วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๗/๕๑๐/๑๕

เป็นประธานของสมณะผู้ถือลัทธิอื่น ที่อาศัยอักขระคือความหมายรู้กัน (ว่าหญิง
ว่าชาย) และสัญญาอันวิปริต ทรงก้าวล่วงความมืด. ต่อจากนั้นสภิยปริพาชก
กล่าวว่า อนฺตคูสิ ปารคู ทุกฺขสฺส พระองค์เป็นผู้ถึงที่สุด ถึงฝั่งแห่งทุกข์
ดังนี้ หมายถึงที่สุดและฝั่งแห่งทุกข์ในวัฏฏะคือนิพพาน เพราะไม่เกิด เพราะ
ไม่มีทุกข์และเพราะตรงกันข้ามกับทุกข์ในวัฏฏะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ควรทราบ
การผูกในประโยคนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า เป็นผู้ถึงฝั่ง เพราะ
ถึงพระนิพพานแล้ว สภิยปริพาชกเมื่อจะกราบทูลกะพระองค์ จึงกราบทูลว่า
ปารคู อนฺตคูสิ ทุกฺขสฺส พระองค์ถึงฝั่งคือถึงที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้.
ชื่อว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ เพราะตรัสรู้โดยชอบ และตรัสรู้เอง.
บทว่า ตํ ตํ มญฺเญ สำคัญพระองค์ว่ามีอาสวะสิ้นแล้ว ความว่า อาจารย์
บางพวกกล่าว ด้วยความเคารพยิ่งว่า ตเมว มญฺญามิ น อญฺญํ ข้าพเจ้า
สำคัญพระองค์เท่านั้น ไม่สำคัญผู้อื่น. บทว่า ชุติมา มีความรุ่งเรือง คือ
ถึงพร้อมด้วยความสว่างโดยกำจัดความมืดของผู้อื่น. บทว่า มติมา มีความรู้
คือถึงพร้อมด้วยความรู้คือปัญญาสามารถรู้สิ่งที่ควรรู้ อันเป็นปัจจัยแห่ง
ความรู้อื่น ๆ. บทว่า ปหูตปญฺโญ มีพระปัญญามาก คือมีพระปัญญาหาอาทิผิด อักขระ
ที่สุดมิได้. ในบทนี้ท่านประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณ. บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกรา
ทรงช่วยข้าพระองค์ผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ สภิยปริพาชกกราบทูลเรียกจึง
กล่าวดังนั้น. บทว่า อตาเรสิ มํ พระองค์ยังข้าพระองค์ให้ข้ามได้แล้ว คือ
ยังข้าพระองค์ให้ข้ามพ้นจากความสงสัย.
สภิยปริพาชกกล่าวถึงการกระทำความนอบน้อมด้วยกึ่งคาถาว่า ยมฺเม
ดังนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า กงฺขิตํ พ้นความสงสัย สภิยปริพาชกกล่าว
หมายถึงความอันอาศัยปัญหา ๒๐ ข้อ เพราะสภิยปริพาชกนั้น ได้มีความ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________