วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๔๗/๕๐๘/๓

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย อิธ คือ ผู้ใดในศาสนานี้. บทว่า จรเณสุ
เพราะธรรม ๑๕ อย่าง ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในเหมวตสูตรมีศีลเป็นต้น. บทว่า
จรเณสุ เป็นสัตตมีอาทิผิด สระวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. บทว่า ปตฺติปตฺโต คือ
บรรลุธรรมที่ควรบรรลุ. ท่านอธิบายว่า ผู้ใดบรรลุพระอรหัตที่ควรบรรลุ
เพราะมีจรณะเป็นนิมิต มีจรณะเป็นเหตุ มีจรณะเป็นปัจจัย. บทว่า จรณวา โส
ผู้นั้นท่านกล่าวว่า มีจรณะ เพราะบรรลุธรรมที่ควรบรรลุนี้ด้วยจรณะทั้งหลาย.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันพยากรณ์ปัญหา. บทที่เหลือเป็นคำสรรเสริญของ
พราหมณ์นั้น อธิบายว่า ผู้ใดในศาสนาเป็นผู้บรรลุธรรมที่ควรบรรลุเพราะมี
จรณะผู้นั้นเป็นผู้ฉลาด ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมคือนิพพานในกาลทุกเมื่อ เพราะมีจิต
น้อมไปในนิพพาน ไม่ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง มีจิตพ้นแล้วด้วย
วิมุตติทั้งสอง และไม่มีปฏิฆะ ดังนี้.
ก็เพราะผู้ชื่อว่า เป็นปริพาชก เพราะขับไล่กรรมเป็นต้นออกไปได้.
ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงความนั้น จึงทรงพยากรณ์ปัญหาที่สี่แห่งคาถาว่า
ทุกฺขเวปกฺกํ กรรมมีทุกข์เป็นผล ดังนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทนั้นดังนี้ วิบากนั่นแหละชื่อว่า เวปกฺกํ. ที่
ชื่อว่า ทุกฺขเวปกฺกํ เพราะมีทุกข์เป็นผล. ทุกข์แม้ทั้งหมดพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า กรรมอันประกอบด้วยธาตุ ๓ เพราะเหตุเกิดแห่งทุกข์ในปวัตติ. บทว่า
อุทฺธํ คือ อดีต. บทว่า อโธ คือ อนาคต. บทว่า ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
คือ ปัจจุบัน. ก็บทว่า ติริยํ วาปิ มชฺเฌ ได้แก่ ไม่ใช่เบื้องบน ไม่ใช่
เบื้องต่ำ ท่านกล่าวว่าขวาง ในระหว่างเบื้องบนเบื้องต่ำทั้งสองนั้น ท่านกล่าวว่า
ในท่ามกลาง. บทว่า ปริพฺพาชยิตฺวา ขับไล่ คือให้ออกไป กำจัดเสีย. บทว่า
ปริญฺาจารี ได้แก่ กำหนดด้วยปัญญาเที่ยวไป. นี้เป็นเพียงพรรณนาบทที่
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________