วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๙/๓๙๖/๑๙

ปัญญาในความปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ท่านกล่าวถึงญาณ ๓ ตั้งอยู่ใน
ญาณเดียวอันแตกต่างกัน โดยประเภทของหน้าที่ สัมพันธ์กับภยตูปัฏฐานญาณใน
วิปัสสนาญาณ ๙ กล่าวคือ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ
เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ) ที่ท่านกล่าวไว้แล้วคือ อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ
(ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดทั้งความดับ) ๑ ภังคานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึง
เห็นความดับ) ๑ ภยตุปัฏฐานญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นสังขารเป็นของน่ากลัว) ๑
อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นโทษ) ๑ นิพพิทานุปัสสนาญาณ
(ปรีชาคำนึงถึงความเบื่อหน่าย) ๑ มุญจิตุกัมยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะ
พ้นไปเสีย) ๑ ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยพิจารณาหาทาง) ๑
สังขารุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความวางเฉยเสีย) ๑ อนุโลมญาณ (ปรีชา
เป็นไปโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ) ไม่กล่าวถึงญาณที่เหลือ.
พระสารีบุตรเถระ เพื่อแสดงความที่สุญญตานุปัสสนาญาณร่วมกันนั้น
ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน โดยสัมพันธ์แห่งอนัตตานุปัสสนาอันเป็นลำดับ ตั้งอยู่ใน
ที่สุดแห่งในอนุปัสสนา ๓ อีก จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ยา จ อนตฺตานุปสฺสนา
ยา จ สุญฺญตานุปสฺสนา ธรรมเหล่านี้คือ อนัตตานุปัสสนาและสุญญตานุ-
ปัสสนา. เพราะญาณ ๒ เหล่านี้ โดยอรรถเป็นอย่างเดียวกัน แต่ต่างกัน
โดยประเภทของหน้าที่. อนิจจานุปัสสนา และอนิมิตตานุปัสสนาโดยอรรถ
เป็นญาณอันเดียวกัน ทุกขานุปัสสนาและอัปปณิหิตานุปัสสนา โดยอรรถเป็น
ญาณอย่างเดียวกัน ต่างกันโดยประเภทของหน้าที่เท่านั้น เหมือนญาณอาทิผิด อักขระเหล่านี้.
เมื่อท่านกล่าวความที่อนัตตานุปัสสนา และสุญญตานุปัสสนาตั้งอยู่เป็นอันเดียว
กัน เป็นอันท่านกล่าวถึงความที่ญาณแม้ทั้งสองเหล่านั้น ตั้งอยู่เป็นอันเดียวกัน
เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกัน.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________