วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๖๒๑/๘

บทว่า สพฺพาสวา ปริกฺขีณา ความว่า อาสวะทั้งหมด ๔ อย่าง คือ
กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ และอวิชชาสวะ สิ้นไปรอบแล้ว คือถึง
ความสิ้นไปโดยรอบ. อธิบายว่า บัดนี้ คือในกาลที่บรรลุพระอรหัตแล้วนี้
ภพใหม่ คือภพกล่าวคือการเกิดอีก ได้แก่การเป็น การเกิด ย่อมไม่มี.
เมื่อจะเปล่งอุทานด้วยความโสมนัสอย่างยิ่ง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
สฺวาคตํ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า การที่ข้าพระองค์มาในสำนัก
คือในที่ใกล้หรือในนครเดียวกันแห่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คือแห่ง
พระพุทธเจ้าผู้สูงสุดอาทิผิด สระ เป็นการมาดีแล้ว คือเป็นการมาดี เป็นการมาอย่าง
งดงามโดยแท้ คือโดยส่วนเดียว. บทว่า ติสฺโส วิชฺชา ความว่า ข้า-
พระองค์บรรลุ คือถึงพร้อม ได้แก่ทำให้ประจักษ์วิชชา คือบุพเพ-
นิวาสญาณ ทิพพจักขุญาณ และอาสวักขยญาณ. บทว่า กตํ พุทฺธสฺส สาสนํ
ความว่า คำสั่งสอนคือการพร่ำสอนอันพระพุทธเจ้า คือพระผู้มีพระภาค
เจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าพระองค์กระทำแล้ว คือให้สำเร็จแล้ว ได้แก่ยัง
วัตรปฏิบัติให้บริบูรณ์ มนสิการกรรมฐานแล้วให้สำเร็จด้วยการบรรลุ
อรหัตมรรคญาณ.
บทว่า ปฏิสมฺภิทา จตสฺโส ความว่า ปัญญา ๔ ประการ มี
อัตถปฏิสัมภิทาเป็นต้น ข้าพระองค์ทำให้แจ้งแล้ว คือทำให้ประจักษ์แล้ว.
บทว่า วิโมกฺขาปิ จ อฏฺฐิเม เชื่อมความว่า วิโมกข์คืออุบายเครื่องพ้น
จากสงสาร ๘ ประการเหล่านี้ คือมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ข้าพระองค์
ทำให้แจ้งแล้ว.
บทว่า ฉฬภิญฺญา สจฺฉิกตา ความว่า อภิญญา ๖ เหล่านี้ คือ
อิทธิวิธะ แสดงฤทธิ์ได้ ทิพพโสตะ หูทิพย์ เจโตปริยะญาณ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________