วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๑/๑๙๒/๗

เป็นสมุทัยสัจ ความไม่เป็นไปแห่งจักษุและเหตุเกิดแห่งจักษุทั้งสอง เป็นนิโรธ
สัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้นิโรธ เป็นมรรคสัจ. ใน โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย และมนะ ก็มีนัยเช่นนี้.
บัณฑิตพึงประกอบอายตนะ ๖ มีรูปเป็นต้น วิญญาณกาย ๕ มีจักษุ
วิญญาณเป็นต้น ผัสสะ ๖ มีจักษุสัมผัสเป็นต้น เวทนา ๖ มีจักษุสัมผัสสชา-
เวทนาเป็นต้น สัญญา ๖ มีรูปสัญญาเป็นต้น เจตนา ๖ มีรูปสัญเจตนาเป็นต้น
ตัณหากาย ๖ มีรูปตัณหาเป็นต้น วิตก อาทิผิด  มีรูปวิตกเป็นต้น วิจาร ๖ มีรูปวิจาร
เป็นต้น ขันธ์ ๕ มีรูปขันธ์เป็นต้น กสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อนุสติ ๑๐ สัญญา
๑๐ ด้วยอำนาจอุทธุมาตกสัญญาเป็นต้น อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อายตนะ
๑๒ ธาตุ ๑๘ ภพ ๙ มีกามภพเป็นต้น ฌาน ๔ มีปฐมฌานเป็นต้น อัปป-
มัญญา ๔ มีเมตตาภาวนาเป็นต้น อรูปสมาบัติ ๔ มีอากาสานัญจายตนะเป็นต้น
และองค์แห่งปฏิจจสมุปบาท โดยปฏิโลมมีชรามรณะเป็นต้น โดยอนุโลมมี
อวิชชาเป็นต้น โดยนัยนี้นั่นแล. ในชรามรณะเป็นต้นนั้น มีการประกอบ
บทเดียวดังต่อไปนี้ : -
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสรู้ คือตรัสรู้ตามสมควร ได้แก่แทงตลอด
ซึ่งธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ด้วยการยกขึ้นทีละบทอย่างนี้ว่า
ชรามรณะ เป็นทุกขสัจ ชาติ เป็นสมุทัยสัจ การสลัดออกเสีย ซึ่งชรามรณะ
และเหตุเกิดแห่งชรามรณะนั้น แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ ข้อปฏิบัติเป็นเหตุให้รู้
นิโรธ เป็นมรรคสัจ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า อนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบ
และด้วยพระองค์เอง.
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________