วันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓/๔๖๐/๑๘

ไม่รังเกียจ โจทว่ารังเกียจ
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจท
เธอว่า ข้าพเจ้ารังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ
ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี
ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุก ๆ คำพูด.
โจทก์ไม่เห็น
[๕๕๑] ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้า
โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็นและได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี
ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด.
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอว่า
ข้าพเจ้าได้เห็น และรังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็น
สมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี
สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
ภิกษุผู้โจทก์ไม่ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าโจทเธอ
ว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน และรังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม
ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตรอาทิผิด อักขระ อุโบสถก็ดี
ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
ทุก ๆ คำพูด.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบคียง ๔/๕๓๑/๙

พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เมื่อกาลเที่ยงวันล่วงไปแล้ว จนถึงอรุณขึ้น ชื่อว่า
วิกาล แม้เวลาเที่ยงตรงก็ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นกาล. จำเดิมแต่เวลาเที่ยง
ตรงไป ภิกษุไม่อาจเพื่อจะเคี้ยวหรือฉันได้ (แต่) ยังอาจเพื่อจะรีบดื่มได้,
ส่วนภิกษุผู้มีความรังเกียจไม่พึงทำ. และเพื่อรู้กำหนดกาลเวลา ควรปักเสา
เครื่องหมายกาลเวลาไว้. อนึ่ง พึงทำภัตกิจภายในกาล.
ในคำว่า อวเสสํ ขาทนียํ นาม นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ใน
อาหารวัตถุมีขนมต้มเป็นต้น ทำสำเร็จมาแต่บุพพัณชาติ และอปรัณชาติมีคำ
ที่ควรจะกล่าวก่อนอย่างนั้น:-
วัตถุแม้ใด มีชนิดเช่นใบและรากเหง้าเป็นต้น เป็นของมีคติอาทิผิด อักขระอย่างอามิส,
นี้ คืออย่างไร ? คือ วัตถุแม้น เป็นต้นว่า รากควรเคี้ยว หัวควรเคี้ยว
เหง้าควรเคี้ยว ยอดควรเคี้ยว ลำต้นควรเคี้ยว เปลือกควรเคี้ยว ใบควรเคี้ยว
ดอกควรเคี้ยว ผลควรเคี้ยว เมล็ดควรเคี้ยว แป้งควรเคี้ยว ยางเหนียวควร
เคี้ยว ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในขาทนียะ (ของควรเคี้ยว) ทั้งนั้น. ก็ใน
มูลขาทนียะเป็นต้นนั้น เพื่อกำหนดรู้ของควรเคี้ยวมีคติอย่างอามิส มีของควร
เคี้ยว ซึ่งจะชี้ให้เห็นพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้:-
[อธิบายของควรเคี้ยวที่จัดเป็นกาลิกต่าง ๆ]
พึงทราบวินิจฉัยในมูลขาทนียะก่อน :- ใบและรากที่ควรเป็นสูปะ
(กับข้าว) ได้ มีอาทิอย่างนั้น คือ มูลกมูล วารกมูล ปุจจุมูลตัมพกมูล
อัตถโยชนา ๒/๗๐ สกฺขลิโมทโกติ วฏฺฏโมทโก. ชาวอินเดียเรียกขนมชนิดนี้ว่า ลัฑฑู นัยว่า ทำจากแป้งเป็นก้อนกลม ๆ ข้างในใส่ไส้แล้วทอดด้วยน้ำมันพืชลักษณะใกล้กับขนมต้มของไทย จึงได้แปลไว้อย่างนั้น. - ผู้ชำระ.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๘/๙๕๔/๔

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เพราะธรรมอย่างละ ๓ ๆ เหล่านี้
ย่อมสำเร็จพร้อมกับขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกัน. เว้นขันธ์ ๔ เหล่านั้น
เสีย ย่อมไม่สำเร็จ. ฉะนั้น โดยปริยายนั้น แม้ขันธ์ ๔ ทั้งหมด ก็
ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าให้สำเร็จ. ชื่อว่าอาทิผิด สระ ปาทะ เพราะอรรถว่าเป็น
ที่ตั้ง.
ส่วนในบทนี้ว่า วีริยสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ - ประกอบ
ด้วยสมาธิยิ่งด้วยวีริยะและสังขารเป็นประธาน มีความดังต่อไปนี้. วีริยะ
และสังขารเป็นประธาน เป็นอันเดียวกัน. หากถามว่า เพราะเหตุไร
ท่านจึงกล่าวไว้เป็นสองอย่าง. ตอบว่า ในที่นี้ท่านมุ่งเอาวีริยะก่อน ด้วย
การแสดงความที่วีริยะเป็นอธิบดี เพื่อแสดงความที่วิริยะนั้นแหละให้
สำเร็จกิจ ๔ อย่าง ท่านจึงกล่าวสังขารเป็นประธาน.
อนึ่ง ในบทนี้ เพราะท่านกล่าวไว้สองอย่างนั่นแหละ เป็นอัน
ท่านกล่าวธรรมอย่างละ ๓ ๆ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า
อิทธิ ยังไม่สำเร็จ. ชื่อว่า อิทธิบาท สำเร็จแล้ว เพราะท่านกล่าว
ไว้ในวิภังค์ว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี ความปรารถนา ความ
ปรารถนาด้วยดีซึ่งธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า อิทธิ. แต่ในที่นี้ ท่านตัดสินว่า
อิทธิก็ดี อิทธิบาทก็ดี สำเร็จแล้วกำจัดเครื่องกำหนดได้แล้ว ด้วยบท
๑. อภิ. วิผ. ๓๕/๕๒๑
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๕๗/๑๐๖/๑๒

พราหมณ์ชื่อว่า อุปสาฬหกะทั้งหลาย
ถูกญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้ ประมาณ
หมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใคร ๆ ไม่เคย
ตายแล้วย่อมไม่มีในโลก. สัจจะ ธรรมะ อหิงสา
สัญญมะ และทมะมีอยู่ในบุคคลใด พระอริยะ
ทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่า
ไม่ตายในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนามตํ ได้แก่ จริงอยู่สถานที่
อันไม่ตายท่านเรียกว่า อมตะด้วยการเปรียบเทียบ. เมื่อจะปฏิเสธ
ข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนามตํ (ที่ที่ไม่เคยตาย). บาลี เป็น อมตํ
ก็มี อธิบายว่า ชื่อว่าที่อันไม่ใช่สุสาน อันเป็นที่ที่ใคร ๆ ไม่เคย
ตายไม่มีในโลก. บทว่า ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโมอาทิผิด จ ได้แก่ ญาณ
คือสัจธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น มีอริยสัจสี่เป็นพื้นฐาน และ
โลกุตรธรรม มีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า อหึสา ได้แก่ การไม่
เบียดเบียน กิริยาที่ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น. บทว่า สญฺโม ได้แก่
การสำรวมด้วยศีล. บทว่า ทโม ได้แก่การฝึกอินทรีย์. คุณชาติ
นี้แลมีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า เอตทริยา เสวนฺติ ความว่า พระ-
อริยะทั้งหลาย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ
สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมเสพฐานะนี้คือ ย่อมเข้าไปหา ย่อม
คบบุคคลชนิดนี้. บทว่า เอตํ โลเกอนามตํ ได้แก่ คุณชาตินั้นชื่อว่า
อมตะ เพราะให้สำเร็จถึงความไม่ตาย.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๕/๕๗๙/๖

บทว่า ฉวาลาตํ ได้แก่ ดุ้นฟืน ในที่ที่เผาศพ. บทว่า อุภโต
ปทิตฺตํ มชฺเฌ คูลคตํ ความว่า ดุ้นฟืนยาวประมาณ ๘ นิ้ว ไฟติดทั้ง
๒ ข้าง ตรงกลางก็เปื้อนคูถ. บทว่า เนว คาเม ความว่า จริงอยู่ ถ้าหาก
ดุ้นฟืนนั้น เป็นของที่ใคร ๆ (นึกว่า) สามารถนำเข้าไปใช้เพื่อประโยชน์แก่
แอกไถ ไม้จันทันและไม้ฝ้าได้ไซร้ ก็ต้องผ่าเพื่อเป็นฟืนใช้ในบ้าน ถ้าเป็น
ของที่ใคร ๆ (นึกว่า) สามารถนำเข้าไปใช้เพื่อประโยชน์แก่ไม้อาทิผิด อาณัติกะปูพื้นและเตียง
เป็นต้นที่กระท่อมนาได้ไซร้ ก็ต้องผ่าเพื่อใช้เป็นฟืนในป่า. แต่เพราะเหตุที่
แม้ประโยชน์ทั้ง ๒ อย่างนั้น ใคร ๆ ไม่อาจ (นำมาใช้ได้) ฉะนั้นพระผู้มี-
พระภาคเจ้า จึงตรัสไว้อย่างนี้.
บทว่า ตถูปมาหํ ความว่า เราตถาคตเรียกบุคคลตามที่กล่าวมาแล้ว
นี้ว่า อุปมาเหมือนอย่างนั้น คือ เช่นฟืนเผาศพ. บทว่า คิหิโภคา จ
ปริหีโน ความว่า เป็นผู้เสื่อมจากโภคะที่จะต้องได้เมื่อคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้
ครองเรือนอยู่ แบ่งมรดกอยู่ และโดยประการอื่นด้วย. บทว่า สามญฺตฺถญฺจ
ความว่า จะไม่ยังสามัญผลที่สัทธิวิหาริกเเละอันเตวาสิก ดำรงอยู่ในโอวาทของ
อุปัชฌาย์และอาจารย์ทั้งหลายแล้ว จะพึงถึงด้วยสามารถแห่งปริยัติและปฏิเวธ
ให้บริบูรณ์.
อนึ่ง พึงทราบว่า พระศาสดาไม่ได้ทรงนำอุปมานี้มา ด้วยสามารถ
แห่งบุคคลผู้ทุศีล แต่ทรงนำมาด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้ไม่
เกียจคร้าน ผู้มีจิตถูกโทษทั้งหลาย มีอภิชฌาเป็นต้น ประทุษร้ายแล้ว.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า คิหิโภคา
ความว่า จากเครื่องอุปโภคที่ให้เกิดกามสุข. บทว่า ปริหีโน ได้แก่ เสื่อม
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๒/๒/๑๑

รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.
[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนเสียงสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เสียงสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.
[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนกลิ่นสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
กลิ่นสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.
[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรสสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รสสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.
[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฏฐัพพะอาทิผิด อักขระอื่นแม้
อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนโผฏฐัพพะอาทิผิด อักขระสตรีเลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โผฏฐัพพะอาทิผิด อักขระสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.
[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนรูปบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รูปบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.
[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนเสียงบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เสียงบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๒/๑๑๔/๘

แสลงนี้แล แผลจึงถึงความบวมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ไม่กำจัดของไม่
สะอาดและโทษคือพิษอันยังมีเชื้อเหลือติดอยู่ เขามีแผลถึงความบวมแล้ว พึง
เข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปางตายได้ ฉันใด ดูก่อนสุนักขัตตะ ฉันนั้น
เหมือนกันแล ข้อที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พึงมีความดำริอย่างนี้ว่า
พระสมณะตรัสลูกศรคือตัณหาไว้แล โทษอันเป็นพิษคืออวิชชาย่อมงอกงามได้
ด้วยฉันทราคะและพยาบาท เราละลูกศรคือตัณหานั้นได้แล้ว กำจัดโทษอัน
เป็นพิษคืออวิชชาได้แล้ว จึงเป็นผู้มีใจน้อมไปในนิพพานโดยชอบ นั่นเป็น
ฐานะที่มีได้ สิ่งที่เป็นผลอาทิผิด สระเบื้องต้นอาทิผิด อาณัติกะพึงมีได้อย่างนี้ คือ เธอประกอบเนือง ๆ ซึ่ง
อารมณ์ไม่เป็นที่สบายของใจอันน้อมไปในนิพพานโดยชอบ ได้แก่ประกอบ
เนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็นที่สบายด้วยจักษุ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งเสียง
อันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่สบายด้วย
ฆานะ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ประกอบเนือง ๆ
ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่สบายด้วยกาย ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมารมณ์อัน
ไม่เป็นที่สบายด้วยมโน เมื่อเธอประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเห็นรูปอันไม่เป็น
ที่สบายด้วยจักษุ ซึ่งเสียงอันไม่เป็นที่สบายด้วยโสตะ ซึ่งกลิ่นอันไม่เป็นที่
สบายด้วยฆานะ ซึ่งรสอันไม่เป็นที่สบายด้วยชิวหา ซึ่งโผฏฐัพพะอันไม่เป็น
ที่สบายด้วยกาย ซึ่งธรรมารมณ์อันไม่เป็นที่สบายด้วยมโนแล้ว ราคะพึงตาม
กำจัดจิต เธอมีจิตถูกราคะตามกำจัดแล้ว พึงเข้าถึงความตาย หรือทุกข์ปาง
ตาย.
ดูก่อนสุนักขัตตะ ก็ความตายนั้นวินัยของพระอริยะ ได้แก่ลักษณะ
ที่ภิกษุบอกคืนสิกขาแล้วเวียนมาเพื่อหีนเพศ ส่วนทุกข์ปางตายนี้ ได้แก่ลักษณะ
ที่ภิกษุต้องอาบัติมัวหมองข้อใดข้อหนึ่ง.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๑/๑๙๒/๗

เป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งจักษุและเหตุเกิดแห่งจักษุทั้งสอง เป็นนิโรธ
สัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้นิโรธ เป็นมรรคสัจ. ใน โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย และมนะ ก็มีนัยเช่นนี้.
บัณฑิตพึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น วิญญาณกาย ๕ มีจักษุ
วิญญาณเป็นต้น ผัสสะ ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักษุสัมผัสสชา-
เวทนาเป็นต้น สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น
ตัณหากาย ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก อาทิผิด  มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร
เป็นต้น ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ สัญญา
๑๐ ด้วยอำนาจอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อายตนะ
๑๒ ธาตุ ๑๘ ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อัปป-
มัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น
และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลมมีชรามรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมี
อวิชชาเป็นต้น โดยนัยนี้นั่นแล. ในชรามรณะเป็นต้นนั้น มีการประกอบ
บทเดียวดังต่อไปนี้ : -
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้ตามสมควร ได้แก่แทงตลอด
ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า
ชรามรณะ เป็นทุกขสัจ ชาติ เป็นสมุทัยสัจ การสลัดออกเสีย ซึ่งชรามรณะ
และเหตุเกิดแห่งชรามรณะนั้น แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้
นิโรธ เป็นมรรคสัจ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า อนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๕/๕๓๗/๒๐

ปกติที่เคยมีมาในก่อนด้วยพยาบาทนี้ดุจขนมบูดเป็นต้น . ชื่อโทสะ เพราะย่อม
ประทุษร้ายเอง หรือให้ผู้อื่นประทุษร้าย คือให้พินาศโดยให้ถึงความพิการ.
ทั้งสองนี้เป็นชื่อของความโกรธนั้นแล.
ความป่วยทางจิต ชื่อว่า ถีนะ ความป่วยทางเจตสิกชื่อว่า มิทธะ
ถีนะความง่วงเหงาและมิทธะความหาวนอน ชื่อว่า ถีนมิทธะ. บทว่า
อาโลกสญฺญี ความว่า ภิกษุประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์
สามารถจำหมายแสงสว่างที่เห็นทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน . บทว่า สโต สมฺป-
ชาโน ได้แก่ ประกอบด้วยสติและญาณ. ท่านกล่าวไว้ทั้งสองนี้ก็เพราะเป็น
ธรรมอุปการะแก่อาโลกสัญญา. ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญ ชื่อว่า
อุทธัจจกุกกุจจะ.
บทว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ ได้แก่ ข้าม คือล่วงวิจิกิจฉาได้. ชื่อว่า
อกถํกถี (ไม่มีความสงสัย) เพราะไม่มีความสำคัญ หมายว่านี้อย่างไร. บทว่า
กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมอันไม่มีโทษ. อธิบายว่า ไม่สงสัย คือ
ไม่แคลงใจอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลอย่างไร.
นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ก็ในนิวรณ์เหล่านี้ คำที่ควรกล่าวโดยต่างแห่ง
ถ้อยคำ ความ และลักษณะเป็นต้น ก็กล่าวไว้หมดแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ ความว่า เพราะเหตุที่นิวรณ์ ๕
เหล่านี้เมื่อเกิด ย่อมไม่ให้เกิดปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น
แม้เกิดขึ้นแล้วก็กำจัดสมาบัติ ๘ หรืออภิญญา อาทิผิด ให้ตกไป ฉะนั้น จึงตรัสว่า
ปญฺาย ทุพฺพลีกรณา (ทำปัญญาให้หมดอาทิผิด อักขระกำลัง) ดังนี้. บททั้งหลายมี
อาทิว่า วิวิจฺเจว กเมหิ กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทเป็นต้นว่า อิเม อาสวา ตรัสเพื่อประกาศสัจจะสี่โดยปริยาย
อื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่ลัทธิภายนอกไม่มีผล ด้วยองค์ ๓
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๑/๘๐/๑๙

โดยปริยายนี้ ผมที่หงอกแล้ว ท่านจึงเรียกว่า เทวทูต เพราะเป็น
ทูตแห่งวิสุทธิเทพ. บทว่า กปฺปกสฺส คามวรํ ทตฺวา ทรงพระราชทาน
บ้านส่วยแก่ช่างกัลบก ความว่า ทรงพระราชทานบ้านที่เจริญที่สุด มีส่วย
เกิดขึ้นถึงแสนหนึ่ง. ทรงพระราชทาน เพราะเหตุไร. เพราะทรงสลดพระทัย.
จริงอยู่ พระองค์ทรงเกิดความสลดพระทัย เพราะทรงเห็น ผมหงอกที่อยู่ที่นิ้ว
พระหัตถ์ จะทรงมีพระชนม์อีกถึง ๘๔,๐๐๐ ปี. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรง
สำคัญพระองค์เหมือนยืนอยู่ในสำนักของพระยามัจจุราชจึงทรงสลดพระทัย ทรง
พอพระทัยในบรรพชา. เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
พระเจ้ามฆเทพ ผู้เป็นอธิบดีในทิศ
ผู้ปราชญ์ ทรงเห็นผมหงอกบนพระเศียร
ทรงสลดพระทัย ทรงยินดีในบรรพชาแล้ว.
ยังกล่าวไว้ต่อไปอีกว่า
ผมหงอกงอกขึ้นบนเศียรของเรา ก็
นำเอาความหนุ่มไปเสีย เทวทูตปรากฏ
แล้ว เป็นสมัยที่เราควรออกบวช.
บทว่า ปุริสยุเค เมื่อยุคบุรุษเป็นไปอยู่ คือ เมื่อยุคบุรุษที่สมภพ
ในวงศ์. คำว่า เกสมสฺสุํ โอหาเรตฺวา ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ
ความว่า ก็แม้เมื่อจะบวชเป็นดาบส ก็ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุบวช.
ต่อแต่นั้นก็ทรงพันพระเกศาที่ยาวขึ้นมาไว้ ทรงชฎาอาทิผิด อักขระ เที่ยวไป. แม้พระโพธิ-
สัตว์ก็ทรงบวชเป็นดาบส. ก็ครั้นบวชแล้วก็ทรงไม่ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่ง
อเนสนา ยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยภิกษาที่นำมาจากพระราชวัง ทรงเจริญ
พรหมวิหารธรรม. เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวว่า พระองค์ ทรงมีพระ-
ทัยประกอบด้วยเมตตา ดังนี้เป็นต้น.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๒๗๔/๑๐

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นมหาพรหมนามว่า นารทะ ก็ธรรมดา
พระโพธิสัตว์ มีอัธยาศัยใหญ่ด้วยเมตตาภาวนา เที่ยวตรวจดูโลกตามกาลอัน
สมควร เพื่อจะดูเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่ว ในวันนั้น ท่านตรวจดูโลก
เห็นพระนางรุจาราชธิดานั้น กำลังนมัสการเหล่าเทวดาผู้บริหารโลก เพื่อจะปลด
เปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ จึงมาดำริว่า คนอื่นเว้นเราเสีย ย่อมไม่
สามารถเพื่อจะปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิ พระเจ้าอังคติราชนั้นได้ วันนี้เราควรจะ
ไปกระทำการสงเคราะห์ราชธิดาและกระทำความสวัสดี แก่พระราชาพร้อมด้วย
บริวารชนแต่จะไปด้วยเพศอะไรดีหนอ เห็นว่า เพศบรรพชิตเป็นที่รักเป็นที่
เคารพ มีวาจาเป็นที่เชื่อฟัง ยึดถือของพวกมนุษย์ เพราะฉะนั้น เราจะไปด้วย
เพศบรรพชิตอาทิผิด อักขระ ครั้นตกลงใจฉะนี้แล้ว ก็แปลงเพศเป็นมนุษย์ มีวรรณะดังทองคำ
น่าเลื่อมใสผูกชฎาอาทิผิด อักขระมณฑลอันงามจับใจ ปักปิ่นทองไว้ในระหว่างชฎา นุ่งผ้าพื้น
แดงไว้ภายใน ทรงผ้าเปลือกไม้ ย้อมฝาดไว้ภายนอก กระทำเฉวียงบ่าผ้าหนังเสือ
อันแล้วไปด้วยเงิน ซึ่งขลิบด้วยดาวทอง แล้วเอาภิกขาภาชนะทองใส่สาแหรก
อันประดับด้วยมุกดาช้าง ๑ เอาคนโทน้ำแก้วประพาฬใส่ในสาแหรกอีกข้าง ๑
เสร็จแล้วก็ยกคานทองอันงามงอนขึ้นวางเหนือบ่า แล้วเหาะมาโดยอากาศ ด้วย
เพศแห่งฤๅษีนี้ ไพโรจน์โชติช่วง ประหนึ่งพระจันทร์ (เพ็ญ) ลอยเด่นบน
พื้นอากาศ เข้าสู่พื้นใหญ่แห่งจันทกปราสาท ได้ยื่นอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์พระ
เจ้าอังคติราช.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป
ได้เห็นพระเจ้าอังคติราชผู้ทรงมีความเห็นผิด จึงมา
จากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์ ลำดับนั้น นารทมหา-
พรหมได้ยืนอาทิผิด สระอยู่ที่ปราสาทเบื้องพระพักตร์แห่งพระเจ้า
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๘/๖๔๕/๒

อัศจรรย์กว่าวิมานของท่านนี้เลย พวกข้าพเจ้าดูวิมาน
ของท่านอันมีรัศมีไม่ทรามแล้วไม่อิ่มเลย สระโบกขรณีอาทิผิด อักขระ
เลื่อนลอยไปในอากาศ มีสวนป่าไม้มาก มีบุณฑริก
บัวขาวมาก มีต้นไม้ออกผลเป็นนิตย์ โชยกลิ่นหอม
ตลบไป เสาวิมานเหล่านี้ เป็นเสาแก้วไพฑูรย์
สูงร้อยศอก ส่วนยาวประดับด้วยศิลา แก้วประพาฬ
แก้วลายและแก้วทับทิม มีรัศมีโชติช่วง วิมานงาม
ของท่านนี้มีเสาพันหนึ่ง มีอานุภาพหาที่เปรียบมิได้
อยู่บนเสาเหล่านั้น ประกอบด้วยรัตนะภายใน ภาย
นอกล้อมด้วยไพทีทอง และกำบังอย่างดีด้วยแผ่น
ทอง วิมานของท่านนี้สว่างด้วยทองชมพูนุท ส่วน
นั้น ๆ ของวิมาน เกลี้ยงเกลา ประกอบด้วยบันได
และแผ่นกระดานของปราสาท มั่นคง งดงาม มี
ส่วนประกอบเข้ากันสนิทชวนพิศอย่างยิ่ง น่าลิงโลด
ใจ ภายในวิมานรัตน์ มีข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์ ตัว
ท่านอันหมู่เทพอัปสรห้อมล้อม เอิกอึงด้วยเสียง
ตะโพน เปิงมางและดนตรี อันทวยเทพมากราบไหว้
ด้วยการสดุดีและวันทนา ท่านนั้นตื่นอยู่ด้วยหมู่เทพ-
นารี บันเทิงอยู่ในวิมานปราสาท อันประเสริฐน่า
รื่นรมย์ใจ มีอานุภาพเป็นอจินไตย ประกอบไปด้วย
คุณทุกอย่าง ดังท้าวเวสวัณในนลินีสถานมีดอกบัว
ท่านเป็นเทวดา หรือเป็นยักษ์ หรือเป็นท้าวสักกะ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๔/๕๑๖/๕

เหตุนั้น ในเรื่องนี้ พึงชักสะพานเสีย ในส่วนการขับร้อง การฟ้อนรำ
(ส่วนการหัวเราะนั้น) เมื่อท่านทั้งหลายเกิดธรรมปราโมทย์ (ความยินดีร่าเริง
ในธรรม) ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม.
จบโรณสูตรที่ ๕

อรรถกถาโรณอาทิผิด อักขระสูตร

สูตรที่ ๕ ข้าพเจ้าจะยกเรื่องขึ้นแสดง ตามอัตถุปปัตติ (เรื่องราวที่
เกิดขึ้น). ถามว่า เรื่องราวเกิดขึ้นอย่างไร. ตอบว่า เรื่องเกิดขึ้นในเพราะ
อนาจาร (การประพฤตินอกรีตอาทิผิด อักขระนอกรอย) ของพระฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย. เล่ากัน
มาว่า พระฉัพพัคคีย์เหล่านั้น ขับร้อง ฟ้อนรำ หัวเราะ เที่ยวไป. ภิกษุ
ทั้งหลาย พากันกราบทูลพระทศพล พระบรมศาสดาตรัสเรียกภิกษุฉัพพัคคีย์
เหล่านั้นมา แล้วทรงปรารภพระสูตรนี้ เพื่อพุทธประสงค์ จะทรงสั่งสอน
ภิกษุเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุณฺณํ แปลว่า การร้องไห้. บทว่า
อุมฺมตฺตกํ ได้แก่ กิริยาของคนบ้า. บทว่า โกมาริกํ ได้แก่ เรื่องที่เด็ก ๆ
จะต้องกระทำ. บทว่า ทนฺตวิทํสกหสิตํ ได้แก่ การหัวเราะด้วยเสียงอันดัง
ของผู้ยิงฟัน ปรบมือ. ด้วยบทว่า เสตุฆาโต คีเต พระผู้มีด้วยเสียงอันดัง
ทรงแสดงว่า การตัดปัจจัย ในการขับร้องของเธอทั้งหลาย จงยกไว้ก่อน
เธอทั้งหลาย จะละการขับร้อง พร้อมทั้งเหตุ. แม้ในการฟ้อนรำ ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๕๗/๔๗๐/๕

ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า มหาปิงคละ เสวย
ราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสีโดยอธรรม ไม่เรียบร้อย ทำ
บาปกรรมด้วยอคติมีฉันทาคติเป็นต้น รีดนาทาเร้นมหาชนด้วย
อาชญา ภาษีอากรริบเงินทองเป็นต้น ดุจท่อนอ้อยที่เครื่องยนต์
หีบอ้อยฉะนั้น. พระเจ้ามหาปิงคละนั้นเป็นผู้กักขฬะอาทิผิด อักขระหยาบช้า
หุนหัน. ไม่มีแม้แต่เพียงความเอ็นดูในผู้อื่นเลย. ไม่เป็นที่รัก
ไม่เป็นที่พอใจของพวกสตรี บุตรธิดาในพระราชวัง แม้ของ
อำมาตย์ พราหมณ์และคหบดีเป็นต้น เปรียบเหมือนธุลีเข้าตา
เหมือนกรวดที่ก้อนข้าว และเหมือนหนามที่ตำส้นเท้าฉะนั้น.
ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นโอรสของพระเจ้ามหาปิงคละ.
พระเจ้ามหาปิงคละเสวยราชสมบัติมานานแล้ว ก็เสด็จสวรรคต.
เมื่อพระเจ้าปิงคละเสด็จสวรรคตแล้ว ชาวกรุงพาราณสีทั้งสิ้น
ก็ร่าเริงยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสกันยกใหญ่ เผาศพพระเจ้ามหาปิงคละ
ด้วยฟืนพันเล่มเกวียน ดับเชิงตะกอนด้วยน้ำหลายพันหม้อ แล้ว
อภิเษกพระโพธิสัตว์ขึ้นครองราชย์ ต่างก็ร่าเริงยินดีว่า เราได้
พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว เที่ยวตีกลองแห่กันครึกครื้น
ตกแต่งพระนครด้วยธงทิวต่าง ๆ ทำปะรำอาทิผิด อักขระตามประตูบ้านทุก
ประตู นั่งกินเลี้ยงกันที่ปะรำอันได้ตกแต่งแล้ว มีพื้นโปรยปราย
ด้วยข้าวตอกและดอกไม้. แม้พระโพธิสัตว์ก็ประทับนั่งทรงยศ
อันยิ่งใหญ่ ท่ามกลางบัลลังก์ซึ่งกั้นด้วยเศวตฉัตร ณ ท้องพระโรง
อันประดับประดาแล้ว. พวกอำมาตย์ พราหมณ์ คหบดี และ
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๘๐/๖๑๓/๑๓

ส. ส่วนหนึ่งเป็นพระอรหันต์ อีกส่วนหนึ่งไม่เป็น
พระอรหันต์ ส่วนหนึ่งถึงแล้ว ได้เฉพาะแล้ว บรรลุแล้ว ทำให้แจ้ง
แล้ว เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งอรหัตผล อีกส่วนหนึ่งไม่
ถูกต้องด้วยกายอยู่ซึ่งอรหัตผล ส่วนหนึ่งปราศจากราคะ โทสะ โมหะ
แล้ว ฯลฯ ส่วนหนึ่งทำให้แจ้งแล้วซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง อีกส่วนหนึ่ง
ไม่ทำให้แจ้งแล้วซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๕๙] ส. จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. จิตหลุดพ้นแล้วในขณะเกิดขึ้น ยังหลุดพ้นอยู่
ในขณะดับไป หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๗๖๐] ป. ไม่พึงอาทิผิด สระกล่าวว่า จิตที่หลุดพ้นแล้ว ยังหลุดพ้นอยู่
หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า เมื่อบุคคลนั้น
รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ
จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากภวาสวะ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากอวิชชา-
สวะ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๖/๔๗๔/๑

สมณพราหมณ์อาทิผิด เหล่าอื่นอันตนละได้แล้ว เมื่อจะให้ชนเหล่าอื่นที่ยังไม่รู้เหตุแห่ง
การไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ให้ทราบ จึงทูลว่า วันนี้ ข้าพระองค์
ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้า ดังนี้.
ในบทเหล่านี้ บทว่า อชฺช อธิบายว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
บทว่า ปชานามิ ความว่า ทราบชัดโดยประการตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า
โย จตฺโถ ความว่า ยักษ์แสดงประโยชน์ในปัจจุบันที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญา ด้วยคำมีประมาณเท่านี้
แสดงประโยชน์ในภพหน้า อันกระทำความที่ละโลกนี้ไปแล้วไม่มีความเศร้าโศก
ที่ตรัสว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา ด้วยบทนี้ว่า สมฺปรายโก. ก็คำว่า อตฺโถ
นั่นเป็นชื่อของการณ์.
จริงอยู่ อัตถ ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถแห่งบาลี ดุจในประโยค
มีอาทิว่า สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ มีอรรถ มีพยัญชนะ เป็นไปในการบอก ดุจ
ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนคหบดี เราไม่ต้องการเงินและทอง เป็นไปใน
ความเจริญ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย เป็นไป
ในประโยชน์เกื้อกูล ดุจในประโยคมีอาทิว่า ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสอง
ฝ่าย เป็นไปในเหตุว่า เมื่อเหตุเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต ก็ในที่นี้ ย่อมเป็น
ไปในเหตุ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความโดยย่อในที่นี้อย่างนี้ว่า เหตุ
แห่งการได้ปัญญาเป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบันใด และเหตุแห่งความที่ละ
โลกนี้ไปแล้วไม่มีความเศร้าโศก อันเป็นไปในภพหน้าใด วันนี้เราทราบชัดซึ่ง
เหตุนั้นด้วยตนเอง โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั่นแล บัดนี้ เรานั้น
จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากทำไมเล่า.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๗/๔๖๙/๕

ดูก่อนปิงคิยะ ท่านอยู่ปราศจากพระพุทธเจ้าผู้โคตม
พระองค์นั้น ซึ่งมีพระปัญญาเป็นเครื่องปรากฏ มีพระ-
ปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน แม้ครู่หนึ่งหรือหนอ.
[๖๐๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรม อันธรรมจารี-
บุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เป็นที่สิ้นตัณหาอาทิผิด
อันไม่มีอันตรายแก่ท่าน นิพพานมิได้มีอุปมาในที่ไหน ๆ.
[๖๑๐] คำว่า โย ในอุเทศว่า โย เต ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ล ฯ เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระ-
สัพพัญญูในธรรมนั้น และทรงถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญ ในพลธรรม
ทั้งหลาย.
คำว่า ธมฺมํ ในอุเทศว่า โย เม ธมฺมมเทเสสิ ดังนี้ ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก... ทรงประกาศแล้วซึ่งพรหมจรรย์อันงาม
ในเบื้องต้น ฯ ล ฯ และปฏิปทาอันให้ถึงนิพพาน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงแล้วซึ่งธรรม... แก่ท่าน.
[๖๑๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วย
กาล ความว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ... อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้
เฉพาะตน ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล.
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ในภพนี้ ... มิได้มีกาล
อื่นคั่น แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ ดังนี้ จึงชื่อว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง
ไม่ประกอบด้วยกาล.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๐/๑๓๕/๒

เธอจะกระทำข้อที่คิดไว้นั่นอย่างไร ครั้นทรงโอวาทพระองค์อย่างนี้แล้ว
ไม่มีพระอาการอันผิดแผกเสวยพระกระยาหาร.
ราชบุรุษทั้งหลายเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงไปกราบทูลแด่พระราชา
พระราชาทรงสดับคำของทูตแล้ว จึงรีบเสด็จออกจากพระนคร เสด็จไป
ยังสำนักของพระโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใสเฉพาะในพระอิริยาบถ จึงทรงยก
ความเป็นใหญ่ทั้งปวงให้แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า มหา-
บพิตร อาตมภาพไม่มีความต้องการด้วยวัตถุกามหรือกิเลสกาม อาตมภาพ
ปรารถนาพระอภิสัมโพธิญาณอันยอดยิ่ง จึงออกบวช. พระราชาแม้จะ
ทรงอ้อนวอนเป็นอเนกประการ ก็ไม่ทรงได้น้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์
จึงถือเอาปฏิญญาว่า พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว ก็พระองค์
เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พึงเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อน. นี้เป็น
ความสังเขปในที่นี้ ส่วนความพิสดารพึงตรวจดูปัพพัชชาสูตรนี้ว่า เรา
จักสรรเสริญการบวช เหมือนท่านผู้มีจักษุบวชแล้ว ดังนี้ พร้อมทั้ง
อรรถกถาแล้วพึงทราบเถิด.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงให้ปฏิญญาแก่พระราชาแล้ว เสด็จเที่ยวจาริกไป
โดยลำดับ เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร
ทำสมาบัติให้เกิดแล้ว คิดว่า นี้ไม่ใช่ทางเพื่อการตรัสรู้ จึงยังไม่พอ
พระทัยสมาบัติภาวนาแม้นั้น เพื่อจะทรงแสดงเรี่ยวแรงและความเพียร
ของพระองค์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก จึงมีพระประสงค์จะเริ่มตั้งความ
เพียรใหญ่ จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ทรงพระดำริว่า ภูมิภาคนี้น่า
รื่นรมย์จริงหนอ จึงเสด็จเข้าอยู่อาทิผิด สระในอุรุเวลาประเทศนั้น เริ่มตั้งมหาปธาน

๑. ขุ. สุ. ๒๕/ข้อ ๓๕๔.กาล.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๔๑๖/๑๖

พระราชาหามิได้ เพราะฉะนั้น จงให้นั่งบนอาสนะของตน. บทว่า ตมญฺชลึ
ความว่า ถ้าพวกเจ้าพึงกระทำอัญชลีถวายบังคมทูลอย่างนี้ไซร้ ขอเดชะ ขอ
พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น เพราะข้อนั้นหาได้ถูกธรรมเนียมไม่. บทว่า
วิยคฺฆราชสฺส ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า นิหีนชจฺโจ ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มีชาติต่ำต้อยเหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ จะพึงมี
อาสนะเสมอด้วยพระองค์ได้อย่างไร สุนัขจิ้งจอกย่อมเป็นผู้มีอาสนะเสมอด้วย
ราชสีห์แม้ฉันใด พวกข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควรมีอาสนะเสมอด้วย
พระองค์
ส่วนพวกบุตรธิดาญาติผู้มีใจดีและทาสกรรมกรทั้งหมดนั้น ได้สดับ
ถ้อยคำของพระมหาสัตว์ดังนี้ ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามปกติ ต่างพากันร้องไห้
พิไรร่ำไปตามกัน. พระมหาสัตว์ได้ตักเตือนชนเหล่านั้น ให้คลายโศกาดูรมีสติ
รู้สึกตัวได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบลักขกัณฑ์
ลำดับนั้น วิธุรบัณฑิตเห็นบุตรธิดาและพวกญาติเข้าไปหาตนนั่ง
นิ่งเงียบอยู่ จึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าวิตกไปเลย
อย่าเศร้าโศก อย่าพิไรร่ำรำพันอาทิผิด อาณัติกะไปเลย สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา สมมติธรรมอันได้นามว่ายศ ย่อมมีวิบัติเป็นที่สุด
อนึ่ง เราจักแสดงจริยาวัตรของพระราชเสวกนามว่า ราชวสดีธรรม อันเป็น
เหตุให้เกิดยศแก่พวกเจ้า พวกเจ้าจงตั้งใจสดับราชวสดีธรรมนั้น ครั้นกล่าวดัง
นี้แล้วจึงเริ่มแสดงราชวสดีธรรมด้วยพุทธลีลา.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ก็วิธุรบัณฑิตนั้น มีความดำริแห่งใจอันหดหู่
กล่าวกะบุตร ธิดา ญาติมิตรและเพื่อนสนิทว่า ดูก่อน
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๗๕/๑๒๙/๑๕

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นดาบส นามว่า มังคละ มีเดชกล้า
ถึงพร้อมด้วยกำลังแห่งอภิญญา ได้นำผลหว้าใหญ่มาถวายพระตถาคตเจ้า.
พระศาสดาทรงเสวยผลหว้านั้นแล้ว ทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์ว่า ในที่สุด
แห่งกัป ๙๔ จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.
พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมีนามว่า เวภาระ พระบิดา
เป็นพระราชามีพระนามว่า เชยยเสนะ พระมารดา พระนามว่า สุผัสสา
พระสัมพลเถระและพระสุมิตตเถระเป็นคู่พระอัครสาวก พระอุปัฏฐาก นามว่า
เรวตะ พระสีวลาเถรีและพระสุรามาเถรีเป็นคู่พระอัครสาวิกา ต้นไม้กรรณิการ์
เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระของพระองค์สูง ๖๐ ศอก มีพระชนมายุหนึ่งแสน
พรรษาแล.
จบสิทธัตถกถา

ติสสกถาที่ ๑๗

ในกาลต่อจากพระสิทธัตถสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นมาถอยไปแต่
ภัทรกัปนี้ ๙๒ กัป ในกัปหนึ่ง มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ทรงอุบัติขึ้น คือ
พระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปุสสสัมมาอาทิผิด อักขระสัมพุทธเจ้าสาวกสันนิบาต
ของพระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้าก็มี ๓ ครั้ง ในสันนิบาตอาทิผิด อักขระครั้งแรก มีภิกษุ ๑๐๐
โกฏิ ในครั้งที่ ๒ มีภิกษุ ๙๐ โกฏิ ในครั้งที่ ๓ มีภิกษุ ๘๐ โกฏิ.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สุชาตะ มี
พระราชสมบัติมาก มีพระยศใหญ่ ทรงผนวชเป็นฤๅษี ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์
มาก ทรงสดับว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว จึงถือเอาดอกมณฑารพ ดอกปทุม
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์