วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๓๕/๕๓๗/๒๐

ปกติที่เคยมีมาในก่อนด้วยพยาบาทนี้ดุจขนมบูดเป็นต้น . ชื่อโทสะ เพราะย่อม
ประทุษร้ายเอง หรือให้ผู้อื่นประทุษร้าย คือให้พินาศโดยให้ถึงความพิการ.
ทั้งสองนี้เป็นชื่อของความโกรธนั้นแล.
ความป่วยทางจิต ชื่อว่า ถีนะ ความป่วยทางเจตสิกชื่อว่า มิทธะ
ถีนะความง่วงเหงาและมิทธะความหาวนอน ชื่อว่า ถีนมิทธะ. บทว่า
อาโลกสญฺญี ความว่า ภิกษุประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์
สามารถจำหมายแสงสว่างที่เห็นทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน . บทว่า สโต สมฺป-
ชาโน ได้แก่ ประกอบด้วยสติและญาณ. ท่านกล่าวไว้ทั้งสองนี้ก็เพราะเป็น
ธรรมอุปการะแก่อาโลกสัญญา. ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญ ชื่อว่า
อุทธัจจกุกกุจจะ.
บทว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ ได้แก่ ข้าม คือล่วงวิจิกิจฉาได้. ชื่อว่า
อกถํกถี (ไม่มีความสงสัย) เพราะไม่มีความสำคัญ หมายว่านี้อย่างไร. บทว่า
กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมอันไม่มีโทษ. อธิบายว่า ไม่สงสัย คือ
ไม่แคลงใจอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลอย่างไร.
นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ก็ในนิวรณ์เหล่านี้ คำที่ควรกล่าวโดยต่างแห่ง
ถ้อยคำ ความ และลักษณะเป็นต้น ก็กล่าวไว้หมดแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า ปญฺญาย ทุพฺพลีกรเณ ความว่า เพราะเหตุที่นิวรณ์ ๕
เหล่านี้เมื่อเกิด ย่อมไม่ให้เกิดปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น
แม้เกิดขึ้นแล้วก็กำจัดสมาบัติ ๘ หรืออภิญญา อาทิผิด ให้ตกไป ฉะนั้น จึงตรัสว่า
ปญฺาย ทุพฺพลีกรณา (ทำปัญญาให้หมดอาทิผิด อักขระกำลัง) ดังนี้. บททั้งหลายมี
อาทิว่า วิวิจฺเจว กเมหิ กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทเป็นต้นว่า อิเม อาสวา ตรัสเพื่อประกาศสัจจะสี่โดยปริยาย
อื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่ลัทธิภายนอกไม่มีผล ด้วยองค์ ๓
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________