วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๕/๕๔๑/๑๔

บทว่า มุญฺชปพฺพชภูโต ได้แก่ เกิดเป็นดุจหญ้ามุงกระต่าย และ
หญ้าปล้อง คือ โลกเกิดเป็นเช่นนั้น. การที่จะถือเอาเชือกที่เขาทุบหญ้าเหล่านั้น ๆ
ทำแล้วตกไปในที่ไหนๆในเวลาที่มันเก่าแล้ว ก็ยากที่จะเก็บกำหนดปลายหรือ
โคนของหญ้าเหล่านั้นได้ว่า นี้ปลาย นี้โคน ดังนี้ ผู้ที่ตั้งอยู่ในความพยายาม
เฉพาะตัวจึงสามารถทำเชือกแม้นั้นให้ตรงได้ เว้นพระโพธิสัตว์เสีย สัตว์อื่นก็
ไม่สามารถจะทำลายตาข่าย คือตัณหา โดยธรรมดาของตนแล้ว ทำทางแล่นออก
จากทุกข์ของตนให้ตรงได้ ฉันใด โลกนี้ก็ฉันนั้น ถูกตาข่ายคือตัณหาหุ้มรัดไว้
ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต วัฏสงสารไปได้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อปาโย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน
เปตติวิสัยและอสุรกาย. แม้ทั้งหมดเหล่านั้นท่านเรียกว่า อบาย เพราะไม่มี
ความเจริญ กล่าวคือ ความงอกงาม. อนึ่ง ชื่อว่าทุคติเพราะความเป็นทาง
ไปแห่งทุกข์. ชื่อวินิบาต เพราะตกไปจากกายที่เป็นสุข. ส่วนนอกนี้ มีอธิบายว่า
ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็น
ไปอยู่ไม่ขาดอาทิผิด อักขระสาย ท่านเรียกว่า สงสาร.
โลกไม่ล่วงไม่พ้นทั้งหมดนั้น โดยที่แท้โลกถือเอาจุติและปฏิสนธิ
บ่อย ๆ อย่างนี้ คือ ต่อจากจุติถือเอาปฏิสนธิ ต่อจากปฏิสนธิถือเอาจุติ ย่อมหมุน
เวียนไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ดุจเรือถูก
ลมซัดไปในมหาสมุทร ดุจโคที่เทียมยนต์.
บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายใน.
บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้เป็นฉัฏฐีอาทิผิด สระวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า
พาหริสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายนอก. บทว่า อสฺมีติ-
ภิกฺขเว สติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การรวมถือเอาด้วยอำนาจตัณหา
มานะทิฏฐิ อาศัยขันธบัญจกภายในนี้ใด ย่อมมีความนึกว่าเราเป็นย่อมมี คือ
ความนึกในขันธบัญจกนั้น. ก็ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________