วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๔๘/๑๘

ในสิกขา ๓ อันเป็นทางแห่งโมนะ กล่าวคืออรหัตมรรคญาณ. ก็คำนี้
ท่านหมายเอาปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ ผู้สำเร็จการศึกษา
ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในที่นี้ว่า แก่พระมุนีผู้
สำเร็จการศึกษาดังว่ามานี้ คือผู้ถึงความเป็นมุนี ด้วยการศึกษานี้. ก็เพราะ
ข้อนั้นนั่นแหละ ฉะนั้น อรรถแห่งบททั้ง ๓ นี้อย่างนี้ คือของท่านผู้มี
อธิจิต (จิตเป็นสมาธิขั้นฌาน) คือมรรคจิต ผลจิตเบื้องต่ำ ผู้ไม่ประมาท
ด้วยความไม่ประมาท ในการปฏิบัติอันเกี่ยวด้วยการตรัสรู้สัจจะ ๔ ชื่อว่า
ผู้เป็นมุนี เพราะประกอบด้วยมรรคญาณย่อมสมแท้. อีกอย่างหนึ่ง พึง
ทราบอรรถแห่งเหตุของบทว่า อปฺปมชฺชโต จ สิกฺขโต ว่า ชื่อว่ามีอธิจิต
เพราะเหตุแห่งความไม่ประมาท และเพราะเหตุแห่งการศึกษา. บทว่า
โสกา น ภวนฺติ ตาทิโน ความว่า ความเศร้าโศก คือความกรมเกรียมใจ
อันมีความพลัดพรากจากสิ่งที่น่าปรารถนาเป็นต้น เป็นที่ตั้ง ย่อมไม่มี
ในภายในของผู้คงที่ คือของมุนีผู้เป็นพระขีณาสพ. อีกอย่างหนึ่ง ใน
บทว่า ตาทิโน นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเศร้าโศกย่อมไม่มีแก่มุนีเห็น
ปานนี้ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งความเป็นผู้คงที่. บทว่า อุปสนฺตสฺส
ได้แก่ผู้สงบระงับ เพราะสงบกิเลสมีราคะเป็นต้นได้เด็ดขาด. บทว่า
สทา สตีมโต ได้แก่ ผู้ไม่เว้นสติตลอดกาลเป็นนิจ. ก็ในที่นี้ ด้วยบทว่า
อธิเจตโสอาทิผิด อักขระ นี้ พึงทราบว่า ท่านประสงค์เอาอธิจิตสิกขา. ด้วยบทว่า
อปฺปมชฺชโต นี้ ท่านประสงค์เอาอธิสีลสิกขา. ด้วยบทว่า มุนิโน
โมนปเถสุ สิกฺขโต นี้ ท่านประสงค์เอาอธิปัญญาสิกขา. อีกอย่างหนึ่ง
ด้วยบทว่า มุนิโน นี้ ท่านประสงค์เอาอธิปัญญาสิกขา. ด้วยบทว่า
โมนปเถสุ สิกฺขโต นี้ ท่านประสงค์เอาปฏิปทา อันเป็นส่วนเบื้องต้น
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________