วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๒๘/๔๖๐/๑

และทางที่คดโค้ง และการเข้าสู่สงครามอาทิผิด อักขระประชิดกันทั้งสองฝ่ายเป็นต้นบ้าง
สำหรับผู้บริโภคกาม จะเกิดทุกข์มีความเร่าร้อนมาก มีเจตนาที่บริโภคกาม
ให้เกิดปฏิสนธิในอบายทั้ง ๔ เป็นมูลบ้าง. กามทั้งหลายเป็นอันภิกษุเห็นว่า
มีความเร่าร้อน อุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยอำนาจทุกข์ทั้งสองอย่าง
ดังพรรณนามานิ้อาทิผิด .
บทว่า ทายํ แปลว่า ดง.
บทว่า ปุรโต กณฺฏโก ความว่า หนามอยู่ในที่ใกล้นั่นเอง
ประหนึ่งว่า อยากจะตำที่ด้านหน้า.
แม้ในบทว่า ปจฺฉโต เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ข้างล่าง
คือ ในที่ใกล้ซึ่งเท้าเหยียบ ได้แก่ตรงที่ที่เท้าเหยียบนั่นแล บุรุษนั้น พึงเป็น
เหมือนเข้าไปสู่ดงหนามด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า มา มํ กณฺฏโก ความว่า ระวังหนามจะตำ ด้วยคิดว่า
“หนามอย่าตำเราเลย”.
บทว่า ทนฺโธ ภิกฺขเว สตุปฺปาโท ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสติ
นั้นแล ช้า แต่เมื่อสตินั้นพอเกิดขึ้นแล้ว ชวนจิตก็จะแล่นไป กิเลสทั้งหลาย
ก็จะถูกข่มไว้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้. อธิบายว่า ในจักษุทวาร เมื่อกิเลส
๑. ปาฐะว่า นาวาย มหาสมุทโทคหณ อกุชฺชุปถสงฺกุปถปฏิปชฺชนํ อุภโต พฺยูฬฺ
หาสงฺคามปกฺขนฺทนาทิวเสน. ฉบับพม่าเป็น นาวาย มหาสมุทฺโทคาหณ อชปถ
สงฺกุปถปฏิปชฺชนอุภโตอาทิผิด อักขระพฺยุฬฺหสงครามปกฺขนฺทนาทิวเสน. แปลตามฉบับพม่า.
๒. ปาฐะว่า มา มํ กณฺฏโก วิชฺฌติ กณฺฏกเวธํ รกฺขมาโน ฉบับพม่าเป็น มา มํ
กณฺฏโกติ มา มํ กณฺฏโก วิชฺฌีติ กณฺฏกเวธํ รกฺขมาโน แปลตามฉบับพม่า.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________