วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๔/๔๓๗/๗

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงพระดำริอย่างนั้นแล้ว จึงทรงชำระ
พระวรกายแต่เช้าตรู่ เสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในกรุงโกสัมพี ไม่ตรัสบอก
ใคร ๆ เสด็จไปแต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ประทับอยู่ที่ควงไม้ภัททสาละ
ณ ปาลิไลยกะไพรสณฑ์ในโกศลรัฐ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข
ภควา ปุพฺพณฺหสมยํ ฯ เป ฯ ภทฺทสาลมูเล ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามํ แปลว่า ด้วยพระองค์เอง. บทว่า
สํสาเมตฺวา แปลว่า เก็บงำอาทิผิด อักขระ. พึงนำบทว่า สามํ มาประกอบเข้า แม้ในบท
ว่า ปตฺตจีวรมาทาย นี้. บทว่า อุปฏฺาเก ได้แก่ ไม่ได้บอกลา
พวกอุปัฏฐาก มีโฆสิตเศรษฐีเป็นต้น ชาวกรุงโกสัมพี และท่านพระ-
อานนท์ ผู้เป็นอัครอุปัฏฐากในวิหาร.
เมื่อพระศาสดาเสด็จไปแล้วอย่างนี้ ภิกษุ ๕๐๐ รูป กล่าวกะท่าน
พระอานนท์ว่า อานนท์ผู้มีอายุ พระศาสดาเสด็จไปแต่พระองค์เดียว พวก
เราจักติดตาม. ท่านพระอานนท์ห้ามว่า อาวุโส ในคราวที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองแล้วทรงถือบาตรและจีวร ไม่
ทรงบอกลาพวกอุปัฏฐากและไม่ทรงบอกเล่าภิกษุสงฆ์ เสด็จไปไม่มีเพื่อน
การเสด็จไปโดยพระองค์เดียว เป็นพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ธรรมดาว่า พระสาวกควรปฏิบัติให้เหมาะสมแก่พระอัธยาศัยของพระ-
ศาสดา เพราะฉะนั้น ไม่ควรตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปในวันเหล่านี้
ดังนี้แม้ตนเองก็ไม่ตามเสด็จ. บทว่า อนุปุพฺเพน แปลว่า โดยลำดับ.
พระศาสดาเสด็จจาริกไปตามลำดับคามและนิคม ทรงพระดำริ
ว่า เราจักเยี่ยมภิกษุผู้เที่ยวอยู่แต่ผู้เดียวก่อน ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยัง
พาลกโลณการามแล้วทรงแสดงอานิสงส์ในการเที่ยวอยู่แต่ผู้เดียว แก่ท่าน
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________