วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๕/๕๔๘/๑๒

บทว่า มคฺคํ ภาเวติ ความว่า ย่อมยังอุบาย คือ เหตุ คือ การณะ
ให้เกิดขึ้น คือ ให้เจริญขึ้น. บทว่า สพฺพโส ได้แก่ โดยอาการทั้งปวง
อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ทั้งหมดไม่มีเหลือ. บทว่า รูปสญฺญานํ ได้แก่
รูปาวจรฌานที่ตรัสไว้โดยมีสัญญาเป็นประธานและเป็นอารมณ์ของฌานนั้น.
จริงอยู่ แม้รูปาวจรฌานก็ตรัสเรียกว่า รูป เหมือนในประโยคมีคำเป็นต้นว่า
ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย ดังนี้ แม้อารมณ์แห่งรูปาวจรฌานนั้น ก็ตรัสว่า
รูป เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ย่อมเห็นรูปภายนอกซึ่งมีผิวพรรณดีและไม่ดี
เพราะฉะนั้น ในที่นี้ คำว่า รูปสญฺญานํ นี้ จึงเป็นชื่อของรูปาวจรฌาน
ตามที่กล่าวไว้โดยมีสัญญาเป็นประธาน อย่างนี้ว่า สัญญาในรูป ชื่อว่า
รูปสัญญา ดังนี้ รูปาวจรฌานที่ชื่อว่า รูปสัญญา เพราะอรรถว่า มีรูป
เป็นเครื่องหมาย อธิบายว่า รูปเป็นชื่อของฌานนั้น. อนึ่ง คำว่า รูป นี้
ก็พึงทราบว่าเป็นชื่อของอารมณ์ของฌานนั้น อันต่างด้วยรูปมีปฐวีอาทิผิด อักขระกสิณเป็นต้น.
บทว่า สมติกฺกมา (เพราะก้าวล่วง) ได้แก่ เพราะสำรอก และ
ดับสนิท. คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ? ท่านอธิบายว่า พระโยคาวจรเข้าอากาสา-
นัญจายตนะอยู่ เพราะสำรอก และดับสนิท คือเหตุที่สำรอกและเหตุที่ดับสนิท
ซึ่งรูปสัญญาทั้งหลายคือฌาน ๑๕ โดยกุศล วิบาก และกิริยาเหล่านั้น และ
รูปสัญญาทั้งหลาย คือ อารมณ์ ๘ อย่าง ด้วยสามารถปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น
โดยอาการทั้งปวง หรือว่าโดยไม่มีส่วนเหลือ. จริงอยู่ พระโยคาวจรไม่สามารถ
เข้าอากาสานัญจายตนะนั้น โดยยังมิได้ก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงใน
รูปสัญญาเหล่านั้น เพราะผู้ยังไม่คลายความยินดีในอารมณ์ก็ก้าวล่วงสัญญาไป
ไม่ได้ และเมื่อก้าวสัญญาทั้งหลายได้แล้ว อารมณ์ก็ย่อมเป็นอันก้าวล่วงไปได้
เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ตรัสถึงการก้าวล่วงอารมณ์ ตรัสแต่การก้าวล่วง
สัญญาทั้งหลายเท่านั้นไว้ในวิภังค์ อย่างนี้ว่า
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________