วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๘/๔๓๐/๙

คำว่า อุปกิเลเส ได้แก่ อุปกิเลส. จริงอยู่ อุปกิเลสเหล่านั้นเข้า
ถึงจิตแล้ว จักยังจิตนั้นให้เศร้าหมอง ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
อุปกิเลเส ดังนี้.
คำว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ (แปลว่า ทำปัญญาให้ทราม) ได้แก่
เพราะนิวรณ์ ๕ เหล่านั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันเกิดขึ้นแห่งปัญญา
อันเป็นโลกิยะและปัญญาอันเป็นโลกุตตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น ทั้งเข้าไปตัดซึ่งสมาบัติ
๘ อภิญญา ๕ อันเกิดขึ้นแล้วให้ตกไป ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
ว่า อุปกิเลสเหล่านี้ ทำปัญญาให้ทราม ดังนี้. แม้คำว่า อนุปฺปนฺนา
เจว ปญฺญา น อุปฺปชฺชติ อุปฺปนฺนาอาทิผิด จ ปญฺญา นิรุชฺฌติ นี้ (แปลว่า
ปัญญาอันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และปัญญาอันเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป)
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาเนื้อความที่กล่าวแล้วนี้เหมือนกัน. คำทั้ง
ปวงที่เหลือในที่นี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น เพราะมีอรรถดังเช่นที่ข้าพเจ้าประกาศ
แล้วในหนหลัง ในที่นั้น ๆ แล.
คำใดที่ข้าพเจ้าพึงกล่าวในนิทเทสทั้งหลาย แม้มีคำ วิวิจฺเจว กาเมหิ
(แปลว่า สงัดจากกามทั้งหลาย) เป็นต้น คำนั้น ข้าพเจ้าก็กล่าวแล้วในรูปาวจร
นิทเทสในจิตตุปปาทกัณฑ์ในหนหลัง และในที่นั้น ๆ ในนิทเทสนี้. จริงอยู่
แม้ในนิทเทสแห่งทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังว่า ฌานประกอบด้วยองค์ ๓ ฌานประกอบด้วยองค์ ๒
ฉันใด ในนิทเทสนี้ มิได้ตรัสฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบความต่างกันอย่างนี้ว่า
ฌานนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงแล้ว โดยนัยมีคำว่า สัมปสาทะ
(แปลว่า ความผ่องใส) ปีติ สุข และเอกัคคตาแห่งจิต ชื่อว่า ฌาน เพราะถือ
เอาองค์ ๓ กับสัมปสาทะ เป็นต้น โดยปริยายแห่งพระบาลีว่า อชฺฌตฺตํ
สมฺปสาทํ (แปลว่า ความผ่องใสเป็นไปในภายใน) เป็นต้น.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________