วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔/๗๒๒/๑๐

หรือยังไม่ออก หรือยังไม่แสดงเท่านั้น ต่อจากทำคืนตามกรณีนั้น ๆ แล้วหา
เป็นอันตรายไม่.
บรรดาอันตรายิกธรรมตามที่กล่าวแล้วนั้น ภิกษุนี้เป็นพหูสูต เป็น
ธรรมกถึก รู้จักอันตรายิกธรรมที่เหลือได้ แต่เพราะไม่ฉลาดในพระวินัย จึง
ไม่รู้อันตรายิกธรรม คือ การล่วงละเมิดพระบัญญัติ. เพราะฉะนั้น เธอไป
อยู่ในที่ลับได้คิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้ครองเรือนเหล่านี้ยังบริโภคกามคุณ ๕ เป็น
พระโสดาบันก็มี เป็นพระสกทาคามีก็มี เป็นพระอนาคามีก็มี แม้ภิกษุทั้งหลาย
ก็เห็นรูปที่ชอบใจ พึงรู้ได้ทางจักษุ ฯลฯ ย่อมถูกต้องโผฏฐัพพะอันน่าชอบใจ
พึงรู้ได้ทางกาย บริโภคเครื่องลาดและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น แม้อันอ่อนนุ่ม ข้อ
นั้นควรทุกอย่าง เพราะเหตุไร รูปสตรีทั้งหลาย ฯลฯ โผฏฐัพพะ คือ สตรี
ทั้งหลาย จึงไม่ควรอย่างนี้เล่า ? แม้สตรีเป็นต้นเหล่านี้ ก็ควร. เธอเทียบ
เคียงรสกับรสอย่างนี้แล้ว ทำการบริโภคกามคุณที่เป็นไปกับด้วยฉันทราคะ กับ
การบริโภคกามคุณที่ไม่มีฉันทราคะ ให้เป็นอันเดียวกัน ยังทิฏฐิอันลามกให้
เกิดขึ้น ดุจบุคคลต่อด้ายละเอียดยิ่งกับเส้นปออันหยาบ ดุจเอาเขาสิเนรุเทียบกับ
เมล็ดผักกาด ฉะนั้น จึงขัดแย้งกับสรรเพชุดาญาณว่า ไฉน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติปฐมปาราชิกด้วยความอุตสาหะมาก ดุจทรงกั้นมหาสมุทร โทษใน
กามเหล่านี้ ไม่มี ดังนี้ ตัดความหวังของพวกภัพบุคคล ได้ให้การประหาร
ในอาณาจักรแห่งพระชินเจ้า. เพราะเหตุนั้น อริฏฐภิกษุจึงกล่าว่า ตถาหํ
ภควตา ธมฺมํ เทสิตํ อาชานามิ เป็นอาทิ.
ในคำว่า อฏฺฐิกงฺกลูปมา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า กามทั้งหลายเปรียบ
เหมือนโครงกระดูก ด้วยอรรถว่า มีรสอร่อยน้อย (มีความยินดีน้อย).
เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อ ด้วยอรรถว่า เป็นกายทั่วไปแก่สัตว์มาก. เปรียบเหมือน
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________