วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๓๙/๔

เปือกตม เพราะถูกช้างเหล่านั้นลงไปดื่มก่อนจึงทำให้ขุ่น. บทว่า โอคาหา
แปลว่า จากท่า. บาลีว่า โอคาหํ ดังนี้ก็มี. บทว่า อสฺส ประกอบกับ
หตฺถินาคสฺส. บทว่า อุปนิฆํสนฺติโย แปลว่า เสียดสีอยู่. พญาช้าง
นั้น แม้จะถูกพวกช้างเสียดสี ก็ไม่โกรธ เพราะความที่ตนอาทิผิด อักขระมีใจกว้างขวาง
ด้วยเหตุนั้น นางช้างเหล่านั้น จึงพากันเสียดสีพญาช้างนั่นแหละ. บท
ว่า ยูถา แปลว่า จากโขลงช้าง.
บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า พญาช้างนั้น
เบื่อหน่ายที่จะอยู่ในโขลง จึงเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น เห็นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ในที่นั้น เป็นสัตว์มีใจเย็น เหมือนเอาน้ำพันหม้อมาดับความ
ร้อน มีจิตเลื่อมใส ได้อยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ตั้งแต่นั้นมา
พญาช้างนั้น ก็ตั้งอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ เอากิ่งไม้กวาดรอบ ๆ ต้น
ภัททสาละและบรรณศาลา ให้ปราศจากของเขียว ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์
นำน้ำสำหรับสรงมาถวาย ถวายไม้สำหรับชำระพระทนต์ แต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า นำผลไม้มีรสอร่อยมาจากป่าแล้วน้อมถวายแด่พระศาสดา. พระ-
ศาสดาทรงเสวยผลไม้เหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ได้ยินว่า
ในรักขิตวันนั้น พญาช้างนั้น กระทำพื้นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
อยู่ให้ปราศจากของเขียว และจัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยงวง ดังนี้เป็นต้น.
พญาช้างนั้นเอางวงขนฟืนมา สีกันและกันเข้าให้เกิดเป็นไฟ ทำ
ให้ไม้ลุกโพลง ทำก้อนหินในที่นั้นให้ร้อน เอาไม้กลิ้งก้อนหินนั้นมา
โยนลงไปในแอ่งน้ำ รู้ว่าน้ำร้อนแล้ว จึงเข้าไปในสำนักของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พญาช้างปรารถนา
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________