วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๒๗๔/๑๐

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นมหาพรหมนามว่า นารทะ ก็ธรรมดา
พระโพธิสัตว์ มีอัธยาศัยใหญ่ด้วยเมตตาภาวนา เที่ยวตรวจดูโลกตามกาลอัน
สมควร เพื่อจะดูเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติดีและปฏิบัติชั่ว ในวันนั้น ท่านตรวจดูโลก
เห็นพระนางรุจาราชธิดานั้น กำลังนมัสการเหล่าเทวดาผู้บริหารโลก เพื่อจะปลด
เปลื้องพระชนกนาถจากมิจฉาทิฏฐิ จึงมาดำริว่า คนอื่นเว้นเราเสีย ย่อมไม่
สามารถเพื่อจะปลดเปลื้องมิจฉาทิฏฐิ พระเจ้าอังคติราชนั้นได้ วันนี้เราควรจะ
ไปกระทำการสงเคราะห์ราชธิดาและกระทำความสวัสดี แก่พระราชาพร้อมด้วย
บริวารชนแต่จะไปด้วยเพศอะไรดีหนอ เห็นว่า เพศบรรพชิตเป็นที่รักเป็นที่
เคารพ มีวาจาเป็นที่เชื่อฟัง ยึดถือของพวกมนุษย์ เพราะฉะนั้น เราจะไปด้วย
เพศบรรพชิตอาทิผิด อักขระ ครั้นตกลงใจฉะนี้แล้ว ก็แปลงเพศเป็นมนุษย์ มีวรรณะดังทองคำ
น่าเลื่อมใสผูกชฎาอาทิผิด อักขระมณฑลอันงามจับใจ ปักปิ่นทองไว้ในระหว่างชฎา นุ่งผ้าพื้น
แดงไว้ภายใน ทรงผ้าเปลือกไม้ ย้อมฝาดไว้ภายนอก กระทำเฉวียงบ่าผ้าหนังเสือ
อันแล้วไปด้วยเงิน ซึ่งขลิบด้วยดาวทอง แล้วเอาภิกขาภาชนะทองใส่สาแหรก
อันประดับด้วยมุกดาช้าง ๑ เอาคนโทน้ำแก้วประพาฬใส่ในสาแหรกอีกข้าง ๑
เสร็จแล้วก็ยกคานทองอันงามงอนขึ้นวางเหนือบ่า แล้วเหาะมาโดยอากาศ ด้วย
เพศแห่งฤๅษีนี้ ไพโรจน์โชติช่วง ประหนึ่งพระจันทร์ (เพ็ญ) ลอยเด่นบน
พื้นอากาศ เข้าสู่พื้นใหญ่แห่งจันทกปราสาท ได้ยื่นอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์พระ
เจ้าอังคติราช.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงตรัสว่า
ในกาลนั้น นารทมหาพรหมตรวจดูชมพูทวีป
ได้เห็นพระเจ้าอังคติราชผู้ทรงมีความเห็นผิด จึงมา
จากพรหมโลกถึงถิ่นมนุษย์ ลำดับนั้น นารทมหา-
พรหมได้ยืนอาทิผิด สระอยู่ที่ปราสาทเบื้องพระพักตร์แห่งพระเจ้า
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________