วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๑๗/๔๙๘/๖

เป็นพหุพจน์ด้วยอำนาจแห่งฌาน. มีคำอธิบายว่า เอเต โยค ปฐมชฺฌาน-
ธมฺมา (แปลว่า ธรรมคือปฐมฌานเหล่านั้น) อีกอย่างหนึ่ง (เป็น
พหุพจน์) ด้วยอำนาจแห่งสมาบัติ. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียว
แต่เป็นไปโดยการเข้าบ่อย ๆ ก็ถึงความเป็นของมากได้. อีกอย่างหนึ่ง
เป็นพหุพจน์ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์. อธิบายว่า ปฐมฌานแม้ฌานเดียว
ก็ถึงความเป็นของมากได้โดยการเป็นไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีปฐวีอาทิผิด อักขระกสิณ
เป็นต้น. ในทุติยฌาน, ตติยฌาน และจตุตถฌาน ก็นัยนี้.
แต่ในอรูปฌานทั้งหลาย (คำว่าเหล่านั้น) พึงทราบว่าเป็นพหุพจน์
ด้วยอำนาจแห่งเหตุทั้ง ๒ ในฌานก่อน (จตุตถฌาน) นั่นเอง เพราะ
ไม่มีความต่างกันแห่งอารมณ์. ก็เพราะเหตุที่ทั้งองค์ทั้งอารมณ์ของอรูปฌาน
เหล่านั้น สงบ อธิบายว่า ทั้งดับสนิททั้งละเอียด เพราะฉะนั้น ทั้งองค์
ทั้งอารมณ์เหล่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ฌานธรรม
เหล่านั้นเป็นธรรมอันสงบ เป็นธรรมเครื่องอยู่ (สันตวิหารธรรม).
นี้เป็นการขยายความทั่วไปของอรูปฌานทั้ง ๔ เหล่านั้นก่อน. ส่วนการ
ขยายความพิเศษควรกล่าว (อธิบาย) ตามทำนองบทเป็นต้นว่า เพราะ
ล่วงเลยรูปสัญญาไปโดยประการทั้งปวง. การขยายความนั้นได้กล่าว
(อธิบาย) ไว้ทุกอย่างในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วแล.
๑๐๓) เพราะเหตุที่วิหารธรรมคือฌาน ของภิกษุผู้มีอธิมานะ
ไม่เป็นสัลเลขวิหารธรรม เพราะไม่เป็นบาทของวิปัสสนา ด้วยว่า เธอ
เข้าฌาน ครั้นออกจากฌานแล้ว หาได้พิจารณาสังขารทั้งหลายไม่ แต่
ทิฏฐธรรมสุขวิหารธรรมของเธอเป็น (เพียง) ทำให้จิตเป็นเอกัคคตาอาทิผิด สระ
อย่างนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________