วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565

ดูการเทียบเคียง ๖๔/๔๑๖/๑๖

พระราชาหามิได้ เพราะฉะนั้น จงให้นั่งบนอาสนะของตน. บทว่า ตมญฺชลึ
ความว่า ถ้าพวกเจ้าพึงกระทำอัญชลีถวายบังคมทูลอย่างนี้ไซร้ ขอเดชะ ขอ
พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น เพราะข้อนั้นหาได้ถูกธรรมเนียมไม่. บทว่า
วิยคฺฆราชสฺส ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า นิหีนชจฺโจ ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มีชาติต่ำต้อยเหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ จะพึงมี
อาสนะเสมอด้วยพระองค์ได้อย่างไร สุนัขจิ้งจอกย่อมเป็นผู้มีอาสนะเสมอด้วย
ราชสีห์แม้ฉันใด พวกข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควรมีอาสนะเสมอด้วย
พระองค์
ส่วนพวกบุตรธิดาญาติผู้มีใจดีและทาสกรรมกรทั้งหมดนั้น ได้สดับ
ถ้อยคำของพระมหาสัตว์ดังนี้ ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามปกติ ต่างพากันร้องไห้
พิไรร่ำไปตามกัน. พระมหาสัตว์ได้ตักเตือนชนเหล่านั้น ให้คลายโศกาดูรมีสติ
รู้สึกตัวได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบลักขกัณฑ์
ลำดับนั้น วิธุรบัณฑิตเห็นบุตรธิดาและพวกญาติเข้าไปหาตนนั่ง
นิ่งเงียบอยู่ จึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าวิตกไปเลย
อย่าเศร้าโศก อย่าพิไรร่ำรำพันอาทิผิด อาณัติกะไปเลย สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา สมมติธรรมอันได้นามว่ายศ ย่อมมีวิบัติเป็นที่สุด
อนึ่ง เราจักแสดงจริยาวัตรของพระราชเสวกนามว่า ราชวสดีธรรม อันเป็น
เหตุให้เกิดยศแก่พวกเจ้า พวกเจ้าจงตั้งใจสดับราชวสดีธรรมนั้น ครั้นกล่าวดัง
นี้แล้วจึงเริ่มแสดงราชวสดีธรรมด้วยพุทธลีลา.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ก็วิธุรบัณฑิตนั้น มีความดำริแห่งใจอันหดหู่
กล่าวกะบุตร ธิดา ญาติมิตรและเพื่อนสนิทว่า ดูก่อน
พระปิฎกธรรม
 อรรถประโยชน์ ที่พิมพ์ดูที่อ้าง การเทียบเคียง
คลิกเมาส์ตราสัญลักษณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

_____ ____________________