วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๕/๕๔๖/๑๙

เพราะความรัก.. . แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ . . . แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ
เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาล
ยอดด้วน ทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนี้เราเรียกว่า
ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตนหรือเห็น
ตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีสัญญา เห็นสัญญา
ในตน หรือเห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน
เห็นตนว่ามีสังขาร เห็นสังขารในตน หรือเห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนใน
วิญญาณ ภิกษุ ชื่อว่า ยึดถือ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือ
ไม่เห็นตนในรูป ไม่เห็นเวทนา... ไม่เห็นสัญญา... ไม่เห็นสังขาร... ไม่เห็น
วิญญาณโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน
หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ ภิกษุ ชื่อว่า ไม่ยึดถือ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมโต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ย่อมด่าตอบผู้ด่าตน ย่อมโกรธตอบผู้โกรธตน ย่อมโต้เถียงตอบผู้โต้เถียง
ตนอาทิผิด อักขระ ภิกษุ ชื่ออาทิผิด อาณัติกะว่า ย่อมโต้ตอบ อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่โต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ย่อมไม่ด่าตอบอาทิผิด ผู้ด่าตนอาทิผิด อักขระ ย่อมไม่โกรธตอบผู้โกรธตนอาทิผิด อักขระ ย่อมไม่โต้เถียงตอบ
ผู้โต้เถียงตน ภิกษุ ชื่อว่า ไม่โต้ตอบ อย่างนี้แล.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๘/๔๕๑/๓

เมื่อสัตว์เหล่านั้นสำคัญอยู่อย่างนี้ จักษุเป็นต้นเหล่านั้น ย่อม
เป็นปิยรูปและสาตรูป. เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัณหาที่ยังไม่เกิดในปิยรูป
และสาตรูปอาทิผิด อักขระนั้น ย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้น, และที่เกิดแล้วย่อมตั้งอยู่
ด้วยการเป็นไปบ่อย ๆ. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า จักษุเป็น
ปิยรูปสาตรูปในโลก, ตัณหานี้เมื่อเกิดย่อมเกิดในสิ่งนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชมานา ความว่า เมื่อใดปิยรูป
สาตรูปเกิด, เมื่อนั้นตัณหาย่อมเกิดในสิ่งนี้.
จบ อรรถกถาสมุทยสัจนิทเทส
นิโรธสัจนิทเทส
[๘๔]ในจตุราริยสัจนั้น ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน การ
ดับตัณหานั้นด้วยความคลายกำหนัดโดยไม่เหลือ ความสละ ความสละ
คืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อละย่อมละ
ได้ที่ไหน เมื่อดับย่อมดับได้ที่ไหน สิ่งใดเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหา
นี้เมื่อละก็ละได้ในสิ่งนั้น เมื่อดับก็ดับได้ในสิ่งนั้น จักษุเป็นที่รักที่ยินดี
ในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้ที่จักษุนั้น เมื่อดับย่อมดับได้ที่จักษุนั้น
โสตะ ฯลฯ ธรรมวิจารเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ตัณหานี้เมื่อละย่อมละได้
ที่ธรรมวิจารนั้น เมื่อดับก็ดับได้ที่ธรรมวิจารนั้น นี้ท่านกล่าวว่า ทุกข-
นิโรธอริยสัจ.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๒/๔๑๒/๑๒

หญิงเหล่านี้เป็นคนหยาบคาย เป็นเครื่องผูกมัด เป็น
บ่วง เป็นถ้ำ ที่อยู่ของมัจจุราช บุรุษใดพึงหลงระเริงใจ
ในหญิงเหล่านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็นคนเลวทรามในหมู่
นระ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺโต คือเป็นผู้ยิ่งใหญ่. บทว่า
โลกสฺส คือแก่โลกของหมู่หงส์. บทว่า อปฺปเมยฺโย ได้แก่ ใคร ๆ ไม่
พึงอาจจะประมาณด้วยคุณทั้งหลายได้. บทว่า มหาคณี ได้แก่ เป็นครูของ
คณะอันประกอบแล้วด้วยคณะใหญ่. บทว่า เอกิตฺถึ ความว่า ท่านผู้เจริญ
เห็นปานนี้ พึงตามเศร้าโศกถึงหญิงคนเดียว ความตามเศร้าโศกนี้ ประหนึ่ง
มิใช่ของผู้มีปัญญาเลย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมีความสำคัญพระองค์ว่า
เป็นผู้โง่เขลาในวันนี้เอง. บทว่า อาเทติ คือย่อมถือเอา. บทว่า เฉกปาปกํ
คือทั้งอาทิผิด ดีทั้งชั่ว. บทว่า อามกปกฺกํ คือดิบด้วยสุกด้วย. บทว่า โลโล คือ
โลภในรส. มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาว่าลมย่อมพัดสระ-
ดอกปทุมเป็นต้น ซึ่งมีกลิ่นหอม และพัดสถานที่อันเต็มไปด้วยกองหยาก
เยื่ออาทิผิด อักขระเป็นต้นซึ่งมีกลิ่นเหม็น ย่อมพัดเอากลิ่นทั้งหอมทั้งเหม็นทั้งสองอย่างด้วย
ประการฉะนี้ฉันใด อนึ่ง เด็กเล็ก ๆ นั่งอยู่ใต้ต้นมะม่วงและต้นหว้าทั้งหลาย
เอื้อมมือออกไปเก็บผลทั้งที่ยังดิบและสุก ซึ่งหล่นลงมาแล้วเคี้ยวกินฉันใด อนึ่ง
คนตาบอดผู้โลภในรสอาหาร เมื่อเขายกภัตรเข้ามาให้ ย่อมถือเอาอาหารทั้งที่
มีแมลงและไม่มีแมลงทุกอย่างฉันใด ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย ย่อมถือเอา คือ
ย่อมคบแม้คนตาบอด คนเข็ญใจ คนมีตระกูลสูง คนไม่มีตระกูล คนรูปสวย
คนรูปชั่ว ทั้งหมด ด้วยอำนาจกิเลสฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่มหาราช พระองค์
มาบ่นรำพันเพราะเหตุแห่งหญิงทั้งหลาย ผู้มีธรรมอันลามกเช่นกับลมและเด็ก
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๑/๔๗๖/๒

วรรคที่ ๑๖
นิคคหกถาอาทิผิด สระ
[๑๖๓๙] สกวาที บุคคลอื่น ข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า จิตของบุคคลอื่นอย่ากำหนัด อย่า
ประทุษร้าย อย่าหลง อย่าเศร้าหมอง ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า ผัสสะที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่น
อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลอื่นข่มได้ว่า เวทนาที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ สัญญา
ที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เจตนาที่เกิดขึ้นแล้ว จิตที่เกิดขึ้นแล้ว ศรัทธาที่เกิดแล้ว
วิริยะที่เกิดขึ้นแล้ว สติที่เกิดขึ้นแล้ว สมาธิที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ ปัญญาที่เกิด
ขึ้นแล้วแก่บุคคลอื่น อย่าดับไปเลย ดังนี้ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๖๔๐] ส. บุคคลอื่นข่มจิตของบุคคลอื่นได้ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลอื่นละราคะ ละโทสะ ฯลฯ ละอโนตตัปปะ เพื่อ
ประโยชน์แก่บุคคลอื่นได้ หรือ ?
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๑/๑๔๒/๑๙

พวกท่านจึงเบื่อหน่าย, พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! พวกอาตมภาพได้เฝ้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นเวลานานแล้ว สถานที่ควรทำการอภิวาท การลุกรับ
อัญชลีกรรมและสาจิกรรม ไม่มี เพราะเหตุนั้น พวกอาตมภาพจึงเบื่อหน่าย
พระราชาตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ! พระคุณเจ้า ได้พูดแล้วมิใช่หรือว่า พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว. พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ปรินิพพานแล้ว
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสรีรธาตุของพระองค์ยังอยู่. พระราชาตรัสว่า
ข้าพเจ้ารู้ ท่านผู้เจริญ ! พระคุณท่านจำนงหวังการสร้างพระสถูป แล้วตรัส
ต่อไปว่า ท่านผู้เจริญ ! ข้าพเจ้าจะสร้างพระสถูป นิมนต์พระคุณท่านเลือก
พื้นที่ ในบัดนี้เถิด อนึ่ง ข้าพเจ้า จักได้พระธาตุแต่ที่ไหน ท่านผู้เจริญ !
พระเถระทูลว่า มหาบพิตร ! ทรงปรึกษากับสุมนสามเณรดูเถิด.
[สุมนสามเณรรับจัดหาพระธาตุ]
พระราชาทรงรับว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ! แล้วเข้าไปหาสุมนสามเณร
ตรัสถามว่า ท่านขอรับ ! เดี๋ยวนี้ พวกเราจักได้พระธาตุจากไหน ? สุมนสามเณร
ทูลว่า ทรงขวนขวายน้อยเถิด มหาบพิตร ! ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้า ฯ ให้ชำระถนนหนทาง ให้ประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับมีธงชัย
ธงประดาก และหม้อน้ำเต็มเป็นต้น แล้วพร้อมด้วยชนบริวารสมาทานองค์
อุโบสถ ให้พวกพนักงานตาลาวจรดนตรี ทั้งปวงประชุมกัน รับสั่งให้ตกแต่ง
ช้างมงคลประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง และให้ยกเศวตฉัตรขึ้น
เบื้องบนช้างมงคลอาทิผิด อักขระนั้นเสร็จแล้ว เวลาเย็น ขอให้ทรงพระกรุณาเสด็จบ่ายพระ-
พักตร์มุ่งตรงไปยังอุทยานมหานาควัน พระองค์จักทรงได้พระธาตุในที่นั้น
แน่นอน. พระราชาทรงรับว่า สาธุ. พระเถระทั้งหลาย ก็ได้ไปยังเจติยคิรี-
บรรพตนั่นแล.
พนักงานประโคมดนตรี หรือละครรำเท้า.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๑/๒๘๒/๒

บทว่า ปารคู สพฺพธมฺมานํ ความว่า ผู้ถึงฝั่งด้วยความรู้ยิ่งซึ่งโลกิยธรรม
และโลกุตรอาทิผิด อักขระธรรมทั้งปวง อธิบายว่า รู้ยิ่งซึ่งสรรพธรรมอยู่. อีกนัยหนึ่ง
บทว่า ปารคู ท่านกล่าวอรรถไว้ดังนี้ว่า ผู้ถึงฝั่งการกำหนดรู้ขันธ์ ๕ ผู้ถึงฝั่ง
ด้วยการละกิเลสทั้งปวง ผู้ถึงฝั่งด้วยภาวนา ซึ่งมรรค ๔ ผู้ถึงฝั่งด้วยการกระทำ
ให้แจ้งซึ่งนิโรธ ผู้ถึงฝั่งด้วยการถึงพร้อมซึ่งสมาบัติทั้งปวง ด้วยคำเพียงเท่านี้.
ท่านกล่าวการถึงฝั่งด้วยอภิญญา ด้วยคำว่า ธรรมทั้งปวง อีกแล. บทว่า
พุทฺโธ ตาที ปวุจฺจติ ความว่า ผู้เช่นนั้น คือผู้ถึงฝั่งด้วยอาการ ๖ ท่าน
เรียกว่า พระพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ซึ่งสัจจธรรมทั้ง ๔ โดยอาการ
ทั้งปวง.
ก็ปัญหาย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวิสัชนาแล้วด้วยพระ
ดำรัสเพียงเท่านี้หรือ. ถูกแล้ว เป็นอันวิสัชนาเสร็จทุกข้อ. คือทรงวิสัชนา
ปัญหาข้อที่หนึ่ง เพราะเป็นผู้มีบาปอันลอยเสียแล้ว ชื่อว่า พราหมณ์ ด้วย
พระดำรัสว่า มุนีนั้นรู้จิตอันบริสุทธิ์ อันพ้นแล้วจากราคะทั้งหลายดังนี้.
ด้วยพระดำรัสว่า ถึงฝั่ง ชื่อว่าถึงเวท เพราะจบเวทแล้ว นี้ย่อมเป็นอัน
วิสัชนาปัญหาข้อที่สอง. ด้วยบทเป็นต้นว่า ปุพฺเพนิวาสํ ชื่อว่า ผู้มีวิชชาสาม
เพราะมีวิชชาสามเหล่านี้ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่สาม. ด้วยพระ
ดำรัสนี้ว่า พ้นจากราคะทั้งหลายโดยประการทั้งปวง นี้ชื่อว่า ผู้มีความสวัสดี
เพราะสลัดบาปธรรมออกได้ ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่สี่. อนึ่ง ด้วย
พระดำรัสนี้ว่า บรรลุถึงความสิ้นชาติ นี้ชื่อว่า ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหา
ข้อที่ห้า เพราะตรัสถึงพระอรหัตต์นั่นเทียว. ย่อมเป็นอันวิสัชนาปัญหาข้อที่
หก ด้วยพระดำรัสเหล่านี้คือว่า เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว และว่า ชื่อว่าผู้มีคุณครบ
ถ้วนแห่งพรหมจรรย์. ด้วยพระดำรัสนี้ว่า ผู้นั้นชื่อว่า มุนี ผู้ยิ่งถึงที่สุดแล้ว
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๑/๓๑๒/๑๕

คลอง ๑ เพราะทนต่อความย่ำยีได้อย่างวิเศษ ๑ เพราะฟังอยู่ก็เป็นสุข ๑
เพราะใคร่ครวญอยู่ก็มีประโยชน์ ๑ ดังนี้.
[เวรัญชพราหมณ์ชมเชยพระธรรมเทศนาด้วยอุปมา ๔ อย่าง]
แม้เบื้องหน้าแต่นั้นไป เวรัญชพราหมณ์ ย่อมชมเชยเทศนานั่นแล
ด้วยอุปมา ๔ ข้อ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิตํ คือ ภาชนะที่เขาวางคว่ำ
ปากไว้ หรือมีที่ปากอยู่ภายใต้.
บทว่า อุกฺกุชฺเชยย คือ พึงหงายปากขึ้น.
บทว่า ปฏิจฺฉนฺนํ คือ ที่เขาปิดไว้ด้วยวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น.
บทว่า วิวเรยฺย คือ พึงเปิดขึ้น
บทว่า มูฬฺหสฺส คือ คนหลงทิศ.
สองบทว่า มคฺคํ อาจิกฺเขยฺย ความว่า พึงจับที่มือแล้วบอกว่า
นี้ทาง.
บทว่า อนฺธกาเร ความว่า ในความมืดมีองค์ ๔ (คือ) เพราะ
วันแรม ๑๔ ค่ำอาทิผิด อาณัติกะในกาฬปักษ์ ๑ กลางคืนอาทิผิด อักขระไพรสนฑ์อาทิผิด ที่หนาทึบ (ดงทึบ) ๑
กลีบเมฆ ๑. ความหมายแห่งบทที่ยังไม่กระจ่างมีเท่านี้ก่อน :-
ส่วนการประกอบความอธิบาย มีดังต่อไปนี้ :-
(เวรัญชพราหมณ์ ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ท่านพระโคดมอาทิผิด อักขระ
ผู้เจริญ ทรงยังเราผู้เบือนหน้าหนีจากพระสัทธรรม ตกไปในอสัทธรรมแล้ว
ให้ออกจากอสัทธรรม เหมือนใคร ๆ พึงหงายภาชนะที่คว่ำขึ้นไว้ฉะนั้น ทรง
เปิดเผยพระศาสนาที่ถูกรกชัฏคือ มิจฉาทิฏฐิปกปิดไว้ ตั้งต้นแต่พระศาสนา
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๒/๔๒๑/๖

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสนฺนตฺตํ ได้แก่ ผู้มีภาวะผ่องใส คือ
ถึงความโสมนัสยินดีแล้ว. บทว่า ยทายํ ความว่า ดูก่อนเขมกะสหายที่รัก
ถ้าหากว่าสระโบกขรณีของเรานี้ เต็มไปด้วยฝูงหงส์ตั้งเก้าหมื่นหกพันตั้งอยู่ไซร้.
บทว่า กถํ รุจี มชฺฌคตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านถือเอาบ่วงเดินเข้าไป
ใกล้พญาหงส์ที่สูงสุด ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลาง และมิใช่หงส์ชั้นเล็ก ซึ่งอยู่ใน
ท่ามกลางอาทิผิด อักขระฝูงหงส์ทั้งหลายอันน่ารักน่าดู น่าพึงพอใจเหล่านั้นได้อย่างไร และ
ท่านจับเอามาได้อย่างไร.
นายเขมกะสดับถ้อยคำของพระราชานั้น จึงกราบทูลว่า
วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์
เป็นผู้ไม่ประมาท แอบอยู่ในตุ่ม คอยติดตามรอยเท้า
ของพญาหงส์นี้ ซึ่งกำลังเข้าไปยังที่ถือเอาเหยื่อ
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของพญาหงส์
นั้น ซึ่งกำลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงดักบ่วงลงในที่นั้น
ข้าพระองค์จับพญาหงส์นั้นมาได้ด้วยอุบายอย่างนี้
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทานานิ ความว่า ที่สำหรับยึดเอา
เป็นที่หากิน. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปาสโต คือ
เข้าไปใกล้. บทว่า ปทํ คือ รอยเท้าที่พญาหงส์เหยียบลงในพื้นที่สำหรับ
หากิน. บทว่า ฆฏสฺสิโต คือ อาศัยอยู่ในกรงอาทิผิด สระที่ทำคล้าย ๆ ตุ่ม บทว่า
อถสฺส ความว่า ลำดับนั้น ครั้นถึงวันที่ ๖ ข้าพระองค์ก็ได้เห็นรอยเท้าของ
พญาหงส์นี้ซึ่งเที่ยวแสวงหาที่ถือเอาอาหาร. บทว่า เอวนฺตํ อธิบายว่า นาย
พรานนั้นกราบทูลอุบายที่ตนจับพญาหงส์ทั้งหมดด้วยคำว่า ข้าพระองค์จับ
พญานกนั้นมาได้ด้วยวิธีอย่างนี้แล.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๗๔๗/๙

เสมอกัน เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน. ในวันตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้า
สมาบัติ นับได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ โกฏิ แม้ในวันปรินิพพาน พระองค์ก็ทรง
เข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด ทานเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีผลเสมอกัน เพราะ
มีการเสมอกันด้วยการเข้าสมาบัติ ด้วยประการฉะนี้. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ที่บริโภคบิณฑบาตของผู้ใด แล้วเข้า
เจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ความหลั่งไหลแห่งบุญ ความหลั่งไหล
แห่งกุศล ของผู้นั้นหาประมาณมิได้ ดังนี้เป็นต้น. ครั้นต่อมา นางสุชาดา
ได้สดับว่า ข่าวว่าเทวดานั้น ไม่ใช่รุกขเทวดา ข่าวว่า ผู้นั้นเป็นพระโพธิ-
สัตว์ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์บริโภคบิณฑบาตอาทิผิด อักขระนั้นแล้ว ตรัสรู้อนุตร-
สัมมาสัมโพธิญาณ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้น ได้ยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยบิณฑบาตนั้น สิ้น ๗ สัปดาห์. เมื่อนางสุชาดาได้ฟังคำนี้แล้ว หวน
ระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างรุนแรง. ครั้นต่อมา
เมื่อนายจุนทะสดับว่า ข่าวว่า เราได้ถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้าย ข่าวว่า
เราได้รับยอดธรรม ข่าวว่า พระศาสดาทรงเสวยบิณฑบาตของเรา แล้ว
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ที่พระองค์ทรงปรารถนาอย่างยิ่ง
ตลอดกาลนาน จึงหวนระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัส
อย่างรุนแรงแล. พึงทราบว่า บิณฑบาตทาน ๒ อย่างชื่อว่า มีผลเสมอ
กัน แม้เพราะมีการระลึกถึงเสมอกัน อย่างนี้.
บทว่า อายุสํวตฺตนิกํ แปลว่า เป็นทางให้อายุยืนนาน. บทว่า
อุปจิตํ แปลว่า สั่งสมแล้ว คือให้เกิดแล้ว. บทว่า ยสสํวตฺตนิกํ แปลว่า
เป็นทางให้มีบริวาร. บทว่า อาธิปเตยฺยสํวตฺตนิกํ แปลว่า เป็นทางแห่ง
ความเป็นผู้ประเสริฐ.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๓/๕๐๙/๑๔

๑๓. วงศ์พระปิยทัสสีพุทธเจ้าที่ ๑๓

ว่าด้วยพระประวัติของพระปิยทัสสีพุทธเจ้า

[๑๔] ต่อจากสมัยของพระสุชาตพุทธเจ้า ก็มี
พระสยัมภูพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี ผู้มีพระยศ
ใหญ่ ผู้นำโลก ผู้ที่เข้าเฝ้าได้ยาก ผู้เสมอด้วยพระ-
พุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.
พระพุทธเจ้า ผู้มีบริวารยศหาประมาณมิได้ แม้
พระองค์นั้น รุ่งโรจน์ดังดวงอาทิตย์ ทรงกำจัดความ
มืดทุกอย่างแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักร.
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า ผู้มีพระเดชอันชั่งมิได้ แม้
พระองค์นั้น ก็มีอภิสมัย ๓ ครั้ง อภิสมัยครั้งที่ ๑
ได้มีแก่สัตว์แสนโกฏิ.
ท้าวสุทัสสนเทวราช ชอบใจมิจฉาทิฏฐิ พระ-
ศาสดาเมื่อทรงบรรเทาทิฏฐิอาทิผิด สระของท้าวเธอ ก็ได้แสดง
ธรรมโปรด.
ครั้งนั้น การประชุมของชนนับไม่ได้ ก็เป็น
มหาสันนิบาต อภิสมัยครั้งที่ ๒ ก็ได้มีแก่สัตว์เก้าหมื่น
โกฏิ.
ครั้ง พระผู้เป็นสารถีอาทิผิด อักขระฝึกคน ทรงฝึกพระยาช้าง
โทณมุขะ อภิสมัยครั้งที่ ๓ ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นโกฏิ.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๖๒๑/๘

บทว่า สพฺพาสวา ปริกฺขีณา ความว่า อาสวะทั้งหมด ๔ อย่าง คือ
กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ สิ้นไปรอบแล้ว คือถึง
ความสิ้นไปโดยรอบ. อธิบายว่า บัดนี้ คือในกาลที่บรรลุพระอรหัตแล้วนี้
ภพใหม่ คือภพกล่าวคือการเกิดอีก ได้แก่การเป็น การเกิด ย่อมไม่มี.
เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยความโสมนัสอย่างยิ่ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
สฺวาคตํ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า การที่ข้าพระองค์มาในสำนัก
คือในที่ใกล้หรือในนครเดียวกันแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คือแห่ง
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดอาทิผิด สระ เป็นการมาดีแล้ว คือเป็นการมาดี เป็นการมาอย่าง
งดงามโดยแท้ คือโดยส่วนเดียว. บทว่า ติสฺโส วิชฺชา ความว่า ข้า-
พระองค์บรรลุ คือถึงพร้อม ได้แก่ทำให้ประจักษ์วิชชา คือบุพเพ-
นิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ. บทว่า กตํ พุทฺธสฺส สาสนํ
ความว่า คำสั่งสอนคือการพร่ำสอนอันพระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าพระองค์กระทำแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว ได้แก่ยัง
วัตรปฏิบัติให้บริบูรณ์ มนสิการกรรมฐานแล้วให้สำเร็จด้วยการบรรลุ
อรหัตมรรคญาณ.
บทว่า ปฏิสมฺภิทา จตสฺโส ความว่า ปัญญา ๔ ประการ มี
อัตถปฏิสัมภิทาเป็นต้น ข้าพระองค์ทำให้แจ้งแล้ว คือทำให้ประจักษ์แล้ว.
บทว่า วิโมกฺขาปิ จ อฏฺฐิเม เชื่อมความว่า วิโมกข์คืออุบายเครื่องพ้น
จากสงสาร ๘ ประการเหล่านี้ คือมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ข้าพระองค์
ทำให้แจ้งแล้ว.
บทว่า ฉฬภิญฺญา สจฺฉิกตา ความว่า อภิญญา ๖ เหล่านี้ คือ
อิทธิวิธะ แสดงฤทธิ์ได้ ทิพพโสตะ หูทิพย์ เจโตปริยะญาณ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๕/๕๔๘/๑๒

บทว่า มคฺคํ ภาเวติ ความว่า ย่อมยังอุบาย คือ เหตุ คือ การณะ
ให้เกิดขึ้น คือ ให้เจริญขึ้น. บทว่า สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทั้งหมดไม่มีเหลือ. บทว่า รูปสญฺญานํ ได้แก่
รูปาวจรฌานที่ตรัสไว้โดยมีสัญญาเป็นประธานและเป็นอารมณ์ของฌานนั้น.
จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานก็ตรัสเรียกว่า รูป เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า
ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ดังนี้ แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น ก็ตรัสว่า
รูป เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ย่อมเห็นรูปภายนอกซึ่งมีผิวพรรณดีและไม่ดี
เพราะฉะนั้น ในที่นี้ คำว่า รูปสญฺญานํ นี้ จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌาน
ตามที่กล่าวไว้โดยมีสัญญาเป็นประธาน อย่างนี้ว่า สัญญาในรูป ชื่อว่า
รูปสัญญา ดังนี้ รูปาวจรฌานที่ชื่อว่า รูปสัญญา เพราะอรรถว่า มีรูป
เป็นเครื่องหมาย อธิบายว่า รูปเป็นชื่อของฌานนั้น. อนึ่ง คำว่า รูป นี้
ก็พึงทราบว่าเป็นชื่อของอารมณ์ของฌานนั้น อันต่างด้วยรูปมีปฐวีอาทิผิด อักขระกสิณเป็นต้น.
บทว่า สมติกฺกมา (เพราะก้าวล่วง) ได้แก่ เพราะสำรอก และ
ดับสนิท. คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านอธิบายว่า พระโยคาวจรเข้าอากาสา-
นัญจายตนะอยู่ เพราะสำรอก และดับสนิท คือเหตุที่สำรอกและเหตุที่ดับสนิท
ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายคือฌาน ๑๕ โดยกุศล วิบาก และกิริยาเหล่านั้น และ
รูปสัญญาทั้งหลาย คือ อารมณ์ ๘ อย่าง ด้วยสามารถปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น
โดยอาการทั้งปวง หรือว่าโดยไม่มีส่วนเหลือ. จริงอยู่ พระโยคาวจรไม่สามารถ
เข้าอากาสานัญจายตนะนั้น โดยยังมิได้ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงใน
รูปสัญญาเหล่านั้น เพราะผู้ยังไม่คลายความยินดีในอารมณ์ก็ก้าวล่วงสัญญาไป
ไม่ได้ และเมื่อก้าวสัญญาทั้งหลายได้แล้ว อารมณ์ก็ย่อมเป็นอันก้าวล่วงไปได้
เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสถึงการก้าวล่วงอารมณ์ ตรัสแต่การก้าวล่วง
สัญญาทั้งหลายเท่านั้นไว้ในวิภังค์ อย่างนี้ว่า
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๖/๗๑๓/๑๖

๙. ทุติยสูจิสูตร

ว่าด้วยบุรุษมีขนเป็นเข็ม

[๖๔๘] ฯ ล ฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ตอบว่า เมื่อผมลง
มาจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นบุรุษมีขนเป็นเข็มลอยอยู่ในเวหาส เข็ม
เหล่านั้นของบุรุษนั้นเข้าไปศีรษะแล้วออกจากทางปาก เข้าไปในปากแล้ว
ออกทางอก เข้าไปในอกแล้วออกทางท้อง เข้าไปในท้องแล้วออกทางขา
อ่อน เข้าไปในขาอ่อนแล้วออกทางแข้ง เข้าไปในแข้งแล้วออกทางเท้า
ได้ยินว่า บุรุษนั้นส่งเสียงร้องครวญคราง ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สัตว์นี้เป็นคนส่อเสียด อยู่ในกรุงราชคฤห์นี้เอง ฯ ล ฯ.
จบทุติยสูจิสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยสูจิสูตรที่ ๙

ในเรื่องสัตว์มีขนเหมือนเข็ม เรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สูจิโก ได้แก่ผู้ทำการส่อเสียด ได้ยินว่า เขายุยงหมู่มนุษย์
ให้แตกกัน. และในราชตระกูล เขายุยงแล้วยุยงเล่าว่า ผู้นี้มีสิ่งนี้ ผู้นี้
ทำสิ่งนี้ด้วยสิ่งนี้ ให้ถึงความย่อยยับ. เพราะฉะนั้น เพื่อเสวยทุกข์เพราะทำ
ให้เขาแตกอาทิผิด อักขระกัน เพราะการยุยงโดยประการที่พวกมนุษย์ถูกยุยงแล้วแตกกัน
เขากระทำกรรมนั่นแหละให้เป็นนิมิตจึงเกิดเป็นสูจิโลมเปรต.
จบอรรถกถาทุติยอาทิผิด อักขระสูจิสูตรที่ ๙

๑. ม. สูจโก ผู้กล่าวส่อเสียด.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๔๒๔/๙

พาลฺยํ แปลว่า ซึ่งความเป็นผู้อ่อนกำลัง. บทว่า ขีณเมโธ ความว่า บุรุษ
ผู้สิ้นปัญญา ด้วยอำนาจความยินดีด้วยกิเลสบ่อย ๆ ย่อมถึงความเป็นโรคไอ
เป็นต้น. บทว่า นาติเวลํ ความว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย เสวก ไม่พึง
พูดมากเกินประมาณ ในสำนักของพระราชาทั้งหลาย. บทว่า ปตฺเต กาเล
ความว่า เมื่อถึงเวลาที่ตนจะต้องพูด. บทว่า อสํฆฏฺโฏ แปลว่า ไม่พูด
กระทบกระทั่งบุคคลอื่น. บทว่า สมฺผํ แปลว่า คำไร้ประโยชน์. บทว่า
คิรํ แปลว่า ถ้อยคำ.
ราชเสวกพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประพฤติอ่อน
น้อมต่อผู้อาทิผิด เจริญที่สุดในตระกูล สมบูรณ์ด้วยหิริโอต-
ตัปปะ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวก
พึงเป็นผู้ได้รับแนะนำดีแล้ว มีศิลปฝึกตนแล้ว เป็นผู้
ทำประโยชน์ เป็นผู้คงที่ อ่อนโยน ไม่ประมาท
สะอาดหมดจด เป็นคนขยัน ราชเสวกนั้น ควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีความประพฤติอ่อน
น้อม มีความเคารพยำเกรงในท่านผู้เจริญ เป็นผู้สงบ
เสงี่ยม มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ราชเสวกนั้นควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเว้นให้ห่างไกล ซึ่งทูตที่
ส่งมาเกี่ยวด้วยความลับ พึงดูแลแต่เจ้านายของตนไม่
ควรพูด (เรื่องลับ) ในสำนักของพระราชาอื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินีโต ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาท.
บทว่า สิปฺปวา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศิลปะที่จะพึงศึกษาในตระกูลของ
ตน. บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ผู้หมดพยศในทวารทั้ง ๖. บทว่า กตตฺโต
ได้แก่ ผู้มีตนถึงพร้อมแล้ว (ทั้งวิทยาและจริยาสมบัติ). บทว่า นิยโต ได้แก่
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๙/๕๙๙/๓

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ยังมีบุรุษเปลี้ย
คนหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในการประกอบการดีดกรวด เขาถึงความ
สำเร็จในศิลปการอาทิผิด สระดีดกรวดนั้น นั่งอยู่ที่โคนต้นไทรใกล้ประตูพระนคร
แสดงรูปช้าง ม้า มนุษย์ รถ เรือนยอด ธง และหม้อน้ำเต็มเป็นต้น
ที่ใบไทรด้วยการดีดกรวด พวกเด็กในพระนคร ให้ทรัพย์หนึ่งมาสก
และกึ่งมาสก เพื่อประโยชน์แก่การเล่นของตน ให้เขาแสดงศิลป
เหล่านั้น ตามความชอบใจ
ภายหลังวันหนึ่ง พระเจ้าพาราณสี เสด็จออกจากพระนคร
เข้าไปยังโคนต้นไทรนั้น เห็นการจำแนกรูปต่าง ๆ โดยเป็นรูปช้าง
เป็นต้น ที่แนบสนิทอยู่ที่ใบไทร จึงตรัสถามพวกมนุษย์ว่า ใครหนอ
กระทำการจำแนกรูปต่าง ๆ อย่างนี้ ที่ใบไทรเหล่านี้ พวกมนุษย์
ชี้ให้ทอดพระเนตรบุรุษเปลี้ยนั้นแล้วทูลว่า บุรุษเปลี้ยนี้กระทำ
พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษ. เปลี้ยนั้นมาแล้วตรัส
อย่างนี้ว่า แน่ะพนาย เธออาจเพื่อจะเอามูลแพะใส่ให้เต็มท้องของ
บุรุษคนหนึ่ง ผู้ที่เราชี้ให้ ผู้กล่าวอยู่กะพระราชานั้นนั่นแหละ
ได้ไหมหนอ. บุรุษเปลี้ยทูลว่า ได้พระเจ้าข้า. พระราชาจึงนำบุรุษ
เปลี้ยนั้นเข้าไปยังพระราชวังของพระองค์ ทรงเบื่อหน่ายปุโรหิต
ผู้พูดมาก จึงรับสั่งให้เรียกตัวปุโรหิตมา นั่งปรึกษากันในโอกาส
ที่สงัดกับปุโรหิตนั้น อันแวดล้อมด้วยกำแพง คือม่าน จึงรับสั่งให้
เรียกบุรุษเปลี้ยมา. บุรุษเปลี้ยถือเอามูลแพะประมาณทะนานหนึ่ง
มา รู้อาการของพระราชา นั่งบ่ายหน้าตรงปุโรหิต เมื่อปุโรหิตนั้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๒/๕๓๗/๑๓

ทุกวันนี้ดิฉันมีใจบริสุทธิ์ ปราศจากใจ
ที่ชั่วช้า มีอาสวะสิ้นไปทั้งหมด บัดนี้ภพใหม่
ไม่มีอีก
ดิฉันเผากิเลสทั้งหลายแล้ว . . . คำสอน
ของพระพุทธเจ้าดิฉันได้ทำเสร็จแล้ว.
ทราบว่า ท่านพระนฬมาลิกาภิกษุณีได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบนฬมาลิกาเถรีอปทาน

มหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทานที่ ๗ (๑๗)

บุพจริยาของพระมหาปาชาบดีโคตมีเถรี

[๑๕๗] ในกาลครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ผู้เป็นประทีปแก้วส่องโลกให้สว่างไสว
เป็นนายสารถีอาทิผิด อักขระฝึกนรชน ประทับอยู่ ณ กูฏาคาร
ศาลาป่ามหาวันใกล้พระนครเวสาลี
ครั้งนั้น พระมหาปชาบดีโคตมีอาทิผิด ภิกษุณี พระมา-
ตุจฉาของพระพิชิตมาร อยู่ในสำนักนางภิกษุณี
ในพระนครอันรื่นรมย์นั้น พร้อมด้วยพระภิกษุณี
๕๐๐ องค์ ซึ่งล้วนแต่พ้นจากกิเลสแล้ว เมื่อ
พระมหาปชาบดีโคตมีนั้นอยู่ในที่สงัด ตรึกนึกคิด
อย่างนี้ว่า
การปรินิพพานของพระพุทธเจ้าก็ดี ของ
คู่พระอัครสาวกก็ดี ของพระราหุล พระอานนท์
และพระนันทะก็ดี เราไม่ได้เห็น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๘/๔๖๐/๘

ว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาเครื่องทรงจำธรรมที่ได้
สดับมาแล้ว คือ เครื่องรู้ชัดธรรมที่ได้สดับมาแล้วนั้นว่า นี้ทุกข์ นี้
ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชื่อว่าสุตมยญาณ
ปัญญาในการทรงจำธรรมที่ได้สดับมาแล้ว ชื่อว่าสุตมยญาณอย่างนี้.
อรรถกถามรรคสัจนิทเทส
๘๕]พึงวินิจฉัยใน มรรคสัจนิทเทส ดังต่อไปนี้ บทว่า
อยเมว คือ กำหนดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมรรคอื่น. บทว่า อริโย
ชื่อว่า อริยะ เพราะไกลอาทิผิด จากกิเลสอันมาด้วยมรรคนั้น ๆ. เพราะทำ
ความเป็นพระอริยะ และเพราะทำการได้อริยผล. ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ
เพราะอรรถว่ามรรคนั้นมีองค์ ๘. มรรคนั้นดุจอาทิผิด สระเสนามีองค์ ๔, องค์
มรรคดุจดนตรีมีองค์ ๕. พ้นจากองค์แล้วมีไม่ได้.
บัดนี้ พระสารีบุตรเมื่อแสดงว่ามรรคเป็นเพียงองค์เท่านั้น พ้น
จากองค์แล้วมีไม่ได้ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ฯเปฯ สมฺมา-
สมาธิ.
ในบทเหล่านั้น สัมมาทิฏฐิ มีการเห็นชอบเป็นลักษณะ.
สัมมาสังกัปปะ มีการยกขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมาวาจา มีการกำหนด
เป็นลักษณะ. สัมมากัมมันตะ มีการให้ตั้งขึ้นเป็นลักษณะ. สัมมา-
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๕/๒๗๓/๘

ปัจจัยในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า อารุปฺเป กุสลํ เอกํ ขนฺธํ ปฏิจฺจ
(ขันธ์ ๓ อาศัยกุศลขันธ์ ๑ ในอรูปภูมิ). แม้ในสัตตกะทั้งปวงก็นัยนี้. ใน
นกัมมมูลกนัย คำว่า เหตุยา ตีณิ ในเหตุปัจจัย มี ๓ วาระ เป็นต้น
เจตนาเท่านั้นเป็นปัจจยุบบัน เพราะฉะนั้น คำว่า ๓ วาระ ท่านจึงกล่าว
หมายเอาการเกิดขึ้นเพราะอาศัย กุศล อกุศล แลอัพยากตะ. โดยนัยนี้
บัณฑิตพึงทราบการนับจำนวนวาระในอาคตสถาน (ที่มา) ว่า ๑, ๒, ๓,
๕, ๗, ๙ ส่วนการนับจำนวนอีก ๓ ว่า ๔, ๖, ๘ เหล่านี้ ไม่มีเลย.
อรรถกถาอาทิผิด สระปัจจยปัจจนียานุโลมนัย จบ
วรรณนาเนื้อความแห่งปฏิจจวาระ จบ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๑๓/๕๒๖/๙

สตรีที่เหลือเป็นเพียงบริวาร. บทว่า ปริทหามิ ความว่า เรานุ่งผ้าคู่เดียวเท่า
นั้น. ผ้าคู่ที่เหลือย่อมมีแก่บุรุษ ๑๖ แสน ๘๐ พันคนผู้ขอเที่ยวไป. บทว่า
ภุญฺชามิ แสดงว่า เราบริโภคข้าวสุกเพียงหนึ่งทะนาน โดยปัตถะเป็นประมาณ
ที่เหลือได้แก่บุรุษ ๘ แสน ๔๐ พัน ที่ขอเที่ยวไป. จริงอยู่ สำรับหนึ่ง พอ
แก่ชนสิบคน. ได้ยินว่า พระนคร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ปราสาทพันหลัง และ
กูฏาคารหนึ่งพัน เกิดขึ้นเพราะผลบุญไหลมาแห่งบรรณศาลาหลังเดียว. บัลลังก์
๘๔,๐๐๐ หลังเกิดขึ้น ด้วยผลบุญไหลมาแห่งเตียงที่ถวายเพื่อประโยชน์แก่การ
นอน. ช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก ม้า ๑,๐๐๐ ตัว รถ ๑,๐๐๐ คัน เกิดขึ้นด้วย
ผลบุญที่ไหลอาทิผิด สระมาแห่งตั่งที่ถวาย เพื่อประโยชน์แก่การนั่ง. แก้วมณี ๘๔,๐๐๐
ดวง เกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งประทีปหนึ่งดวง. สระโบกขรณี ๘๔,๐๐๐
สระ เกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งสระโบกขรณีหนึ่งสระ. สตรี ๘๔,๐๐๐ นาง
บุตร ๑,๐๐๐ คน คหบดี ๑,๐๐๐ คน เกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งการ
ถวายบริโภคภาชนะ บาตร ถลกบาตร ธมกรกอาทิผิด อักขระ ผ้ากรองน้ำ หม้อน้ำ
กรรไกร มีดตัดเล็บ เข็ม กุญแจ ไม้แคะมูลหู ผ้าเช็ดเท้า รองเท้า ร่ม และ
ไม้เท้า. แม่โคนม ๘๔,๐๐๐ ตัว เกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมาแห่งทานโครส.
ผ้า ๘๔,๐๐๐ โกฏิพับเกิดขึ้นด้วยผลบุญอันไหลมาแห่งทานผ้านุ่งผ้าห่ม. สำรับ
ใส่ พระกระยาหาร ๘๔,๐๐๐ สำรับ พึงทราบว่า เกิดขึ้นด้วยผลบุญที่ไหลมา
แห่งทานโภชนา. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงสมบัติของพระเจ้ามหาสุทัสสน
จักรพรรดิตั้งแต่ต้นโดยพิสดาร ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงสมบัตินั้นทั้งหมด
เหมือนแสดงโรงเล่นฝุ่นแก่เด็กทั้งหลาย บรรทมบนพระแท่นเป็นที่ดับขันธ
ปรินิพพานอาทิผิด อักขระแล้วตรัสว่า ดูกรอานนท์ เธอจงดู ดังนี้เป็นอาทิ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิปริณตา ความว่า ถึงซึ่งความแปรปรวน
เหมือนประทีปดับ โดยละปกติไปฉะนั้น. บทว่า เอวํ อนิจฺจาโข อานนฺท
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๑/๑๖๓/๘

บทว่า เตนหิ ความว่า เพราะเหตุที่ท่านเกิดความกรุณานั้น. บทว่า
อรยาย ชาติยา ความว่า ดูก่อนองคุลิมาล ท่านอย่าถือเอาเหตุนั้นเลย นั่น
ไม่ใช่ชาติของท่าน นั่นเป็นเวลาเมื่อเป็นคฤหัสถ์ ธรรมดาคฤหัสถ์ย่อมฆ่าสัตว์.
บ้าง ย่อมกระทำอทินนาทานเป็นต้นบ้าง. แต่บัดนี้ ชาติของท่านชื่อว่า อริยชาติ.
เพราะฉะนั้น ท่านถ้ารังเกียจจะพูดอย่างนี้ว่า ยโต อหํ ภคินิ ชาโต ไซร้
เพราะเหตุนั้นแหละ จึงทรงส่งไปแล้วด้วยพระดำรัสว่า ท่านจงกล่าวให้ต่าง
ออกไปอย่างนี้ว่า อริยาย ชาติยา ดังนี้.
คำว่า ตํ อิตฺถึ เอวํ อวจ ความว่า ธรรมดาการคลอดอาทิผิด อักขระบุตร ของหญิง
ทั้งหลาย ผู้ชายไม่ควรจะเข้าไป พระเถระกระทำอะไร จึงบอกว่า พระองคุลิมาล
เถระมาอาทิผิด อักขระกระทำสัจจกิริยาเพื่อคลอดอาทิผิด อักขระโดยสวัสดี. แต่นั้น ชนเหล่านั้นจึงกั้นม่านปูลาด
ตั่งไว้ภายนอกม่าน สำหรับพระเถระ. พระเถระนั่งบนตั่งนั้น กระทำสัจจกิริยาว่า
ยโต อหํ ภคินิ สพฺพญฺญูพุทฺธสฺส อริยาย ชาติยา ชาโต ดูก่อนน้องหญิง
จำเดิมแต่เราเกิดโดยอริยชาติแห่งพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ทารกก็ออกมาดุจน้ำ
ไหลจากธมกรกอาทิผิด อักขระ พร้อมกับกล่าวคำสัตย์นั่นเทียวอาทิผิด อาณัติกะ. ทั้งมารดาทั้งบุตรมีความ
สวัสดีแล้ว. ก็แลพระปริตรนี้ท่านกล่าวไว้ว่า นี้ชื่อว่า มหาปริต. จะไม่มี
อันตรายไร ๆ มาทำลายได้. ชนทั้งหลายได้กระทำตั่งไว้ตรงที่ที่พระเถระ
นั่งกระทำสัจจกิริยา. ชนทั้งหลายย่อมนำแม้ดิรัจฉานตัวเมียที่มีครรภ์หลงมาให้
นอนที่ตั่งนั้น. ในทันใดนั้นเอง ก็คลอดอาทิผิด อักขระออกได้โดยง่าย. ตัวใดทุรพลนำมาไม่ได้
ก็เอาน้ำล้างตั่งนั้นไปรดศีรษะ ก็คลอดอาทิผิด อักขระออกได้ในขณะนั้นทีเดียว. แม้โรคอย่าง
อื่นก็สงบไป. ได้ยินว่า พระมหาปริตรนี้มีปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์