วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๘/๙๕๔/๔

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า เพราะธรรมอย่างละ ๓ ๆ เหล่านี้
ย่อมสำเร็จพร้อมกับขันธ์ ๔ อันสัมปยุตกัน. เว้นขันธ์ ๔ เหล่านั้น
เสีย ย่อมไม่สำเร็จ. ฉะนั้น โดยปริยายนั้น แม้ขันธ์ ๔ ทั้งหมด ก็
ชื่อว่า อิทธิ เพราะอรรถว่าให้สำเร็จ. ชื่อว่าอาทิผิด สระ ปาทะ เพราะอรรถว่าเป็น
ที่ตั้ง.
ส่วนในบทนี้ว่า วีริยสมาธิปธานสงฺขารสมนฺนาคตํ - ประกอบ
ด้วยสมาธิยิ่งด้วยวีริยะและสังขารเป็นประธาน มีความดังต่อไปนี้. วีริยะ
และสังขารเป็นประธาน เป็นอันเดียวกัน. หากถามว่า เพราะเหตุไร
ท่านจึงกล่าวไว้เป็นสองอย่าง. ตอบว่า ในที่นี้ท่านมุ่งเอาวีริยะก่อน ด้วย
การแสดงความที่วีริยะเป็นอธิบดี เพื่อแสดงความที่วิริยะนั้นแหละให้
สำเร็จกิจ ๔ อย่าง ท่านจึงกล่าวสังขารเป็นประธาน.
อนึ่ง ในบทนี้ เพราะท่านกล่าวไว้สองอย่างนั่นแหละ เป็นอัน
ท่านกล่าวธรรมอย่างละ ๓ ๆ. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่า
อิทธิ ยังไม่สำเร็จ. ชื่อว่า อิทธิบาท สำเร็จแล้ว เพราะท่านกล่าว
ไว้ในวิภังค์ว่า ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี ความปรารถนา ความ
ปรารถนาด้วยดีซึ่งธรรมนั้น ๆ ชื่อว่า อิทธิ. แต่ในที่นี้ ท่านตัดสินว่า
อิทธิก็ดี อิทธิบาทก็ดี สำเร็จแล้วกำจัดเครื่องกำหนดได้แล้ว ด้วยบท
๑. อภิ. วิผ. ๓๕/๕๒๑
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________