วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๗๔๗/๙

เสมอกัน เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน. ในวันตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้า
สมาบัติ นับได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ โกฏิ แม้ในวันปรินิพพาน พระองค์ก็ทรง
เข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด ทานเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีผลเสมอกัน เพราะ
มีการเสมอกันด้วยการเข้าสมาบัติ ด้วยประการฉะนี้. สมจริงดังพระดำรัส
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ที่บริโภคบิณฑบาตของผู้ใด แล้วเข้า
เจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ความหลั่งไหลแห่งบุญ ความหลั่งไหล
แห่งกุศล ของผู้นั้นหาประมาณมิได้ ดังนี้เป็นต้น. ครั้นต่อมา นางสุชาดา
ได้สดับว่า ข่าวว่าเทวดานั้น ไม่ใช่รุกขเทวดา ข่าวว่า ผู้นั้นเป็นพระโพธิ-
สัตว์ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์บริโภคบิณฑบาตอาทิผิด อักขระนั้นแล้ว ตรัสรู้อนุตร-
สัมมาสัมโพธิญาณ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้น ได้ยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยบิณฑบาตนั้น สิ้น ๗ สัปดาห์. เมื่อนางสุชาดาได้ฟังคำนี้แล้ว หวน
ระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างรุนแรง. ครั้นต่อมา
เมื่อนายจุนทะสดับว่า ข่าวว่า เราได้ถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้าย ข่าวว่า
เราได้รับยอดธรรม ข่าวว่า พระศาสดาทรงเสวยบิณฑบาตของเรา แล้ว
ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ที่พระองค์ทรงปรารถนาอย่างยิ่ง
ตลอดกาลนาน จึงหวนระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัส
อย่างรุนแรงแล. พึงทราบว่า บิณฑบาตทาน ๒ อย่างชื่อว่า มีผลเสมอ
กัน แม้เพราะมีการระลึกถึงเสมอกัน อย่างนี้.
บทว่า อายุสํวตฺตนิกํ แปลว่า เป็นทางให้อายุยืนนาน. บทว่า
อุปจิตํ แปลว่า สั่งสมแล้ว คือให้เกิดแล้ว. บทว่า ยสสํวตฺตนิกํ แปลว่า
เป็นทางให้มีบริวาร. บทว่า อาธิปเตยฺยสํวตฺตนิกํ แปลว่า เป็นทางแห่ง
ความเป็นผู้ประเสริฐ.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________