วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๗/๗๙๗/๒๐

ความยินดีและความไม่ยินดีทั้งหลาย พึงทราบความในบทนี้ว่า ขอพระองค์
จงตรัสบอกทั้งความเสื่อมและความเกิดนั้นว่า มีอะไรเป็นเหตุ คือ ความเสื่อม
และความเกิดอันเป็นวิภวทิฏฐิ ความเห็นว่าเสื่อมและภวทิฏฐิความเห็นว่าเกิด
อันเป็นวัตถุแห่งความเสื่อมและความเกิด. จริงอย่างนั้นในฝ่ายแก้ปัญหานี้ ท่าน
กล่าวไว้ในนิเทศว่า ภวทิฏฐิก็ดี วิภวทิฏฐิก็ดี ล้วนมีผัสสะเป็นเหตุ.
บทว่า อิโตนิทานํ คือมีผัสสะเป็นเหตุ. บทว่า กิสฺมึ วิภูเต น
ผุสนฺติ ผสฺสา เมื่อธรรมอะไรไม่มีผัสสะจึงไม่ถูกต้อง คือ เมื่อธรรมอะไร
ล่วงไปแล้ว ผัสสะ ๕ มีจักษุสัมผัสเป็นต้นจึงไม่มี. บทว่า นามญฺจ รูปญฺจ
ปฏิจฺจ อาศัยนามและรูป คือ อาศัยนามอันสัมปยุตตกันเข้า และอาศัยวัตถุกับ
รูปที่เป็นอารมณ์. บทว่า รูเป วิภูเต น ผุสนฺติ ผสฺสา คือ เมื่อรูปล่วงไป
ผัสสะ ๕ จึงไม่ถูกต้อง.
บทว่า กถํสเมตสฺส คือ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร. บทว่า วิโภติ
รูปํ คือ รูปจึงไม่มีหรือไม่พึงมี. บทว่า สุขํ ทุกฺขํ วา พระพุทธนิมิต
ตรัสถามถึงรูปทั้งที่น่าปรารถนาและทั้งที่ไม่น่าปรารถนานั่นเอง. บทว่า น
สญฺญสญฺญี บุคคลเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญา คือ เมื่อบุคคลปฏิบัติอย่างไร
รูปจึงไม่มี บุคคลนั้นเป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาเป็นปกติ.
บทว่า น วิสญฺญสญฺญี เป็นผู้ไม่มีสัญญาด้วยสัญญาอันผิดปกติ
คือ เป็นบ้าหรือจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า โนปิ อสญฺญี เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็มิใช่
คือ เป็นผู้เว้นจากสัญญาเข้านิโรธสมาบัติ หรือเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา ก็ไม่ใช่.
บทว่า น วิภูตสญฺญีอาทิผิด อักขระ เป็นผู้มีสัญญาว่าไม่มีก็ไม่ใช่ คือเป็นผู้ก้าวล่วงมีสัญญา
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________