วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๒/๔๒๑/๖

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสนฺนตฺตํ ได้แก่ ผู้มีภาวะผ่องใส คือ
ถึงความโสมนัสยินดีแล้ว. บทว่า ยทายํ ความว่า ดูก่อนเขมกะสหายที่รัก
ถ้าหากว่าสระโบกขรณีของเรานี้ เต็มไปด้วยฝูงหงส์ตั้งเก้าหมื่นหกพันตั้งอยู่ไซร้.
บทว่า กถํ รุจี มชฺฌคตํ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ท่านถือเอาบ่วงเดินเข้าไป
ใกล้พญาหงส์ที่สูงสุด ซึ่งมิใช่หงส์ชั้นกลาง และมิใช่หงส์ชั้นเล็ก ซึ่งอยู่ใน
ท่ามกลางอาทิผิด อักขระฝูงหงส์ทั้งหลายอันน่ารักน่าดู น่าพึงพอใจเหล่านั้นได้อย่างไร และ
ท่านจับเอามาได้อย่างไร.
นายเขมกะสดับถ้อยคำของพระราชานั้น จึงกราบทูลว่า
วันนี้เป็นราตรีที่ ๗ ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์
เป็นผู้ไม่ประมาท แอบอยู่ในตุ่ม คอยติดตามรอยเท้า
ของพญาหงส์นี้ ซึ่งกำลังเข้าไปยังที่ถือเอาเหยื่อ
ลำดับนั้น ข้าพระองค์ได้เห็นรอยเท้าของพญาหงส์
นั้น ซึ่งกำลังเที่ยวแสวงหาเหยื่อ จึงดักบ่วงลงในที่นั้น
ข้าพระองค์จับพญาหงส์นั้นมาได้ด้วยอุบายอย่างนี้
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทานานิ ความว่า ที่สำหรับยึดเอา
เป็นที่หากิน. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า อุปาสโต คือ
เข้าไปใกล้. บทว่า ปทํ คือ รอยเท้าที่พญาหงส์เหยียบลงในพื้นที่สำหรับ
หากิน. บทว่า ฆฏสฺสิโต คือ อาศัยอยู่ในกรงอาทิผิด สระที่ทำคล้าย ๆ ตุ่ม บทว่า
อถสฺส ความว่า ลำดับนั้น ครั้นถึงวันที่ ๖ ข้าพระองค์ก็ได้เห็นรอยเท้าของ
พญาหงส์นี้ซึ่งเที่ยวแสวงหาที่ถือเอาอาหาร. บทว่า เอวนฺตํ อธิบายว่า นาย
พรานนั้นกราบทูลอุบายที่ตนจับพญาหงส์ทั้งหมดด้วยคำว่า ข้าพระองค์จับ
พญานกนั้นมาได้ด้วยวิธีอย่างนี้แล.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________