชก
กล่าวว่า อนฺตคูสิ ปารคู ทุกฺขสฺส พระองค์เป็นผู้ถึงที่สุด ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ดังนี้ หมายถึงที่สุดและฝั่งแห่งทุกข์ในวัฏฏะคือนิพพาน เพราะไม่เกิด เพราะ
ไม่มีทุกข์และเพราะตรงกันข้ามกับทุกข์ในวัฏฏะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบ
การผูกในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง เพราะ
ถึงพระนิพพานแล้ว สภิยปริพาชกเมื่อจะกราบทูลกะพระองค์ จึงกราบทูลว่า
ปารคู อนฺตคูสิ ทุกฺขสฺส พระองค์ถึงฝั่งคือถึงที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้.
ชื่อว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะตรัสรู้โดยชอบ และตรัสรู้เอง.
บทว่า ตํ ตํ มญฺเญ สำคัญพระองค์ว่ามีอาสวะสิ้นแล้ว ความว่า อาจารย์
บางพวกกล่าว ด้วยความเคารพยิ่งว่า ตเมว มญฺญามิ น อญฺญํ ข้าพเจ้า
สำคัญพระองค์เท่านั้น ไม่สำคัญผู้อื่น. บทว่า ชุติมา มีความรุ่งเรือง คือ
ถึงพร้อมด้วยความสว่างโดยกำจัดความมืดของผู้อื่น. บทว่า มติมา มีความรู้
คือถึงพร้อมด้วยความรู้คือปัญญาสามารถรู้สิ่งที่ควรรู้ อันเป็นปัจจัยแห่ง
ความรู้อื่น ๆ. บทว่า ปหูตปญฺโญ มีพระปัญญามาก คือมีพระปัญญาหาอาทิผิด อักขระ
ที่สุดมิได้. ในบทนี้ท่านประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกรา
ทรงช่วยข้าพระองค์ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สภิยปริพาชกกราบทูลเรียกจึง
กล่าวดังนั้น. บทว่า อตาเรสิ มํ พระองค์ยังข้าพระองค์ให้ข้ามได้แล้ว คือ
ยังข้าพระองค์ให้ข้ามพ้นจากความสงสัย.
สภิยปริพาชกกล่าวถึงการกระทำความนอบน้อมด้วยกึ่งคาถาว่า ยมฺเม
ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า กงฺขิตํ พ้นความสงสัย สภิยปริพาชกกล่าว
หมายถึงความอันอาศัยปัญหา ๒๐ ข้อ เพราะสภิยปริพาชกนั้น ได้มีความ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๙๐/๕๖๙/๒

กิเลสสัมปยุตตทุกกุสลติกะ
(๗๘. กิเลสสัมปยุตตทุกะ ๑. กุสลติกะอาทิผิด สระ)
กุศลบทปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๑๖๑๕] ๑. กุศลธรรมที่เป็นกิเลสวิปปยุตตธรรม อาศัยกุศล-
ธรรมที่เป็นกิเลสวิปปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
การนับจำนวนวาระในอนุโลม
[๑๖๑๖] ในเหตุปัจจัย มี ๑ วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี ๑ วาระ
ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย มี ๑ วาระ.
สหชาตวาระก็ดี ฯลฯ ปัญหาวาระก็ดี มี ๑ วาระ ทุกปัจจัย.

อกุศลบทปฏิจจวาระ
อนุโลมนัย
๑. เหตุปัจจัย
[๑๖๑๗] ๑. อกุศลธรรมที่เป็นกิเลสสัมปยุตตธรรม อาศัย
อกุศลธรรมที่เป็นกิเลสสัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๗/๘๕๕/๗

อันหาปัจจัยมิได้ให้ประจักษ์. บทว่า ตเทว นามํ จกฺขุํ ภวิสฺสติ
ได้แก่ จักษุนั่นเอง คือปสาทจักษุ จักแตกต่างกันไปก็หามิได้.
บทว่า เต รูปา ได้แก่รูปารมณ์นั้นเอง จักมาสู่คลอง (ปสาทจักษุ).
บทว่า ตญฺจายตนํ โน ปฏิสํเวทิสฺสติ ได้แก่ บุคคลผู้ไม่มีสัญญา
จักไม่รู้รูปายตนนั้น. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อุทายี ได้แก่พระกาฬุทายิเถระ. บทว่า สญฺญเมว นุ โข
ได้แก่ เป็นผู้มีจิตหรืออาทิผิด สระหนอ. ม อักษรเป็นเพียงบทสนธิ. บทว่า
กึ สญฺญี ได้แก่ เป็นผู้มีสัญญาด้วยสัญญาชนิดไหนอาทิผิด สระ บทว่า สพฺพโส
รูปสญฺญานํ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ความว่า
ถามว่า เพราะอาทิผิด สระเหตุไร พระอานนท์จึงถือเอารูปอาทิผิด สัญญานี้ การเสวย
อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ย่อมมีแก่ท่านผู้พร้อมเพรียงด้วย
ปฐมฌานเป็นต้นหรือ. ตอบว่า ไม่มี ก็กสิณรูปยังเป็นอารมณ์อยู่
เพียงใด รูปชื่อว่า ยังไม่ล่วงไปอยู่เพียงนั้น รูปนั้นจักอาจเพื่อเป็น
ปัจจัย เพราะยังไม่ล่วงไป แต่ก็รูปนั้น เพราะยังไม่ล่วงไปจึงชื่อว่า
ไม่มี พระอานนท์ถือเอาคำนี้นั่นแลเพื่อแสดงว่า เพราะรูปไม่มี
จึงไม่อาจเป็นปัจจัยได้.
บทว่า ชฏิลคาหิยา ได้แก่ ภิกษุณีผู้อยู่ในเมืองชฏิลคหะ.
ในบทว่า น จาภิณโต เป็นต้น พึงทราบเนื้อความต่อไปนี้ สมาธิ
ชื่อว่า ข่มห้ามด้วยการชักชวนไม่ได้ เพราะไม่น้อมไปด้วยอำนาจ
ของราคะ ไม่นำออกไปด้วยอำนาจของโทสะ ข่มห้ามกิเลสทั้งหลาย
แล้วตั้งอยู่ด้วยการชักชวน ด้วยการประกอบไม่ได้ แต่เกิดขึ้นได้
ในเมื่อตัดกิเลสได้แล้ว. บทว่า วิมุตฺตตฺตา ฐิโต ได้แก่ชื่อว่าตั้ง
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖/๙๖/๑๐

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนกัสสป ผ้าบังสุกุลบังเกิดแก่เรา
ณ ที่นี้เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้น ท้าว
สักกะจอมทวยเทพทรงทราบดำริในจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว จึง
ขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ แล้วตรัสบอกแก่เราว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอ
พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงซักผ้าบังสุกุลในสระนี้ สระนี้อันผู้มิใช่อาทิผิด สระมนุษย์ได้ขุด
แล้วด้วยมือ ดูก่อนกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงขยำผ้าบังสุกุลอาทิผิด สระ ณ ที่ไหนหนอ
ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพทราบความดำริในจิตของเราด้วยพระทัยของ
พระองค์แล้ว ได้ทรงยกศิลาแผ่นใหญ่มาวางไว้ โดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงขยำผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้อันผู้มิใช่อาทิผิด สระมนุษย์ได้
ยกมาวางไว้ ดูก่อนกัสสป เรานั้นได้ดำริว่า จะพึงพาดผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนอาทิผิด สระหนอ
ครั้งนั้น เทพดาที่สิงสถิตอยู่ที่ต้นกุ่มบก ทราบความดำริในจิตของเราด้วยใจ
ของตนแล้ว จึงน้อมกิ่งกุ่มลงมาโดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มี
พระภาคเจ้าโปรดทรงพาดผ้าบังสุกุลไว้บนกิ่งกุ่มนี้ ต้นกุ่มบกนี้นั้นประหนึ่งจะ
กราบทูลว่า ขอพระองค์จงทรงนำพระหัตถ์มาแล้วน้อมลง ดูก่อนกัสสป เรา
นั้นได้ดำริว่า จะพึงผึ่งผ้าบังสุกุล ณ ที่ไหนหนอ ครั้งนั้นท้าวสักกะจอมทวยเทพ
ทรงทราบความดำริแห่งจิตของเราด้วยพระทัยของพระองค์แล้ว ได้ยกศิลาแผ่น
ใหญ่มาวางไว้ โดยทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรง
ผึ่งผ้าบังสุกุลบนศิลาแผ่นนี้ ศิลาแผ่นนี้อันผู้มิใช่อาทิผิด สระมนุษย์ได้ยกมาวางไว้.
ครั้งนั้น ชฎิลอุรุเวลกัสสปได้ดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มี
อานุภาพมากแท้ ถึงกับท้าวสักกะจอมทวยเทพได้ทำการช่วยเหลือ แต่ก็ไม่เป็น
พระอรหันต์เหมือนเราแน่.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๖๑๖/๒๑

พ้นขณะ คือก้าวล่วงขณะที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ย่อมเศร้าโศก อธิบายว่า
ย่อมเศร้าโศกอย่างนี้ว่า พวกเราเป็นผู้ไม่มีบุญ มีปัญญาทราม ดังนี้.
ท่านทั้งหลายจงพยายาม คือจงกระทำความเพียรในประโยชน์ของตน คือ
ในความเจริญของตน. อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจงทำขณะคือสมัยที่พระ-
พุทธเจ้าอุบัติขึ้นให้ถึงเฉพาะ คือให้สำเร็จ ได้แก่ถึงแล้ว.
เบื้องหน้าแต่นั้น เมื่อจะแสดงโทษของผู้ที่ไปในสงสาร โดยอุปมา
อุปไมย จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอกจฺจานญฺจ วมนํ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อม
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกยาสำรอก คือยาทำให้อาเจียนแก่
บุคคลบางพวก ยารุ คือยาถ่ายแก่บุคคลบางพวก ยาพิษร้าย คือยาพิษ
อันทำให้สลบแก่บุคคลบางพวก และยาคืออุบายสำหรับรักษาแก่บุคคลบาง
พวกโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.
บทว่า วมนํ ปฏิปนฺนานํ เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
บอกการสำรอก คือการทิ้งสงสาร ได้แก่การพ้นสงสารแก่คนผู้ปฏิบัติ
คือผู้มีความพร้อมพรั่งด้วยมรรค. เชื่อมความว่า ตรัสบอกการถ่าย คือ
การไหลออกจากสงสารแก่ผู้ตั้งอยู่ในผล. ตรัสบอกโอสถคือพระนิพพาน
แก่ผู้มีปกติได้ผล คือได้ผลแล้วดำรงชีวิตอยู่. ตรัสบอกพระสงฆ์ผู้เป็น
บุญเขต แก่ผู้แสวงหา คือผู้แสวงหามนุษย์สมบัติ เทวสมบัติ และนิพพาน
สมบัติ.
บทว่า สาสเนน วิรุทฺธานํ เชื่อมความว่า ตรัสบอกยาพิษอันร้าย
แรง คือความแตกตื่น ได้แก่บาปอกุศล แก่คนผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อพระ-
ศาสนา. บทว่าอาทิผิด อักขระ ยถา อาสีวิโส เชื่อมความว่า ยาพิษอันร้ายแรงย่อมเผา
คือเผาลนนระนั้น คือนระผู้ไม่มีศรัทธาทำแต่บาปนั้น ได้แก่ทำให้ซูบซีด
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๖/๒๗๖/๑๑

[๕๘๖] รูปเป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?
ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความแตก ความทำลาย ความไม่เที่ยง
ความอันตรธานแห่งรูป อันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นรูปอนิจจตา.
รูปไม่เป็นรูปอนิจจตา นั้น เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นรูป
อนิจจตา.
[๕๘๗] รูปเป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?
ข้าวสุก ขนมสด ขนมอาทิผิด อักขระแห้ง ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เนยใส
เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย หรือรูปแท้อื่นใด มีอยู่ อันเป็นของใส่ปาก
ขบเคี้ยว กลืนกิน อิ่มท้อง ของสัตว์นั้น ๆ ในชนบทใด ๆ สัตว์ทั้งหลาย
เลี้ยงชีวิตโดยโอชาอาทิผิด อักขระอันใด รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นกพฬิงการาหาร.
รูปไม่เป็นกพฬิงการาหาร นั้น เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ รูปอนิจจตา รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปไม่เป็นกพฬิง-
การาหาร.
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ ๒ อย่างนี้.
ทุกนิเทส จบ

ติกนิเทศ
[๕๘๘] รูปภายในเป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายในเป็นอุปาทา.
รูปภายนอกที่เป็นอุปาทา นั้น เป็นไฉน ?
รูปายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปภายนอกที่เป็น
อุปาทา.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์