วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๔๕/๑๘

ปนฺตญฺจ สยานาสนํ ได้แก่ ที่นอนและที่นั่งอันสงัด คือเว้นการติดต่อกัน
บทว่า อธิจิตฺเต จ อาโยโค ได้แก่ การประกอบภาวนา เพื่อบรรลุ
สมาบัติ ๘. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า อนุปวาโท ได้แก่ ไม่กล่าวคำว่าร้ายแม้
ต่อใคร ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์ศีล ที่เป็นไปทางวาจาแม้
ทั้งหมด. บทว่า อนุปฆาโต ได้แก่ ไม่กระทำการกระทบกระทั่งต่อใคร ๆ
คือการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์ศีลอัน
เป็นไปทางกายทั้งหมด ก็เพื่อจะทรงแสดงศีลทั้ง ๒ ที่หยั่งลงในภายใน
ศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหมด จึงตรัสว่า ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร ดังนี้
จ ศัพท์ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร ความว่า การไม่
ไปว่าร้าย และการไม่เข้าไปทำร้าย อันเป็นเหตุสำรวมในพระปาฏิโมกข์.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาฏิโมกฺเข เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถอธิ-
กรณะ. สังวรเป็นที่อาศัยในปาฏิโมกข์. ถามว่า ก็สังวรนั้นคืออะไร ?
ตอบว่า คือ การไม่เข้าไปว่าร้าย การไม่ทำร้าย. จริงอยู่ ในเวลาอุป-
สมบท เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน ปาฏิโมกขศีล เป็นอันชื่อว่าอันภิกษุ
สมาทานแล้ว. เมื่อภิกษุตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์นั้น ต่อจากนั้น สังวรย่อมมี
ด้วยอำนาจการไม่ว่าร้าย และการไม่กระทำร้าย สังวรนั้น ท่านเรียกว่า
การไม่ว่าร้ายและการไม่ทำร้าย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาฏิโมกฺเข เป็น
สัตตมีอาทิผิด อักขระวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าพึงให้สำเร็จ เหมือนคำว่าการไม่สงบแห่งใจ
มีอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุใกล้. อธิบายว่า การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย
อันปาฏิโมกข์พึงให้สำเร็จ คือการว่าร้ายและการทำร้ายสงเคราะห์เข้าใน
ปาฏิโมกขสังวรเหมือนกัน. ก็ด้วยคำว่า สํวโร จ นี้ ศัพท์แห่งสังวร ๔
เหล่านี้ คือ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วิริยสังวร ๑
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________